วันอังคารที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2551

วิชา การจัดการเชิงกลยุทธ์



๔๐๖ ๓๐๖ การจัดการเชิงกลยุทธ์ ๓ (๓-๐-๖)
Strategic Management
ศึกษาความหมาย แนวคิดและทฤษฎีการจัดการเชิงกลยุทธ์ ระบบข้อมูลเพื่อการจัดการการวิเคราะห์กลยุทธ์กับสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ การประเมินและควบคุมกลยุทธ์ การจัดการทางกลยุทธ์กับมิติทางด้านสังคม กลยุทธ์การจัดการในสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง และการจัดการเชิงกลยุทธ์ตามแนวพระพุทธศาสนา


-----
อาจารย์ประจำรายวิชา : ผศ.ประมวล  ตันยะ
-----



-----
บทความ : รายวิชา การจัดการเชิงกลยุทธ์
-----

กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์






บันทึกประจำวัน
---------------
เรียนชดเชย
เสาร์
๒๑/มิ.ย./๒๕๔๙
---------------

การบริหาร
: การทำงานให้องค์การเสร็จโดยอาศัยคนอื่นเป็นผู้ทำ ใช้ปัจจัยให้ได้ประโยชน์สูงสุด
: ๔ M (ปัจจัยการบริหาร)
๑.Men คน ๒.Money เงิน ๓.Materials วัสดุ เครื่องใช้ ๔.Management การจัดการ

งานปฏิบัติ ..งานที่ต้องลงมือทำเองจนเสร็จ ซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับเทคนิค


หน้าที่การบริหาร
๑.การวางแผน
๒.การจัดองค์การ
๓.การจัดคนเข้าทำงาน
๔.การสั่งการ
๕.การควบคุม
การทำหน้าที่ทั้ง ๕ ต่อเนื่องกันก็คือ กระบวนการบริหาร


การบริหาร
งาน..ภารกิจขององค์การ
กระบวนการทำงานในองค์การ


การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์
๑.ตัดสินใจในธุรกิจ / งานที่องค์การต้องการ
-ทิศทาง
-ภารกิจ
๒.เปลี่ยนวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ / ภารกิจเป็นวัตถุประสงค์ /เป้าหมาย
๓.การกำหนดกลยุทธ์ให้บรรลุผลลัพธ์
๔.การปฏิบัติการและการบริหารเชิงกลยุทธ์
๕.การประเมินผล


ประโยชน์
-กำหนดทิศทางขององค์การ
-สร้างความสอดคล้องในการปฏิบัติ
-สร้างความพร้อมให้แก่องค์การ
-สร้างประสิทธิภาพในการแข่งขัน




---------------
เรียนชดเชย
เสาร์
๒๕/มิ.ย./๒๕๔๙

---------------

ใบงานที่ ๑
----------

๑.การบริหาร หมายถึง
การใช้ศาสตร์และศิลปะในการนำเอาทรัพยากรบริหาร (Administrative Resources) ตามกระบวนการบริหาร (Process of Administration) ด้วยความร่วมมือของกลุ่มบุคคลให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
-ความหมายที่ได้รับการนิยม มาจาก Mary Parker Follett ซึ่งบอกว่า การบริหาร หมายถึง ศิลปะของการทำงานให้สำเร็จโดยใช้บุคคลอื่น
-ศาสตราจารย์ Peter F Ducker บอกว่า การบริหารคือศิลปะในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายร่วมกับผู้อื่น
-ศาสตราจารย์ Harold Koontz การบริหาร คือ การดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยการอาศัยปัจจัยทั้งหลาย ได้แก่ คน เงิน วัสดุสิ่งของ ที่เป็นอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานนั้น
-ศาสตราจารย์ชุป กาญจนปรากร : การบริหาร หมายถึง การทำงานของคณะบุคคล (Group) ตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ที่ร่วมกันปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน
-ศาสตราจารย์สมพงศ์ เกษมสิน การบริหาร หมายถึง การใช้ศาสตร์และศิลปะนำเอาทรัพยากรบริหาร (Administrative Resources) มาประกอบการตามกระบวนการบริหาร (Process of Administration) ให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
-สมคิด บางโม : การบริหาร คือ ศิลปะการใช้คน เงิน วัสดุอุปกรณ์ ขององค์การและนอกองค์การ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การอย่างมีประสิทธิภาพ


