วันพุธที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

พระสหัส เกยด่านกลาง (ปิติสาโร)

ประวัติ พระสหัส  ปิติสาโร
 พระสหัส ฉายา ปิติสาโร
ชื่อเล่น : ตึ๋ง, หัส
เพื่อนนิสิตเรียก : หัสฮาร์ดคอร์


     ชื่อ : สหัส
     นามสกุล : เกยด่านกลาง
     ฉายา : ปิติสาโร
     พรรษา : ๑๕
     โทร. ๐๘-๗๙๖๑-๑๓๖๑
            E-Mail : s-hathcore@hotmail.com [ส่วนตัว]
                        s-nonsung@hotmail.com [งานคณะสงฆ์]
            Facbook : สหัส เกยด่านกลาง
                           S-HaTCoRE


สถานะเดิม
     ที่อยู่ที่อาศัย : บ้านเลขที่ ๖ บ้านบุ หมู่ ๒ ตำบลด่านคล้า อำเภอโนนสูง
                จังหวัดนครราชสีมา รหัสไปรษณีย์ ๓๐๑๖๐

บ้านหลังใหม่  ..หลังเดิมนั้นรื้อแล้ว

วันคลอด :
          วันพฤหัสบดี ที่ ๓ เดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๑๙ (ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะโรง) ณ โรงพยาบาลโนนสูง อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
         พ่อชื่อ : นายละมัย  เกยด่านกลาง (ไสว)
         แม่ชื่อ : นางทองอินทร์  เกยด่านกลาง (อินทร์)

พ่อละมัย (ยื่น) แม่ทองอินทร์ (นั่งเก้าอี้) ผมนั่งบนตักแม่

          สมัยที่ผมเกิด แถวบ้านยังเป็นป่ารก ทางเดินยังเป็นทางแคบๆ ใช้สำหรับทางเดินเกวียน ข้างทางคลุมไปด้วยป่าไผ่ ต้นข่อย ป่าคัดเค่า (จักภาษากลางเรียกอะไรก็บ่รู่) พ่อใหญ่เมฆกับแม่ใหญ่แดงมาซื้อที่ไว้ ๒ ไร่ ในราคา ๒๐ บาท (ก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ ครับ) แถวนี้มีบ้านอยู่เพียง ๓ หลัง คือ บ้านพ่อใหญ่ยัง-แม่ใหญ่จันทร์ บ้านพ่อใหญ่โต้ด-แม่ใหญ่ตุ้ม และบ้านพ่อใหญ่เมฆ-แม่ใหญ่แดง อาชีพทำนาเป็นหลัก ทำสวนเป็นอาชีพรอง หาปลาเป็นอาชีพเสริม นอกจากจากนี้ก็ยังสานกระเฌอ กะโล่ ตระแกรง ฯลฯ คงเป็นเพราะมีต้นไผ่ในสวนเยอะ
          


ถ่ายนู้ด..ตั้งแต่ยังเล็กเลยเว้ย...! 555






แม่ใหญ่แดง  ทะนากลาง
พ่อใหญ่เมฆ ทะนากลาง

          พ่อใหญ่เมฆ ปู่ของผมเป็นทหารผ่านศึกสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ รุ่นเดียวกับพ่อใหญ่หลอด พ่อใหญ่น้อย ไปรบที่เชียงตุง เชียงราย
          พ่อใหญ่เป็นคนที่ชอบหาปลา อาวุธประจำกายคือ แห หมวง ของทุกอย่างทำด้วยมือ Hand Made ล้วนๆครับ ผมเห็นคนรุ่นปู่รุ่นย่าทำของพวกนี้แล้วทึ่งในฝีมือ เพราะมีดครื่องมือไม่กี่อย่างก็สามารถผลิตผลงานออกมาได้ ไม่ต้องใช้เครื่องทุ่นแรง ไม่ต้องใช้เครื่องมือไฟฟ้า (ตอนนั้นที่บ้านไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึง) เสาบ้านก็ต้ดต้นไม้มาแล้วใช้ขวานถาก กระดานก็ใช้เลื่อยมือดึงกันอยู่ ๒ คน หลังคาก็ใช้ฟางข้าวมามัดเ็ป็นตับๆ มุงแล้วเย็นสบาย สร้างบ้านได้เป็นหลัง สุดยอดมากๆ

