พิธีต้อนรับรางวัลเสาเสมาธรรมจักร "พระครูวิสารวรกิจ"
วันที่ : วันจันทร์ ที่ ๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๕
สถานที่ : อุโบสถวัดหนองหว้า ตำบลด่านคล้า อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
กำหนดการ
เวลา ๐๗:๐๐ น. ถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุ สามเณร
เวลา ๐๘:๐๐ น. ชมนิทรรศการ
เวลา ๐๙:๐๐ น. นำรางวัลเสาเสมาธรรมจักรขึ้นสู่อุโบสถ
เวลา ๐๙:๓๐ น. ประธาน (ฝ่ายสงฆ์) จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย
ประธาน (ฝ่ายฆารวาส) เปิดกรวยถวายพระพร
เวลา ๑๐:๐๐ น. พระสงฆ์สมณศักดิ์ ๑๘ รูป เจริญชัยมงคลคาถา
เจ้าภาพถวายเครื่องไทยธรรม
พระสงฆ์ให้พรเป็นภาษาบาลี / กรวดน้ำ / รับพร
ถ่ายภาพเป็นที่ระลึก
เสร็จพิธี
เวลา ๑๑:๐๐ น. ถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุ สามเณร
เวลา ๑๓:๐๐ น. ฟังพระปาฏิโมกข์
เวลา ๑๖:๐๐ น. ปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน
เวลา ๑๘:๐๐ น. ทำวัตรเย็น
เวลา ๑๙:๐๐ น. เวียนเทียน
รายนามพระสมณศักดิ์
๑. พระครูปทุมสารคุณ : ที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอโนนสูง / เจ้าอาวาสวัดบัว
๒. พระครูวิจิตรคุณวัตร : รองเจ้าคณะอำเภอโนนสูง / เจ้าอาวาสวัดโนนหมัน
๓. พระครูนันทประโชติ : รองเจ้าคณะอำเภอโนนสูง / วัดบัว
๔. พระครูสังวรประสาท : เจ้าคณะตำบลดอนชมพู / เจ้าอาวาสวัดบ้านไพล
๕. พระครูถาวรวุฒิธรรม : เจ้าคณะตำบลลำคอหงษ์ / เจ้าอาวาสวัดหนองเครือชุด
๖. พระครูสุธรรมประสิทธิ์ : เจ้าคณะตำบลเมืองปราสาท / เจ้าอาวาสวัดกระเพรา
๗. พระครูปัญญาวุฒิคุณ : เจ้าคณะตำบลด่านคล้า / เจ้าอาวาสวัดเมืองที
๘. พระครูสถิตธัญญารักษ์ : เจ้าคณะตำบลหลุมข้าว / เจ้าอาวาสวัดหลุมข้าว
๙. พระครูมนูญธรรมโสภิต : เจ้าคณะตำบลขามเฒ่า / เจ้าอาวาสวัดหนองพลอง
๑๐. พระครูวิวัฒน์ชัยคุณ : เจ้าคณะตำบลโตนด / เจ้าอาวาสวัดโนนมะกอก
๑๑. พระครูนันทธรรมโกวิท : เจ้าคณะตำบลจันอัด / เจ้าอาวาสวัดจันอัด
๑๒. พระครูสุตวีรากร : เจ้าคณะตำบลพลสงคราม / เจ้าอาวาสวัดหญ้าคา
๑๓. พระครูนันทธรรมนิวิฐ : เจ้าคณะตำบลมะค่า เขต ๒ / เจ้าอาวาสวัดพลจลก
๑๔. พระครูอุดมอรุโณทัย : เจ้าคณะตำบลใหม่ / เจ้าอาวาสวัดถนนถั่ว
๑๕. พระครูเกษมนวกิจ : เจ้าคณะตำบลธารปราสาท / เจ้าอาวาสวัดใหม่เกษม
๑๖. พระครูปภากรพิสิฐ : เจ้าคณะตำบลบิง / วัดบิง
๑๗. พระครูประภาตธรรมรส : เจ้าคระตำบลมะค่า เขต ๑ / เจ้าอาวาสวัดดอนม่วง
๑๘. พระครูปทุมขันติธรรม : รักษาการแทนเจ้าคณะตำบลโนนสูง
ความเป็นมา
รางวัลเสาเสมาธรรมจักร เป็นรางวัลเกียรติยศที่มอบให้แก่บุคคล หรือหน่วยงานที่ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา บุคคลหรือองค์กรที่ได้รับรางวัลนี้จะมีสิทธิ์ได้รับเพียงครั้งเดียว เพราะถือว่าเป็นรางวัลทรงเกียรติสูงสุดในชีวิตแล้ว
รางวัลเสาเสมาธรรมจักร สร้างจากวัสดุธรรมดาทั่วไป เป็นรูปกงล้อธรรมจักรประดิษฐานบนเสากลม ภายใต้แนวคิดว่าพระธรรมจักรเป็นเครื่องหมายแห่งการประกาศพระพุทธศาสนา และผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาก็ได้ชื่อว่าเป็นเสาหลักของพระพุทธศาสนา เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการช่วยจรรโลงพระพุทธศาสนา ช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้ไพศาลยิ่ง ๆ ขึ้นไป