๒.การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ คือ
- การตัดสินใจในธุรกิจ หรืองานที่องค์การต้องการ
- การเปลี่ยนวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์/ภารกิจ  เป็นวัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย
- การกำหนดกลยุทธ์ให้บรรลุผลลัพธ์
- การปฏิบัติการและการบริหารเชิงกลยุทธ์
- การประเมินผล


๓.การวางแผน หมายถึง
-กระบวนการตัดสินใจกำหนดทางเลือกของหน่วยงาน เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่กำหนดไว้ ประกอบด้วย ๕ ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมการวางแผน ขั้นการวางแผน ขั้นการนำแผนไปปฏิบัติ ขั้นการติดตามและประเมินผล และขั้นการปรับแผนหรือจัดทำแผนใหม่
๑. ขั้นเตรียมการวางแผน หมายถึง การกำหนดคณะบุคคลหรือบุคคลให้มีหน้าที่ความรับผิดชอบใน การวางแผน การกำหนดวิธีการวางแผน และการรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นในการวางแผน
๒. ขั้นการวางแผน หมายถึง ขั้นตอนในการวิเคราะห์สภาพ ปัญหา การกำหนดวัตถุประสงค์ นโยบาย เป้าหมาย วิธีการดำเนินงาน และทรัพยากร เพื่อนำมาใช้ในการกำหนดแผนงาน/โครงการ
๓. ขั้นการนำแผนไปปฏิบัติ หมายถึง การปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับการบริหารโครงการประกอบด้วย การ มอบหมายงาน การจัดสรรงบประมาณ การประสานงาน การนิเทศงาน และการควบคุมการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผน
๔. ขั้นการติดตามและประเมินผล หมายถึง การติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนงาน/ โครงการ โดยกำหนดในแต่ละช่วงระยะเวลาซึ่งประกอบด้วย ก่อนการดำเนินการ ระหว่างที่ได้ดำเนินการ และหลังจากการสิ้นสุดดำเนินการตามแผนงาน/โครงการ
๕. ขั้นการปรับแผนหรือจัดทำแผนใหม่ หมายถึง การทบทวนแผนและนำผลที่ได้จากการประเมินไป เป็นข้อมูลในการจัดทำแผนหรือปรับปรุงแผนใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้นในครั้งต่อไป


๔.นโยบาย หมายถึง
-อุบายหรือ กลเม็ดที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ได้พิจารณาเห็นว่าเป็นแนวทางที่จะนำไปสู่เป้าหมายของส่วนรวมในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเหมาะสม (อมร รักษาสัตย์)
-นโยบาย หมายถึง ข้อความหรือความเข้าใจร่วมกันอย่างกว้าง ๆ ที่ใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจเพื่อการปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ ของผู้บริหารแต่ละหน่วยงาน คนที่ออกนโยบายต้องเป็นที่มีอำนาจหน้าที่ในหน่วยงาน องค์กร นั้น ๆ
-กล่าวโดยสรุป คือ ๑. แนวคิดหรือข้อความที่เข้าใจร่วมกัน ๒. แนวทางในการปฏิบัติของผู้บริหารหรือหน่วยงาน
-บอกทิศทางในการทำงาน
-บอกเป้าหมาย
-เป็นยุทธศาสตร์ในการบริหาร
-ช่วยให้ผู้ร่วมงานรู้จักวัตถุประสงค์
-เป็นกรอบที่ดี/แนวทาง/ประโยชน์ต่อส่วนรวม
-เป็นแนวทางในการตัดสินใจ