          ผมเป็นเด็กบ้านนอกตั้งแต่เกิด ตายผมก็อยากตายอยู่ที่บ้านนอก เพราะมันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของผม ตอนเด็กๆ มีคนถามว่าโตขึ้นอยากเป็นอะไร ? ผมบอกว่าไม่รู้ (เพราะไม่รู้ว่ามีอะไรให้ผมเป็นได้บ้าง)
          ตอนที่ยังเรียนอยู่โรงเรียนบ้านหนองหว้า(ประชาสรรค์) เป็นนักล่าสัตว์ ยิงนก ยิงแย้ ยิงปอม (กิ้งก่า) ยิงหนู ไม่รู้ว่าบาปเป็นยังไง บุญเป็นยังไง ..แต่ ขอให้มีกินก่อน เพื่อนชวนไปบวชเฌรที่วัดตอนปิดภาคเรียนก็ไม่ไป หาปู หาปลาสนุกกว่ากันเยอะ...! ช่วงนั้นวัดหนองหว้า จัดปริวาสกรรม แล้วก็มีการบรรพชาสามเณรด้วย ผมไม่ชอบบวชเณร แต่..ผมชอบตัดบาตร แล้วก็ตักให้เหลือข้าวไว้นิดหน่อย เอามากิน พ่อใหญ่กับแม่ใหญ่บอกว่า "กินข้าวก้นบาตรพระจะได้ฉลาด" ผมอยากฉลาด ก็เลยตักบาตรด้วย+กินข้าวด้วย ผมว่าคงเป็นกุศโลบายของปู่ย่าที่อยากให้หลานได้ใกล้ชิดพระ อยากให้หลานได้ทำบุญกุศลตั้งแต่ยังเด็ก แล้วก็เป็นอุบายโกศลที่เยี่ยมยอด เพราะผมก็ชอบที่จะทำด้วย

          หลังจากที่ออกจากโรงเรียนแล้วก็ไปอยู่กับลุงหวังที่จังหวัดนนทบุรี ตั้งแต่อายุ ๑๔ ปี เรียนมัธยมต้นที่นี่ 

ทำงานที่ร้านศรีไทยการแว่น สะพานควาย กรุงเทพฯ : 


พี่น้อง : ๒ คน ดังนี้
         ๑. ชื่อ พระสหัส ปิติสาโร (เกยด่านกลาง)
         ๒. ชื่อ นายสัญชัย เกยด่านกลาง (น้อย) มีเมีย ๑ คน ลูก ๒ คน
                 นางบเญจวรรณ  สุวรรณกลาง (เบญ)
                     ๑.เด็กหญิงปรียาภรณ์  เกยด่านกลาง (นุ่น)
                     ๒.เด็กชายหัสชัย  เกยด่านกลาง (แน็ป)


การศึกษา
     ป.๖ จาก โรงเรียนบ้านหนองหว้า(ประชาสรรค์)
     ม.๓ จาก โรงเรียนคลองเกลือ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

อาชีพหลัก : ทำนา
อาชีพเสริม : -



                                     


การอุปสมบท


     อุปสมบทเมื่อ
: วันที่ ๑๕ เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๔๐ อายุ ๒๑ ปี
     พระอุปัชฌาย์ : พระครูวิสารวรกิจ (บุญส่ง วิสารโท)
               พระกรรมวาจาจารย์ : พระชิด ปสนฺโน (ปัจจุบัน ..พระครูสุนทรธรรมประสาท)
               พระอนุสาวนาจารย์ : พระสมศักดิ์ สีลสํวโร ( ..ปัจจุบัน ..ลาสิกขา)
     ณ พัทธสีมาวัดหนองหว้า ตำบลด่านคล้า อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา

