วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การประชุมพระสังฆาธิการ กลุ่ม ๑ จังหวัดนครราชสีมา

กำหนดการประชุมพระสังฆาธิการ
ระดับเจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาส รักษาการแทนเจ้าอาวาส หัวหน้าที่พักสงฆ์ เลขานุการเจ้าคณะตำบล และพระวินยาธิการในเขตปกครองกลุ่ม ๑
ณ วัดหนองหว้า ตำบลด่านคล้า อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
วันจันทร์ ที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๔


กำหนดการประชุมพระสังฆาธิการ
เวลา ๐๘:๐๐ น.
          พระสังฆาธิการผู้เข้าร่วมประชุมทุกรูปพร้อมกันในห้องประชุม
               - นายอำเภอโนนสูง กล่าวถวายการต้อนรับพระสังฆาธิการ
                 พร้อมแนะนำเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมือง

เวลา ๐๘:๓๐ น.
          พระเทพปริยัติมุนี รองเจ้าคณะภาค ๑๑ ประธานในพิธีเดินทางเข้าสู่ห้องประชุม จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย นำสวดมนต์ไหว้พระ
          - ประธานกลุ่ม / ฆราวาส ถวายสักการะ
          - นายอำเภอโนนสูง ประกอบพิธีเปิดกรวยดอกไม้ สักการะด้านหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ แด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
          - พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา
          - ร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี และสดุดีมหาราชา
          - พระปริยัติวรคุณ เจ้าคณะอำเภอเมืองนครราชสีมา กล่าวถวายรายงาน
          - ประธานในพิธีกล่าวเปิดประชุมและบรรยายพิเศษ

เวลา ๐๙:๓๐ น.
          พระราชวิมลโมลี รองเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา : บรรยายเรื่อง “สีลาจารวัตร

เวลา ๑๐:๓๐ น.
          พระครูศรีปริยัติวิสุทธิ์ ดร. เจ้าคณะอำเภอด่านขุนทด : บรรยายเรื่อง “ทบทวนการแบ่งกลุ่มอำเภอในเขตจังหวัด ตำบลในเขตอำเภอ”

เวลา ๑๑:๓๐ น.  พักฉันภัตตาหารเพล

เวลา ๑๒:๓๐ น.
          พระปลัดนายกวัฒน์ : หัวหน้าพระวินยาธิการ
          นายประชา  เพ็งสุริยา : ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดนครราชสีมา
                     บรรยายเรื่อง “ทบทวนงานพระวินยาธิการ”

เวลา ๑๔:๐๐ น.
          พระธรรมวรนายก : เจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา
          พระปริยัติสีมาภรณ์ : เลขานุการเจ้าคณะอำเภอเมือง
                  บรรยายเรื่อง “ทบทวนการคณะสงฆ์”

เวลา ๑๖:๐๐ น.
          - สัมมนาภายในกลุ่มและปิดการประชุม
          - เสร็จพิธี





*************

คำกล่าวรายงาน
พิธีเปิดการประชุมสัมมนาพระสังฆาธิการระดับวัด
ในเขตปกครองคณะสงฆ์จังหวัดนครราชสีมา กลุ่ม ๑ ภาค ๑๑
ณ วัดหนองหว้า  ตำบลด่านคล้า  อำเภอโนนสูง  จังหวัดนครราชสีมา
วันจันทร์ ที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๔


          กราบเรียน พระเดชพระคุณ พระเทพปริยัติมุนี  รองเจ้าคณะภาค ๑๑ ซึ่งได้รับมอบหมายให้มาทำหน้าที่เปิดการประชุมแทนเจ้าคณะภาค ๑๑ ที่เคารพอย่างสูง

