วันจันทร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2551

กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์

*  กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์จะมีขั้นตอนพื้นฐานคล้ายกับกระบวนการบริหารทั่วไปก็ เพียงแต่มีความซับซ้อนกว่ามาก เนื่องจากเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับทุกฝ่ายในองค์กร

การวิเคราะห์ (Analysis)
*  ส่วนแรกของการจัดการเชิงกลยุทธ์จะเป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน/ภายนอก (Internal/External Environments Analysis) เป็นการวิเคราะห์ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยสภาพแวดล้อมภายในต้องพิจารณาจุดอ่อน/จุดแข็งของทรัพยากรทั้งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ที่มีอยู่ขององค์กร เช่น เงินทุน สินทรัพย์ต่างๆ ทรัพยากรบุคคล โครงสร้าง ระบบงาน วัฒนธรรม เทคโนโลยีของบริษัท Know-how และภาวะผู้นำของบริษัท ในมุมมองของจุดอ่อน/จแข็ง นอกจากนี้ยังต้องวิเคราะห์ความสามารถหลักขององค์กร (Core Competency Analysis) โดยการกำหนดลักษณะของความสามารถหลักต้องมี 4 ด้าน คือ คุณค่าต่อลูกค้า (Customer Value), หายาก (Rare), ไม่สามารถทดแทนได้ (Nonsubstitutable), การมีต้นทุนสูงที่จะลอกเลียนแบบ (Costly to Imitate) ส่วนสภาพแวดล้อมภายนอกต้องพิจารณาสภาพของอุตสาหกรรม คู่แข่ง และปัจจัยอื่นๆ ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขัน เช่น กฎหมาย หรือสังคม


การสร้างกลยุทธ์ (Strategy Formulation)
*  การออกแบบกลยุทธ์ในครั้งแรกต้องมีการกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ และวัตถุประสงค์เสียก่อน เพื่อเป็นแนวทาง การสร้างแผนกลยุทธ์ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ที่มีความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมภายใน/ภายนอก โดยแผนกลยุทธ์จะถูกใช้เสมือนเป็นแผนที่ในการเดินทางขององค์กร กุญแจสำคัญของกลยุทธ์ก็คือ การมองเห็นปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Key Success Factors) และกำหนดกลยุทธ์ไปที่ปัจจัยแห่งความสำเร็จขององค์กร


การดำเนินกลยุทธ์ (Strategy Implementation)
*  หลังจากที่เลือกกลยุทธ์ในการแข่งขันแล้ว การนำกลยุทธ์ไปดำเนินการเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก เนื่องจากต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลปะ และเป็นส่วนหนึ่งการบริหารงาน เช่น
• จัดโครงสร้างองค์กร และระบบการดำเนินงานภายในเพื่อสนับสนุนกลยุทธ์
• การสร้างความสามารถให้กับบุคลากร
• การจัดสรรทรัพยากร
• การจูงใจบุคลากร
• จัดระบบผลตอบแทนที่สอดคล้อง
• สร้างวัฒนธรรมองค์กรและบรรยากาศที่เอื้อต่อการดำเนินกลยุทธ์


การควบคุมกลยุทธ์ (Strategy Control)
*  การควบคุมกลยุทธ์ คือ การติดตามการดำเนินกลยุทธ์ที่กำลังดำเนินการอยู่ ตรวจสอบปัญหาในการดำเนินกลยุทธ์ และปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้มีความสอดคล้องกับความเป็นจริง และตรงตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ เช่น
• การตรวจสอบระยะเวลา ค่าใช้จ่าย และ feedback จากผู้เกี่ยวข้อง
• การปรับงบประมาณ
• การปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร


การประเมินกลยุทธ์ (Strategy Evaluation)
          เป็นการเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่ได้รับกับเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งการประเมินอาจจะประเมินเป็นประเด็นที่เรียกว่า Formative Evaluation หรือประเมินเฉพาะผลลัพธ์สุดท้ายที่เรียกว่า Summative Evaluation