     วันอุปสมบท : ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๐

               กล่าวคำวันทาเสมา ต่อหน้าพระอุปัชฌาย์ : พระครูวิสารวรกิจ
                         (ยืน) อุกาสะ  วันทามิ  ภันเต  สัพพัง  อะปะราธัง   ขะมะถะ  เม ภันเต
               มะยา  กะตัง ปุญญัง  สามินา  อะนุโมทิตัพพัง  สามินา  กะตัง ปุญญัง
               มัยหัง  ทาตัพพัง  สาธุ  สาธุ  อะนุโมทามิ ฯ
                         (นั่ง) สัพเพ  อะปะราธัง  ขะมะถะ เม ภันเต  อุกาสะ  ทฺวารัตตะเยนะ
               กะตัง  สัพพัง  อะปะราธัง  ขะมะถะ  เม ภันเต ฯ อุกาสะ  ขะมามิ  ภันเต ฯ
                         (ยืน) วันทามิ  ภันเต  สัพพัง  อะปะราธัง  ขะมะถะ เม  ภันเต  มะยา
               กะตัง  ปุญญัง  สามินา  อะนุโมทิตัพพัง  สามินา  กะตัง  ปุญญัง  มัยหัง
               ทาตัพพัง  สาธุ  สาธุ  อะนุโมทามิ ฯ
               (กราบเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง)
หน้ากุฎีวัดหนองหว้า : พ่อใหญ่เกิด,  นาคตึ๋ง,  ลุงลอย,  ลุงผัน (เรียงจากช้าย)
     จัดงานที่บ้าน
(จากซ้าย) แม่ทองอินทร์,  นาคตึ๋ง,  น้องชาย
(จากซ้าย) แม่อินทร์,  นาคตึ๋ง,  พ่อละมัย
พ่อใหญ่เมฆ  : ร่วมอนุโมทนาในการบวชครั้งนี้
กล่าวคำขอขมาลาโทษต่อพ่อใหญ่
กล่าวคำขอขมาต่อพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย และญาติผู้ใหญ่
พ่อแม่ และญาติพี่น้องพร้อมทั้งผู้มาร่วมงานอาบน้ำให้ : ....อาบซะหนาวเลย
พิธีเรียกขวัญนาค : โดย นายสำราญ  วงศ์กลาง (อดีดผู้ใหญ่บ้านโนนน้อย หมู่ ๑๒)
เทศนาธรรมปุจฉา-วิสัชนา โดย พระครูวิสารวรกิจ และ พระครูนมูญธรรมโสภิต
พระครูมนูญธรรมโสภิต : เจ้าคณะตำบลขามเฒ่า
     เบื้องหลังความอร่อย
     อุปสมบท ณ อุโบสถวัดหนองหว้า
พ่อละมัย แม่ทองอินทร์ : มอบจีวรแก่ลูกชาย
มอบจีวรแก่พระอุปัชฌาย์ และขออุปสมบท
          ขออุปสมบท
          อุกาสะ วันทามิ ภันเต, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต, มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง, สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง, ทาตัพพัง สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ ฯ
          อุกาสะ การุญญัง กัตวา, ปัพพัชชัง เทถะ เม ภันเต, (นั่งลงคุกเข้าประนมมือว่า....)
                                อะหัง ภันเต, ปัพพัชชัง ยาจามิ,
               ทุติยัมปิ    อะหัง ภันเต, ปัพพัชชัง ยาจามิ,
               ตะติยัมปิ  อะหัง ภันเต, ปัพพัชชัง ยาจามิ,
          สัพพะทุกขะ, นิสสะระณะนิพพานะ, สัจฉิกะระณัตถายะ, อิมัง กาสาวัง คะเหตฺวา, ปัพพาเชถะ มัง ภันเต, อะนุกัมปัง อุปาทายะ ฯ (ตั้งแต่ สัพพะทุกขะ.......  ว่า ๓ หน ถวายผ้าไตรจีวรพระอุปัชฌาย์ แล้วว่าต่อไป.....)
          สัพพะทุกขะ, นิสสะระณะนิพพานะ, สัจฉิกะระณัตถายะ, เอตัง กาสาวัง ทัตวา, ปัพพาะเชถะ มัง ภันเต, อะนุกัมปัง อุปาทายะ ฯ (ตั้งแต่ สัพพะทุกขะ.......ว่า ๓ หน)