          กระผม พระเมธีรัตโนดม : รองเจ้าคณะอำเภอเมืองนครราชสีมา ได้รับมอบหมายจาก พระปริยัติวรคุณ เจ้าคณะอำเภอเมืองนครราชสีมา ประธานกลุ่ม ๑ ขอถวายรายงาน เพื่อทราบดังต่อไปนี้
          ตามที่มติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๘/๒๕๔๖ มติที่ ๑๔๓/๒๕๔๖ กำหนดให้เจ้าคณะจังหวัดจัดประชุมเจ้าคณะอำเภอ รองเจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะตำบล รองเจ้าคณะตำบลและเลขานุการ ปีละ ๒ ครั้ง และเจ้าคณะภาคร่วมกับเจ้าคณะจังหวัด จัดประชุมเจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาส ปีละ ๑ ครั้ง ทุกระดับกำหนดครั้งละ ๑ วัน
          ดังนั้น ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๑๑ เจ้าคณะภาคและเจ้าคณะจังหวัดในสังกัดจึงร่วมกันจัดประชุม เพื่อทบทวนนโยบายคณะสงฆ์ เพื่อจะพัฒนาศักยภาพพระสังฆาธิการ ให้มีประสิทธิภาพประสิทธิผลเหมาะสมกับสังคมในยุคปัจจุบัน พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการบริหารการวัดในด้านต่างๆ เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยจังหวัดนครราชสีมาได้จัดประชุมมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๐ จนถึงปัจจุบัน ในปี ๒๕๕๔ จังหวัดนครราชสีมา กำหนดประชุมในวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๔ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
          ๑. เพื่อต้องการให้มีความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเอง
          ๒. เพื่อเพิ่มพูนทักษะ ให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในการบริการกิจการณ์คณะสงฆ์
          ๓. เพื่อให้พระสงฆ์สังวรระวังมารยาทอันดีงาม การประพฤติปฏิบัติ ตามพระธรรมวินัย
          ๔. เพื่อให้พระสงฆ์มีวิสัยทัศน์ ทันโลก ทันเหตุการณ์
          ๕. เพื่อให้ทราบบทบาทหน้าที่ของการเป็นพระวินยาธิการ
          ๖. เพื่อสร้างเสริมความสมัครสมานสามัคคี อันดีงาม

     การประชุมครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนา ดังนี้
          ๑. เจ้าอาวาส                      ๓๒๙  รูป
          ๒. รองเจ้าอาวาส                     ๕  รูป
          ๓. ผู้ช่วยเจ้าอาวาส                ๔๗  รูป
          ๔. ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส    ๗๑  รูป
          ๕. หัวหน้าที่พักสงฆ์                ๑๘  รูป
          ๖. เลขานุการเจ้าคณะตำบล     ๕๔  รูป
          ๗. พระวินยาธิการ                  ๓๑  รูป
                         รวมทั้งสิ้น         ๕๔๖  รูป

          ในการดำเนินการจัดประชุมสัมมนาครั้งนี้  ได้รับความอนุเคราะห์ด้วยดีจาก พระครูวิสารวรกิจ เจ้าคณะอำเภอโนนสูง เจ้าอาวาสวัดหนองหว้า พร้อมด้วยคณะสงฆ์อำเภอโนนสูง ในด้านสถานที่ที่เข้าร่วมประชุม ภัตตาหารเพล น้ำปานะ และอื่นๆ สำหรับฝ่ายฆราวาสโดยความร่วมมือจากนายอำเภอโนนสูง นายกเทศมนตรี กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนทั่วไป พร้อมด้วยราชการฝ่ายบ้านเมืองทุกฝ่าย ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ร่วมประชุมจนเสร็จสิ้นการประชุม
        
          บัดนี้ ได้เวลาอันสมควรแล้ว กระผมขอกราบอาราธนา พระเดชพระคุณ ได้กล่าวเปิดการประชุมและให้โอวาทแก่ผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนาต่อไป

กราบเรียนมาด้วยความเคารพอย่างสูง






สรุปรายงานการประชุมพระสังฆาธิการ

สรุปรายงานการประชุมพระสังฆาธิการ
ระดับเจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาส รักษาการแทนเจ้าอาวาส
หัวหน้าที่พักสงฆ์ เลขานุการเจ้าคณะตำบล และพระวินยาธิการในเขตปกครองกลุ่ม ๑
ณ วัดหนองหว้า ตำบลด่านคล้า อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
วันจันทร์ ที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๔

ภาคเช้า

เวลา ๐๘:๓๐ น.