องค์ประกอบของแผนกลยุทธ์ (Strategy Elements)
          พันธะกิจ (Mission): Who we are and what we do
          ความหมายทั่วไปของพันธะกิจ คือ จุดประสงค์พื้นฐานและขอบข่ายการดำเนินงานขององค์กร
ลักษณะของพันธะกิจ (Characteristics of a Mission Statement)
     • แสดงปรัชญาทางธุรกิจของผู้ตัดสินใจทางกลยุทธ์ขององค์กร (Embodies the business philosophy of the firm’s strategic decision makers)
     • แสดงภาพลักษณ์ที่องค์กร (Implies image firm seeks to project)
     • สะท้อนแนวคิดขององค์กร (Reflects firm’s self-concept)
     • แสดงถึงสินค้า/บริการ และความต้องการของลูกค้าที่องค์กรพยายามตอบสนอง (Indicates firm’s principal product or service areas and primary customer needs the firm will attempt to satisfy)

สิ่งที่พันธะกิจต้องตอบ (Questions Addressed By a Mission Statement)
     • องค์กรทำธุรกิจทำไม (Why is this firm in business?)
     • อะไรคือเป้าหมายเชิงเศรษฐศาสตร์ (What are our economic goals?)
     • อะไรคือปรัชญาทางปฎิบัติด้านคุณภาพ ภาพลักษณ์องค์กร และแนวคิดขององค์กร (What is our operating philosophy in terms of quality, company image, and self-concept?)
     • อะไรคือความสามารถหลักและความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน (What are our core competencies and competitive advantages?)
     • อะไรคือสิ่งที่ลูกค้าต้องการและเราสามารถตอบสนองได้ (What customers do and can we serve?)
     • เรามีมุมมองเรื่องความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น พนักงาน ชุมชน สภาพแวดล้อม และคู่แข่งอย่างไร (How do we view our responsibilities to stockholders, employees, communities, environment, social issues, and competitors?)

องค์ประกอบของพันธะกิจ (Components of a Mission Statement)
     • กำหนดสินค้าและบริการที่เสนอต่อตลาด (Specifies basic type of product or service to be offered)
     • ระบุตลาดและกลุ่มลูกค้าหลักที่จะนำเสนอสินค้า/บริการ (Identifies primary market or customer groups to be served)
     • กำหนดเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตหรือขนส่ง (Specifies the technology to be used in production or delivery)
     • สะท้อนพื้นฐานขององค์กรเกี่ยวกับความอยู่รอดผ่านการเจริญเติบโตและความสามารถในการทำกำไร (Reflects the firm’s fundamental concern for survival through growth and profitability)
     • สะท้อนแนวคิดการบริหารขององค์กร (Reflects the firm’s managerial philosophy)
     • แสดงถึงภาพลักษณ์องค์กรต่อสาธารณะชน (Identifies the public image the firm seeks)
     • แสดงแนวคิดขององค์กรและแนวทางที่องค์กรจำเป็นต้องทำ Specifies the self-concept those affiliated with the firm should have of it)


วิสัยทัศน์ (Vision): Where we are going
          เป็นข้อความที่แสดงถึงความตั้งใจ เป็นเรื่องของทิศทางในอนาคตที่บริษัทต้องการมุ่งไปสู่ วิสัยทัศน์จึงต้องการความชัดเจน และต้องสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับสมาชิกในองค์กร โดยมีพันธะกิจขององค์กรเป็นจุดเริ่มต้น


วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Objectives)
          การมีวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่ดีจะช่วยให้การกำหนดกลยุทธ์มีความถูกต้องและง่ายขึ้น ลักษณะของวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่ดี จึงต้องชัดเจน ท้าทายแต่สามารนำไปดำเนินการได้ในทางปฎิบัติ สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธะกิจขององค์กร และควรจะสามารถวัดได้

กลยุทธ์ (Strategies)
          กลยุทธ์ คือ แผนยุทธศาสตร์ที่องค์กรใช้เป็นแนวทางในการแข่งขัน


**********

0 ความคิดเห็น:

  © ขอขอบคุณ Blogger template 'Ultimatum' by s-hatcore ๒๕๕๐ : s-hatcore

กลับขึ้นข้างบน : Back to TOP