ปัจจุบัน พิธีพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักร จัดขึ้น ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ในช่วงงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวิสาขบูชา ของทุกๆ ปี โดยมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นองค์ประธานในพิธีพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักรแด่ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา
การมอบรางวัลเสาเสมาธรรมจักร
การคัดเลือกผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา เริ่มในปี ๒๕๒๕ ซึ่งเป็นปีแรกของการคัดเลือก และได้เว้นว่างไป ๑ ปี จนถึงปี ๒๕๒๗ ซึ่งเป็นปีที่มีการก่อตั้งศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย กรมการศาสนาร่วมกับศูนย์ส่งเสริม ฯ จึงได้นำโครงการคัดเลือกผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาขึ้นมาพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง จากการคัดเลือกผู้ทำคุณต่อพระพุทธศาสนา ตั้งแต่ปี ๒๕๒๕ - ปัจจุบัน มีผู้ได้ผ่านการคัดเลือกทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ จำนวน ๒,๗๕๘ รูป/คน
การพิจารณามอบรางวัลเสาเสมาธรรมจักร
รางวัลเสาเสมาธรรมจักร เป็นรางวัลเกียรติยศสูงสุดที่คณะกรรมการฝ่ายคัดเลือกผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา พิจารณามอบให้แก่ผู้ที่ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา เพื่อส่งเสริมยกย่องคุณความดีและประกาศเกียรติคุณแด่บุคคล องค์กร และหน่วยงาน ที่บำเพ็ญประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาให้ปรากฏแก่พุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป เป็นแบบอย่างแก่สังคมและเยาวชนของชาติ เป็นเกียรติ เป็นกำลังใจในการเผยแผ่ พระพุทธศาสนา ซึ่งได้ผ่านการเสนอชื่อการพิจารณาคัดเลือกกลั่นกรองจากคณะอนุกรรมการ และการอนุมัติจากคณะกรรมการฝ่ายคัดเลือกในโครงการสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวิสาขบูชา
ผู้ควรแก่รางวัลจะได้รับพระราชทานเสาเสมาธรรมจักร พร้อมด้วยประกาศเกียรติคุณจากสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งเสด็จ ฯ เป็นองค์ประธานเปิดงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาล วิสาขบูชา ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวงเป็นประจำทุกปี
หน่วยงานที่รับผิดชอบการพิจารณามอบรางวัลเสาเสมาธรรมจักร ปัจจุบันอยู่ที่กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม โดยจะมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิเศษเพื่อพิจารณาผู้สมควรได้รับรางวัลขึ้นใหม่ทุกปี โดยแบ่งพิจารณาเป็น ๑๐ สาขา เช่น สาขาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศ สาขาการแต่งหนังสือทางพระพุทธศาสนา เป็นต้น การคัดเลือกผู้สมควรได้รับรางวัลมีสองวิธีการคือ พิจารณาจากผู้ทำประโยชน์ผู้ที่มีชื่อเสียง และคัดเลือกจากเอกสารที่ผู้เสนอขอตามลำดับชั้นจากสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดขึ้นมา โดยแบ่งเป็นจังหวัดละ ๑ หรือ ๒ รางวัล ตามแต่ขนาดของประชากรในจังหวัด