          พระสังฆาธิการผู้เข้าร่วมประชุมทุกรูปพร้อมกันในห้องประชุม
          พระครูนันทประโชติ รองเจ้าคณะอำเภอโนนสูง พระครูอุดมอรุโณทัย เจ้าคณะตำบลใหม่ กล่าวแนะนำสถานที่ และนิมนต์พระสังฆาธิการเข้าสู่สถานที่ประชุม
          พระปริยัติศรีมาภรณ์ เลขานุการเจ้าคณะอำเภอเมืองนครราชสีมา ชี้แจงการเข้านั่งตามลำดับอำเภอ
          ว่าที่ร้อยตรี ดร.นิรันดร์  ดุจจานุทัศน์ : นายอำเภอโนนสูง
                - กล่าวถวายการต้อนรับพระสังฆาธิการ
                - แนะนำเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมือง


เวลา ๐๙:๓๐ น.
          พระเทพปริยัติมุนี : รองเจ้าคณะภาค ๑๑ ประธานในพิธีเดินทางเข้าสู่ห้องประชุม จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย นำสวดมนต์ไหว้พระ

          - ว่าที่ร้อยตรี ดร.นิรันดร์  ดุจจานุทัศน์ นายอำเภอโนนสูง ประกอบพิธีเปิดกรวยดอกไม้ สักการะด้านหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ แด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
          - พระสงฆ์ทั้งนั้น เจริญชัยมงคลคาถา

          - ว่าที่ร้อยตรี ดร.นิรันดร์  ดุจจานุทัศน์ นายอำเภอโนนสูง และหน่วยงานราชการร่วมกันร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี และสดุดีมหาราชา
          นายอำเภอโนนสูง ถวายสักการะ พระเทพปริยัติมุนี รองเจ้าคณะภาค ๑๑ ประธานในพิธี

          - พระเมธีรัตโนดม : รองเจ้าคณะอำเภอเมืองนครราชสีมา ได้รับมอบหมายจาก พระปริยัติวรคุณ เจ้าคณะอำเภอเมืองนครราชสีมา กล่าวถวายรายงาน


          พระเทพปริยัติมุนี รองเจ้าคณะภาค ๑๑ ประธานในพิธีกล่าวเปิดประชุมและบรรยายพิเศษ

          การประชุม คือ การมาศึกษา เพราะสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง คือความรู้ หากประชุมร่วมกันบ่อย ย่อมก่อให้เกิดความรู้มากยิ่งขึ้น ก่อประสบการณ์ให้กว้างขวางทั้งทางคดีโลก คดีธรรม โบราณว่า “รู้อะไร ...ไม่สู้ รู้วิชา” เพราะวิชาความย่อมเชิดชูคนให้เด่นขึ้น
          ความรู้ ๓ ทาง ๑.รู้จำ (สัญญา)  ๒.รู้จริง (วิญญา)  ๓.รู้รอบ (ปริญญา)
          ความรู้มีไว้เพื่อ ๑.ประดับ  ๒.ทำงาน


เวลา ๑๐:๐๐ น.
          พระครูศรีปริยัติวิสุทธิ์ ดร. : เจ้าคณะอำเภอด่านขุนทด  บรรยายเรื่อง “ทบทวนการแบ่งกลุ่มอำเภอในเขตจังหวัด ตำบลในเขตอำเภอ”

          งานประชุมทบทวน คือ สิ่งที่ทำให้งานสัมฤทธิ์  โดยคณะสงฆ์มีงานหลักอยู่ ๔ งาน คือ ๑.งานปกครอง  ๒.งานการศึกษา  ๓.งานเผยแผ่  ๔.งานสาธารณูปการ และงานเสริม ๒ งาน คือ ๑.งานศึกษาสงเคราะห์  ๒.งานสาธารณสงเคราะห์
          การแบ่งกลุ่ม คือ การแบ่งเขตงานที่ชัดเจน มีประสิทธิภาพ
          ประโยชน์การแบ่งกลุ่ม
                    ๑.ได้คนเพิ่มขึ้น
                    ๒.พื่นที่ชัดเจน
                    ๓.มีผังชัดเจน
                    ๔.ได้ความสามัคคี
          งานแบ่งกลุ่มจะสำเร็จลุล่วงไปไม่ได้ ถ้าขาดความร่วมมือจากสมาชิกในกลุ่ม


เวลา ๑๐:๔๐ น.
          พระราชวิมลโมลี : รองเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา  บรรยายเรื่อง “สีลาจารวัตร