          ต่อจากนั้น พระอุปัชฌาย์ให้โอวาทและบอก ตจปัญจกกัมมัฏฐาน โดยให้ว่าตามไปทีละบท โดยอนุโลมและปฏิโลม คือ
          เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ (อนุโลม)
          ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา (ปฏิโลม)
          จากนั้นพระอุปัชฌาย์ชักอังสะออกจากไตรสวมให้แล้ว สั่งให้ออกไปครองผ้าครบไตรจีวรแล้วเข้ามารับศีล
          ขอศีล
          หลังจากที่ครองผ้าเสร็จก็เข้ามา แล้วนั่งคุกเข่ากราบ ๓ ครั้ง แล้วยืนขึ้น กล่าวคำขอศีล
          อุกาสะ วันทามิ ภันเต, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต, มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง, สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง, ทาตัพพัง สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ ฯ
          อุกาสะ การุญญัง กัตวา, ติสะระเณนะ สะหะ, สีลานิ เทถะ เม ภันเต,(นั่งลงคุกเข่าขอสรณะและศีล)
                            อะหัง ภันเต, สะระณะสีลัง ยาจามิ,
          ทุติปยัมปิ   อะหัง ภันเต, สะระณะสีลัง ยาจามิ,
          ตะติยัมปิ    อะหัง ภันเต, สะระณะสีลัง ยาจามิ,
          ต่อจากนั้นพระอุปัชฌาย์กล่าวนำ แล้วให้กล่าวตาม ดังนี้
                    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธธัสสะ ฯ (ว่า ๓ หน)
          ยะมะหัง วะทามิ ตัง วะเทหิ  ตอบรับว่า อามะ ภันเต
                        พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
                        ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
                        สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
          ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
          ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
          ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
          ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
          ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
          ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
          ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง  ตอบรับว่า "อามะ ภันเต"

          ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
          อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
          อะพรัหมะจะริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
          มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
          สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
          วิกาละโภชะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
          นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
          มาลาคันธะวิเลปะนะธาระณะมัณฑะนะวิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
          อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
          ชาตะรูปะระชะตะปะฏิคคะหะณา เวระมะณี สิกขาปะทังสะมาทิยามิ ฯ
          อิมาทิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ ฯ (ว่า ๓ จบ)
          ขอนิสสัย
          วันทามิ ภันเต, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต, มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง, สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง, ทาตัพพัง สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ ฯ (คุกเข่ากราบ ๓ หน)
          ต่อจากนั้น อุ้มบาตรเข้าไปหาพระอุปัชฌายะในสังฆสันนิบาต วางไว้ข้างตัวซ้ายรับเครื่องไทยธรรมถวาย (พระกรรมวาจาจารย์ และพระอนุศาสาวนาจารย์) แล้วกราบลง ๓ หน ยืนปะนมมือกล่าวคำขอนิสัย ว่าดังนี้
          วันทามิ ภันเต, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต, มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง, สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง, ทาตัพพัง สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ ฯ
          อุกาสะ การุญญัง กัตวา, นิสสะยัง เทถะ เม ภันเต, (นั่งคุกเข่า)
                         อะหัง ภันเต, นิสสะยัง ยาจามิ,
          ทุติยัมปิ   อะหัง ภันเต, นิสสะยัง ยาจามิ,
          ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต, นิสสะยัง ยาจามิ ฯ
          อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ ฯ (วรรคนี้ว่า ๓ หน)