๕.วิสัยทัศน์ หมายถึง
-เจตนารมณ์ที่จะกำหนดทิศทางของสถาบัน
-วิสัยทัศน์ หมายถึง การมองภาพอนาคตของผู้นำและสมาชิกในองค์กร และกำหนดจุดหมายปลายทางที่เชื่อมโยงกับภารกิจ ค่านิยม และความเชื่อเข้าด้วยกัน แล้วมุ่งสู่จุดหมายปลายทางที่ต้องการจุดหมายปลายทางที่ต้องการ จุดหมายปลายทางดังกล่าวต้องชัดเจน ท้าทาย มีพลังและมีความเป็นไปได้


๖.พันธกิจ หมายถึง
-การตั้งความปรารถนา หรือความมุ่งหมายของสถาบัน บ่งชี้เหตุผลการดำรงอยู่ของสถาบัน ซึ่งเป็นเหตุผลที่สังคมให้การสนับสนุนและยอมรับ พันธกิจของสถาบันมีลักษณะเป็นทั้งสาระและความผูกพัน ความรับผิดชอบที่ต้อง ปฏิบัติ


๗.กลยุทธ์ หมายถึง
-วิธีการดำเนินงาน ที่คาดว่าจะนำไปสู่ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กร
-กลยุทธ์ หมายถึง แผนของผู้บริหารระดับสูง ที่จะนำไปสู่ผลลัพธ์ต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับ ภารกิจและเป้าประสงค์ขององค์
-กลยุทธ์ คือ ชุดของทางเลือกระยะยาว เกี่ยวกับเป้าประสงค์เชิงปฏิบัติการ และนโยบาย รวมทั้งแผนปฏิบัติการของแผนงานของรัฐบาล ซึ่งองค์กรภาครัฐบาลกำหนด โดยคำนึงถึงวัตถุ ประสงค์ของแผนงานที่รัฐบาลกำหนดไว้ และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานของแผนงาน
-กลยุทธ์ คือ ชุดของเป้าหมายและแผนปฏิบัติการ สำหรับแต่ละระดับขององค์กรโดยเฉพาะ
-กลยุทธ์ คือ ชุดของการปฏิบัติ ที่ทำให้องค์กรบรรลุผล
-กลยุทธ์ คือ แนวทางในการเปรียบเทียบจุดแข็งขององค์กรกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงเพื่อคิดหาวิธีการที่ดีที่สุด ในการตอบสนองความต้องการผู้รับบริการ
กล่าวโดยสรุป
-  กลยุทธ์  หมายถึง  วิธีการดำเนินงานหรือแผนงานของผู้บริหารระดับสูง  ที่จะนำนโยบายรวมทั้งแผนปฏิบัติการไปสุ่ผลลัพธ์ต่างๆ ให้สอดคล้องกับภารกิจและเป้าประสงค์ขององค์กร  โดยวิธีการที่ดีที่สุด


๘.โครงการ หมายถึง
-การดำเนินงานที่มีลักษณะพิเศษต่างไปจากการดำเนินงานปกติ โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ มีแผนการดำเนินงานเป็นขั้นตอน มีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดที่แน่นอน มีการกำหนดการใช้ทรัพยากรตามขั้นตอนอย่างเหมาะสมและมีการคาดหมายผลงานที่จะได้รับจากการดำเนินงานนั้น


๙. สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร หมายถึง
...................................................................................................................
....................................................................................................................


๑๐. สภาพแวดล้อมภายในองค์กร หมายถึง
...................................................................................................................
....................................................................................................................




**********

0 ความคิดเห็น:

  © ขอขอบคุณ Blogger template 'Ultimatum' by s-hatcore ๒๕๕๐ : s-hatcore

กลับขึ้นข้างบน : Back to TOP