     หัวข้อวันนี้แบ่งออกได้ ๓ ส่วน คือ ๑.ศีล  ๒.อาจาร  ๓.วัตร
          - เรื่องบัตรสนเท่ห์ / เรื่องสามเณรจังหวัดแพร่แต่งตัวชุดเกาะอก / เรื่องพระครูตรวจมะเร็ง
          - เรื่องที่รับร้องเรียนบ่อยๆ คือ การขอเรี่ยไร
          - เรื่องลิขสิทธิ์
     ปิดท้าย : ตอบปัญหา ข้อข้องใจของพระสังฆาธิการ
          - เรื่องขอเรื่อไรจากสมาคมคนพิการ
          - เรื่องพระขับรถเอง




เวลา ๑๑:๓๐ น.    พักฉันภัตตาหารเพล



ภาคบ่าย

          พระปริยัติศรีมาภรณ์ เลขานุการเจ้าคณะอำเภอเมืองนครราชสีมา นิมนต์พระสังฆาธิการเข้าสู่สถานที่ประชุม และรับหนังสือ

เวลา ๑๒:๓๐ น.
          พระปริยัติสีมาภรณ์ : เลขานุการเจ้าคณะอำเภอเมือง บรรยายเรื่อง “งานสารบัญ”

          - กระดาษ F 14 ใช้ในงาน ๑.การทำประวัติขอแต่งตั้งพระครูสัญญาบัตร ๒.บัญชีรายชื่อนักธรรมตรี โท เอก และธรรมศึกษาตรี โท เอก
          - กระดาษ A 4 ใช้เป็นหนังสือปะหน้า
          - เมื่อเปิดรับหนังสือ ให้สลักหนังสือไว้ที่ด้านซ้ายมือ
          - สำนักงานต้องมีสมุดหนังสือรับ – หนังสือส่ง
          - ที่ออกหนังสือ ไม่ควรใช้ “ที่ พิเศษ” ควรใช้  “ที่ จร” หรือ “ที่ จล”


          พระปลัดนายกวัฒน์  : หัวหน้าพระวินยาธิการ บรรยายเรื่อง “ทบทวนบทบาทงานพระวินยาธิการ"

           ทบทวน คือ การย้อนทำซ้ำ เพื่อให้เกิดความแม่นยำ เหตุที่ต้องทบทวน เพราะเนื่องจากปัจจุบันกระแสการเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทั้งสังคมพระ และสังคมทางโลก
          - เมื่อพระวินยาธิการมีผลงานเพิ่มขึ้น แสดงว่าการคณะสงฆ์มีปัญหา
          การกำเนิดพระวินยาธิการ เริ่มต้นจากอำนาจหน้าที่ของเจ้าคณะจังหวัด กฎมหาเถรสมาคม ข้อที่ ๑๕ ฉบับที่ ๒๓ พ.ศ.๒๕๔๑ ว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของเจ้าคณะจังหวัด  ซึ่งงานของพระวินยาธิการอยู่ในส่วนของ “งานปกครอง”
          พระวินยาธิการ คือ พระที่ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าคณะจังหวัดหรือเจ้าคณะพระปกครองให้ช่วยในด้านงานการปกครอง

          บทบาทของพระวินยาธิการ มี ๒ ส่วน คือ
          ส่วนที่ ๑.อำนาจ
               ๑.ตามที่ได้รับมอบหมาย
          ส่วนที่ ๒ หน้าที่
               ๑.ตวรจตรา ชี้แจ้งแก่พระภิกษุ สามเณรให้รู้เข้าใจ พระราชบัญญัติ กฎมหาเถรสามคม จนถึงข้อบังคับบัญชาผู้มีอำนาจเหนือตน 
               ๒.นำพาผู้ได้ทำความผิดเข้าพบเจ้าคณะเพื่อพิจารณาความผิด

          คุณสมบัติพระวินยาธิการ ควรมีคุณสมบัติดังนี้
               ๑.มีพรรษาเกิน ๕
               ๒.ความรู้นักธรรมชั้นเอก มีสีลาจารวัตรดี
               ๓.มีความเฉลียวฉลาด
               ๔.ไม่มีปัญหาเรื่องโรค
               ๕.มีความเคารพต่อผู้บังคับบัญชา