ประเภทของการคัดเลือกผู้สมควรได้รับรางวัลเสาเสมาธรรมจักร
สืบเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ - ปัจจุบัน มีการปรับเพิ่มประเภทตามที่คณะกรรมการ ฯ กำหนด ในปี พ.ศ.๒๕๕๕ คณะกรรมการฝ่ายคัดเลือกผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ได้แบ่งประเภทการคัดเลือกออกเป็น ๑๐ ประเภท คือ
๑. ประเภทส่งเสริมการศึกษาพระพุทธศาสนา
๒. ประเภทการศึกษาสงเคราะห์
๓. ประเภทส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
๔. ประเภทส่งเสริมการปฏิบัติธรรม
๕. ประเภทส่งเสริมกิจการคณะสงฆ์
๖. ประเภทสงเคราะห์ประชาชนและส่งเสริมการพัฒนาชุมชนโดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
๗. ประเภทส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมมรดกไทยทางพระพุทธศาสนา
๘. ประเภทสื่อมวลชนที่ส่งเสริมพระพุทธศาสนา
๙. ประเภทสมาคม องค์กร มูลนิธิ สถาบัน และหน่วยงานที่มีกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนา
๑๐. ประเภทผู้ประกอบอาชีพที่มีคุณธรรมและส่งเสริมพระพุทธศาสนา
สำหรับรางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาประจำปี ๒๕๕๕ จะต้องผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายหน่วยงาน อาทิ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานพระพุทธศาสนา สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ฯลฯ ซึ่งผู้ทำคุณประโยชน์ฯ ที่ผ่านการคัดเลือกในปีนี้มาจากส่วนกลาง(กรุงเทพมหานคร) ส่วนภูมิภาค และต่างประเทศ จำนวนทั้งสิ้น ๑๖๐ ราย ๑๐ ประเภท
ประเภท ส่งเสริมการศึกษาพระพุทธศาสนา มี ๓ สาขา
สาขาการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกธรรม แผนกบาลี อาทิสำหรับรางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาประจำปี ๒๕๕๕ จะต้องผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายหน่วยงาน อาทิ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานพระพุทธศาสนา สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ฯลฯ ซึ่งผู้ทำคุณประโยชน์ฯ ที่ผ่านการคัดเลือกในปีนี้มาจากส่วนกลาง(กรุงเทพมหานคร) ส่วนภูมิภาค และต่างประเทศ จำนวนทั้งสิ้น ๑๖๐ ราย ๑๐ ประเภท
ประเภท ส่งเสริมการศึกษาพระพุทธศาสนา มี ๓ สาขา
๑. พระญาณวีรากร วัดหัวเวียง จ.แม่ฮ่องสอน
๒. พระครูถาวรศีลวัตร วัดลานคา จ.นครปฐม
๓. พระครูกิตติโกศล วัดพระศรีเจริญ จ.อำนาจเจริญ
สาขาการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา อุดมศึกษา อาทิ
๑. พระเมธีธรรมประนาท วัดท่าหลวง จ.พิจิตร
๒. พระครูปริยัติวราทร วัดศรีมหาราชา จ.ชลบุรี
๓. พระครูมงคลชยานุรักษ์ วัดไซยมงคล จ.อุบลราชธานี
สาขาการแต่งหนังสือทางพระพุทธศาสนา
๑. พระมหาขวัญชัย กิตติเมธี วัดบพิตรพิมุข กรุงเทพฯ
๒. พระมหาวีระพันธ์ ชุติปญโญ วัดโพธิ์ชัย จ.กาฬสินธุ์
ประเภท การศึกษาสงเคราะห์ อาทิ
๑. พระครูวิสารวรกิจ วัดหนองหว้า ตำบลด่านคล้า อำเภอโนนสุง จังหวัดนครราชสีมา