          พระอุปัชฌาย์                    สามเณร                                                
          โอปายิกัง                             - อุกาสะ สัมปะฏิจฉามิ
          ปะฏิรูปัง                               - สัมปะฏิจฉามิ
          ปาสาทิเกนะ สัมปาเทหิ        - สัมปะฏิจฉามิ
                                                      - "อัชชะตัคเคทานิ เถโร, มัยหัง ภาโร
                                                          อะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร" (วรรคนี้ว่า ๓ หน)

          พระอุปัชฌาย์     บอกชื่อเป็นภาษาบาลีว่า "ปิติสาโร"
                                     บอกชื่อพระอุปัชฌาย์ว่า "วิสารโท"
          ต่อจากนั้น พระอุปัชฌาย์เอาบาตรมีสายโยคคล้องตัวผู้มุ่งอุปสมบทแล้วบอกบาตรและจีวร
          พระอุปัชฌาย์
          ปะฐะมัง อุปัชฌัง คาหาเปตัพโพ,
          อุปัชฌัง คาหาเปตวา,
          ปัตตะ จีวะรัง อาจิกขิตัพพัง,                     ตอบว่า อามะ ภันเต
          อะยันเต ปัตโต                                         ตอบว่า อามะ ภันเต
          อะยัง สังฆาฏิง                                         ตอบว่า อามะ ภันเต
          อะยัง อุตตะราสังโฆ                                 ตอบว่า อามะ ภันเต
          อะยัง อันตะระวาสะโก                              ตอบว่า อามะ ภันเต
          คัจฉะ อะมุมหิ โอกาเส ติฏฐาหิ                ถอยออกลุกขึ้นเดินไปยืนอยู่ในที่ที่กำหนดไว้

          พระกรรมวาจาจารย์ (คู่สวด) มีพระชิด  ปสนฺโน : เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระสมศักดิ์  สีลสํวโร : เป็นพระอนุสาวนาจารย์  ท่านสวดสมมติตนเป็นผู้สอนซ้อม แล้วออกไปสวดถามอันตรายิกธรรม

          นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
          นะโม ตัสสะ, ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ,
          นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ.
          สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ, ปิติสาโร, อายัสมะโต วิสาระทัสสะ อุปะสัมปะทาเปกโข, ยะทิ สังฆัสสะ ปัตตะกัลป์ลัง, อะหัง ปิติสารัง อะนุสาเสยยัง,

          สุณะสิ๊ ปิติสาระ, อะยันเต สัจจะกาโล ภูตะกาโล, ยัง ชาตัง ตัง สังฆะมัชเฌ ปุจฉันเต, สันตัง อัตถีติ วัตตัพพัง, อะสันตัง นัตถีติ วัตตัพพัง, มา โข วิตถาสิ, มา โข มังกุ อะโหสิ, เอวันตัง ปุจฉิสสันติ, สันติ๊ เต เอวะรูปา อาพาธา.
          พระกรรมวาจาจารย์ (ถาม)          ผู้ขออุปสมบท (ตอบ)                      
          กุฏฐัง                                                 นัตถิ ภันเต
          คัณโฑ                                               นัตถิ ภันเต
          กิลาโส                                               นัตถิ ภันเต
          โสโส                                                 นัตถิ ภันเต
          อะปะมาโร                                         นัตถิ ภันเต
          มะนุสโสสิ๊                                          อามะ ภันเต
          ปริโสสิ๊                                               อามะ ภันเต
          ภุชิสโสสิ๊                                            อามะ ภันเต
          อะนะโณสิ๊                                          อามะ ภันเต
          นะสิ๊ ราชะภะโฏ                                  อามะ ภันเต
          อะนุญญาโตสิ๊ มาตาปิตูหิ                   อามะ ภันเต
          ปะริปุณณะวีสะติวัสโสสิ๊                     อามะ ภันเต
          ปะริปุณณันเต ปัตตะจีวะรัง                 อามะ ภันเต
          กินนาโมสิ                                           อะหัง ภันเต ปิติสาโร นามะ
          โก นามะ เต อุปัชฌาโย                      อุปัชฌาโย เม ภันเต อายัสมา วิสารโท นามะ

          สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ, ปิติสาโร, อายัสมะโต วิสารทัสสะ อุปะสัมปะทาเปกโข, อะนุสิฏโฐ โส มะยา, ยะทิ สังฆัสสะ ปัตตะกัลป์ลัง, ปิติสาโร อาคัจเฉยยะ.
          (คำเรียก) อาคัจฉาหิ
          จากนั้นเดินเข้ามาในสังฆสันนิบาต กราบลงตรงหน้าพระอุปัชฌาย์ ๓ หน แล้วนั่งคุกเข่าประนมมือ เปล่งวาจาขออุปสมบท ว่าดังนี้
          สังฆัมภันเต, อุปะสัมปะทัง ยาจามิ, อุลลุมปะตุ มัง ภันเต,สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ.
          ทุติยัมปิ ภันเต, สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ, อุลลุมปะตุ มัง ภันเต, สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ.
          ตะติยัมปิ ภันเต, สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ, อุลลุมปะตุ มัง ภันเต, สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ

          ต่อจากนั้น พระครูวิสารวรกิจ : พระอุปัชฌาย์กล่าวคำเผดียงสงฆ์
          อิทานิ โข อาวุโส  อะยัง ปิติสาโร มานะ สามะเณโร มะมะ อุปะสัมปะทาเปกโข อุปะสัมปะทัง อากังขะมาโน, สังฆัง ยาจะติ, อะหัง สัพพะมิมัง สังฆัง อัชเฌสามิ, สาธุ อาวุโส   สัพโพยัง สังโฆ
          อิมัง ปิติสารัง นามะ สามะเณรัง, อันตะรายิเก ธัมเม ปุจฉิตฺวา, ตัตถะ ปัตตะกัลลัตตัง ญัตฺวา. ญัตติจะตุตเถนะ กัมเมนะ อะกุปเปนะ ฐานาระเหนะ อุปะสัมปาเทมาติ, กัมมะสันนิฏฐานัง กะโรตุ,
          ที่ประชุมสงฆ์รับพร้อมกันว่า สาธุ

          พระกรรมวาจาจารย์ (คู่สวด) มีพระชิด  ปสนฺโน : เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระสมศักดิ์  สีลสํวโร : เป็นพระอนุสาวนาจารย์  ท่านสวดสมมติตนเป็นผู้สวดถามอันตรายิกธรรม
          สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ, อะยัง ปิติสาโร อายัสมะโต วิสารทัสสะ อุปะสัมปะทาเปกโข, ยะทิ สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง, อะหัง ปิติสารัง อันตะรายิเก ธัมเม ปุจเฉยยัง.
          สุณะสิ๊  ปิติสาระ, อะยันเต สัจจะกาโล ภูตะกาโล, ยัง ชาตัง ตัง ปุจฉามิ, สันตัง อัตถีติ วัตตัพพัง, อะสันตัง นัตถีติ วัตตัพพัง, สันติ เต เอวะรูปา อาพาธา ?
          พระกรรมวาจาจารย์ (ถาม)          ผู้ขออุปสมบท (ตอบ)                      
          กุฏฐัง                                                 นัตถิ ภันเต
          คัณโฑ                                               นัตถิ ภันเต
          กิลาโส                                               นัตถิ ภันเต
          โสโส                                                 นัตถิ ภันเต
          อะปะมาโร                                         นัตถิ ภันเต
          มะนุสโสสิ๊                                          อามะ ภันเต
          ปริโสสิ๊                                               อามะ ภันเต
          ภุชิสโสสิ๊                                            อามะ ภันเต
          อะนะโณสิ๊                                          อามะ ภันเต
          นะสิ๊ ราชะภะโฏ                                  อามะ ภันเต
          อะนุญญาโตสิ๊ มาตาปิตูหิ                   อามะ ภันเต
          ปะริปุณณะวีสะติวัสโสสิ๊                     อามะ ภันเต
          ปะริปุณณันเต ปัตตะจีวะรัง                 อามะ ภันเต
          กินนาโมสิ                                           อะหัง ภันเต ปิติสาโร นามะ
          โก นามะ เต อุปัชฌาโย                      อุปัชฌาโย เม ภันเต อายัสมา วิสารโท นามะ