๒. พระครูพิพิธสังฆการ วัดปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ
๓. พระครูปริยัติธรรมานุวัตร วัดบ้านหนองไผ่ล้อม จ.สกลนคร
๔. พระปลัดสุวัฒน์ กนตวีโร วัดชลธาราวาส จ.นราธิวาส
ประเภท ส่งเสริมการเผยแพร่พระพุทธศาสนา มี ๒ สาขา
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศ อาทิ
๑. พระราชวิสุทธิดิลก วัดสามพระยา กรุงเทพฯ
๒. พระปัญญารัตนากร วัดสังข์กระจาย กรุงเทพ
๓. พระพิศิษฏ์วินัยการ วัดมเหยงคณ์ จ.นครศรีธรรมราช
สาขาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ
๑. พระครูอานันทกิจจานุกูล วัดอานันทเมตยาราม ประเทศสิงคโปร์
๒. พระครูสุมณฑ์ธรรมวงศ์ วัดไทยลอสแองเจลิส สหรัฐอเมริกา
๓. พระครูปลัดสุวัฒนพุทธิคุณ วัดไทยสิริราชคฤห์ ประเทศอินเดีย
ประเภท ส่งเสริมการปฏิบัติธรรม อาทิ
๑. พระราชธรรมสารสุธี วัดมหาพุทธาราม จ.ศรีสะเกษ
๒. พระอนันตสารโสภณ วัดสิริจันทรนิมิต จ.ลพบุรี
๓. พระครูสุทธิธรรมญาณ วัดป่าเทพวิมุต จ.บึงกาฬ
ประเภท ส่งเสริมกิจการคณะสงฆ์ อาทิ
๑. พระราชกิตติรังสี วัดเจียงอีศรีมงคลวราราม จ.ศรีสะเกษ
๒. พระราชธีราจารย์ วัดมณีวนาราม จ.อุบลราชธานี
๓. พระโสภณวราภรณ์วัดนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์
๔. นายวิทยา คุณปลื้ม จ.ชลบุรี
ประเภท สงเคราะห์ประชาชนและส่งเสริมการพัฒนาชุมชนโดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา อาทิ
๑. พระราชวรเมธาจารย์ วัดโบสถ์ จ.ปทุมธานี
๒. พระพินิตสมณการ วัดสหธรรมิการาม จ.เพชรบุรี
๓. พระครูสุกิตติยาภิวัฒน์ วัดท่าโขลงกิตติยาราม จ.อ่างทอง
๔. พันตำรวจโท โสภณกุญช์ ทรัพย์สมบัติ จังหวัดกาฬสินธุ์
๕. น.พ.พรชัย พิญญพงษ์ จังหวัดปทุมธานี
ประเภทส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมมรดกไทยทางพระพุทธศาสนา อาทิ
๑. พระสุธีวราภรณ์ วัดพระพุทธฉาย จ.สระบุรี
๒. พระครูธรรมธร ชลายุทธ์ ปิยวณโณ วัดพระธาตุดอยเวา จ.เชียงราย
๓. พระมหาวิมาน กนตสีโล วัดปาดน้ำ จ.อุบลราชธานี
๓. พระมหาวิมาน กนตสีโล วัดปาดน้ำ จ.อุบลราชธานี
ประเภท สื่อมวลชนที่ส่งเสริมพระพุทธศาสนา
๑. เรืออากาศเอก ประกอบ สมานทอง จ.ประจวบคีรีขันธ์
ประเภท สมาคม องค์กร มูลนิธิ สถาบันและหน่วยงานที่มีกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนา อาทิ
๑. หน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลป่าแฝก จ.พะเยา
๒. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
๓. โรงเรียนบ้านสวนอุดมวิทยา จ.ชลบุรี
๔. โรงเรียนศักดิ์สุนันท์วิทยา จ.ลำปาง
๕. องค์การบริหารส่วนตำบลสุไหงปาดี จ.นราธิวาส
ประเภท ผู้ประกอบอาชีพที่มีคุณธรรมและส่งเสริม อาทิ
๑. นาง ตุ๋ย แซ่โล้ว จ.นครราชสีมา
๒. นาย อิทธิกร ศรีจันบาล จ.ยะลา
๓. นายบุญนาค ป้องกันภัย กรุงเทพฯ
๔. รศ. ณัฏฐ์ชุดา ฐิติกัลยาณ์ กรุงเทพฯ
ทั้งนี้ ผู้ทำคุณประโยชน์จะเข้ารับรางวัลพระราชทาน “เสาเสมาธรรมจักร” ในงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวิสาขบูชา ประจำปี ๒๕๕๕นี้
---------------------
สถานที่ :
รายงาน : S-HaTCore
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น