     ต่อจากนั้น พระกรรมวาจาจารย์ (คู่สวด) มีพระชิด  ปสนฺโน : เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระสมศักดิ์  สีลสํวโร : เป็นพระอนุสาวนาจารย์  ท่านสวดกรรมวาจาอุปสมบทไปจนจบ
          สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ, อะยัง ปิติสาโร, อายัสมะโต วิสาระทัสสะ อุปะสัมปะทาเปกโข, ปะริสุทโธ อันตะรายิเกหิ ธัมเมหิ, ปะริปุณณัสสะ ปัตตะจีวะรัง, ปิติสาโร สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจะติ, อายัสมะตา วิสารเทนะ อุปัชฌาเยนะ, ยะทิ สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง สังโฆ ปิติสารัง อุปะสัมปทาเทยยะ, อายัสมะตา วิสารเทนะ อุปัชฌาเยนะ, เอสา ญัตติ.
          สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ, อะยัง ปิติสาโร อายัสมะโต วิสาระทัสสะ อุปะสัมปะทาเปกโข, ปะริสุทโธ อันตะรายิเกหิ ธัมเมหิ, ปะริปุณณัสสะ ปัตตะจีวะรัง, ปิติสาโร สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจะติ, อายัสมะตา วิสาระเทนะ อุปัชฌาเยนะ, สังโฆ ปิติสารัง อุปะสัมปาเทติ, อายัสมะตา วิสาระเทนะ อุปัชฌาเยนะ, ยัสสายัสฺมะโต ขะมะติ, ปิติสารัสสะ อุปะสัมปะทา, อายัสฺมะตา วิสาระเทนะ อุปัชฌาเยนะ,
          โส ตุณฺหัสสะ, ยัสสะ นะ ขะมะติ, โส ภาเสยยะ.

          ทุติยัมปิ เอตะมัตถัง วะทามิ,
          สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ, อะยัง ปิติสาโร อายัสมะโต วิสาระทัสสะ อุปะสัมปะทาเปกโข, ปะริสุทโธ อันตะรายิเกหิ ธัมเมหิ, ปะริปุณณัสสะ ปัตตะจีวะรัง, ปิติสาโร สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจะติ, อายัสมะตา วิสาระเทนะ อุปัชฌาเยนะ, สังโฆ ปิติสารัง อุปะสัมปาเทติ, อายัสมะตา วิสาระเทนะ อุปัชฌาเยนะ, ยัสสายัสฺมะโต ขะมะติ, ปิติสารัสสะ อุปะสัมปะทา, อายัสฺมะตา วิสาระเทนะ อุปัชฌาเยนะ,
          โส ตุณฺหัสสะ, ยัสสะ นะ ขะมะติ, โส ภาเสยยะ.

          ตะติยัมปิ เอตะมัตถัง วะทามิ,
          สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ, อะยัง ปิติสาโร อายัสมะโต วิสาระทัสสะ อุปะสัมปะทาเปกโข, ปะริสุทโธ อันตะรายิเกหิ ธัมเมหิ, ปะริปุณณัสสะ ปัตตะจีวะรัง, ปิติสาโร สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจะติ, อายัสมะตา วิสาระเทนะ อุปัชฌาเยนะ, สังโฆ ปิติสารัง อุปะสัมปาเทติ, อายัสมะตา วิสาระเทนะ อุปัชฌาเยนะ, ยัสสายัสฺมะโต ขะมะติ, ปิติสารัสสะ อุปะสัมปะทา, อายัสฺมะตา วิสาระเทนะ อุปัชฌาเยนะ,
          โส ตุณฺหัสสะ, ยัสสะ นะ ขะมะติ, โส ภาเสยยะ.

          อุปะสัมปันโน สังเฆนะ, ปิติสาโร อายัสฺมะตา วิสาระเทนะ อุปัชฌาเยนะ ขะมะติ สังฆัสสะ, ตัสฺมา ตุณฺหี, เอวะเมตัง, ธาระยามิ.

          หลังสวดจบแล้วท่านเอาบาตรออกจากตัว แล้วพึงกราบลง ๓ หน แต่นั้นพึงนั่งพับเพียบประนมมือฟังพระอุปัชฌาย์บอกอนุศาสน์ไปจนจบ
          จากนั้นพระสงฆ์ให้พรเป็นภาษาบาลี เป็นเสร็จการทำสังฆกรรม

     ถ่ายภาพเป็นที่ระลึก ...หลังบวชใหม่ๆ
พ่อละมัย,  พระตึ๋ง,  แม่อินทร์
รวมญาติพี่น้อง...ยังไม่หมด



                                                  


การศึกษาหลังการอุปสมบท
    พ.ศ.๒๕๔๐ : สอบได้ นวกภูมิ จากสำนักวัดหนองหว้า  สำนักเรียนจังหวัดนครราชสีมา
    พ.ศ.๒๕๔๐ : สอบได้ นักธรรมชั้นตรี จากสำนักวัดหนองหว้า  สำนักเรียนจังหวัดนครราชสีมา
    พ.ศ.๒๕๔๑ : สอบได้ นักธรรมชั้นโท จากสำนักวัดหนองหว้า  สำนักเรียนจังหวัดนครราชสีมา
    พ.ศ.๒๕๔๒ : สอบได้ นักธรรมชั้นเอก จากสำนักวัดหนองหว้า สำนักเรียนจังหวัดนครราชสีมา
    พ.ศ.๒๕๔๘ : ป.บส. (คณะสังคมศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
   
พ.ศ.๒๕๕๓ : พธ.บ. สาขาวิชารัฐศาสตร์ : Buddhist Management  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา

    ปัจจุบัน : ศึกษาในระดับมหาบัณฑิต Master of Arts Program in Philosophy
                   MCU. Nakonratchasima


หน้าที่การงานทางคณะสงฆ์
    - เลขานุการเจ้าคณะอำเภอโนนสูง
    - พระอนุสาวนาจารย์

งานทางการศึกษา  
    - ครูสอนพระปริยัติธรรมสำนักศาสนศึกษาวัดหนองหว้า อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา
    - จัดทำตำราการเรียนการสอนประจำศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดหนองหว้า
    - กรรมการสอบธรรมสนามหลวง อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา
    - กรรมการตรวจข้อสอบธรรมสนามหลวงประจำภาค ๑๑
    - สอนนักธรรม / ธรรมศึกษา ตรี โท เอก

งานในปัจจุบัน [ส่วนตัว]
     ออกแบบ / เขียนป้ายโฆษณา (เฉพาะวัดในเขตอำเภอโนนสูง)
     Photographer : เฉพาะงานคณะสงฆ์
     ดูแลเว็บ
          - เว็บ Master of Arts Program in Philosophy [มจร.วข.นม.]
          - เว็บคณะสงฆ์อำเภอโนนสูง
          - เว็บพระสอนศีลธรรมอำเภอโนนสูง


                                 
คติธรรมประจำใจ
     กูเรียน...เพื่อคลายสงสัย
     กูเรียน...ไป เพื่อคลายโง่
     กูเรียน...เพื่อไม่อวดโก้ ข่มเหงใคร
     กูเรียน...ไว้ เพื่อเป็นคน..ดี

[ปรัชญาการทำงาน]
     ไม่ทิ้งงาน....  แต่..! นานหน่อย




[สิ่งที่คิดจะอยากทำในอนาคต]
PHoTograPHer / PRogrAMeR .."ทำไร่" "ไถนา" ..หาเมีย (..มันคล้องจองกันซะ) 555

                              

0 ความคิดเห็น:

  © ขอขอบคุณ Blogger template 'Ultimatum' by s-hatcore ๒๕๕๐ : s-hatcore

กลับขึ้นข้างบน : Back to TOP