          จรรยาบรรพระวินยาธิการ
               ๑.อดทน อดกลั้น สุขุมรอบคอบ
               ๒.มีความรับผิดชอบ
               ๓.เห็นแก่ประโยชน์ส่วนใหญ่
               ๔.มีความเสียสละ และความพร้อม
               ๕.สุภาพอ่อนน้อม
               ๖.มีสมณะสัญญา
               ๗.ปฏิบัติงานเพื่อพระพุทธศาสนา

          เมื่อพระวินยาธิการมีอายุการทำงานครบ ๒ ปี ให้เจ้าคณะอำเภอคัดเลือกพระในอำเภอพระสงฆ์ที่มีคุณสมบัติข้างต้นเพื่อขอแต่งตั้งเป็นพระวินยาธิการ พร้อมแนบส่ง ๑.สำเนาใบสุทธิ ๒.รูปถ่าย ๒ ใบ

          โทษ ๓ ส่วน เพื่อประกอบปฏิบัติหน้าที่
               ความผิดระดับที่ ๑ ให้ตักเตือน
               ความผิดระดับที่ ๒ ให้ทำภาคทัณฑ์
               ความผิดระดับที่ ๓ ให้ลาจากสมณะเพศ


เวลา ๑๔:๐๐ น.
          พระปริยัติสีมาภรณ์ : เลขานุการเจ้าคณะอำเภอเมือง  บรรยายเรื่อง “งานสารบัญ” (ต่อ)
                - การออกหนังสือของเจ้าอาวาสต้องมีสำเนาคู่ฉบับ
                - หนังสือเข้า หนังสือออก หากรวมเล่มกัน หนังสือเข้า ให้เขียนด้วยปากกาสีแดง ส่วนหนังสือออก ให้เขียนด้วยปากกาสีน้ำเงิน


          พระธรรมวรนายก : เจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา บรรยายเรื่อง “ทบทวนการคณะสงฆ์

          การคณะสงฆ์ มี ๓ การ คือ ๑.การวัด ๒.การคณะสงฆ์ ๓.การพระศาสนา
          ๑. การวัด โดยความรับผิดชอบของเจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาส กรรมการวัดที่ดำรงตำแหน่งไวยาวัจกรของวัด

          ๒. การคณะสงฆ์
               กฎมหาเถรสมาคม มี ๒๘ ฉบับ บางฉบับถูกยกเลิก บางฉบับออกเพิ่มเติม
               กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ.๒๕๓๕) ว่าด้วยระเบียบการประชุมมหาเถรสมาคม
               กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๔ (พ.ศ.๒๕๓๕) ว่าด้วยจำนวนและเขตปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาค
               กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๗ (พ.ศ.๒๕๓๖) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระอุปัชฌาย์
               กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๘ (พ.ศ.๒๕๓๖) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนไวยาวัจกร
               กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๙ (พ.ศ.๒๕๓๖) ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส
               กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๐ ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส (แก้ไขเพิ่มเติม)
               กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๑ (พ.ศ.๒๕๓๘) ว่าด้วยการให้พระภิกษุสละสมณเพศ
               กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๒ (พ.ศ.๒๕๓๙) ว่าด้วยจำนวนและเขตปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาค
               กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๓ (พ.ศ.๒๕๔๑) ว่าด้วยระเบียบการปกครองคณะสงฆ์
               กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๔ (พ.ศ.๒๕๔๑) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการ
               กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๕ ว่าด้วยการโอนอำนาจหน้าที่กรมการศาสนามาเป็นอำนาจหน้าที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
               กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๖ (พ.ศ.๒๕๓๖) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระอุปัชฌาย์
               กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๗ (พ.ศ.๒๕๔๖) ว่าด้วยระเบียบการปกครองคณะสงฆ์
               กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๘ (พ.ศ.๒๕๔๖) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการ (เพิ่มเติม)

               กฎกระทรวง
               กฎกระทรวงฉบับที่ ๑ (พ.ศ.๒๕๐๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ การสร้างวัด การตั้งวัด การรวมวัด การย้ายวัด การยุบเลิกวัด การขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมา
               กฎกระทรวงฉบับที่ ๒ (พ.ศ.๒๕๑๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ ว่าด้วย ศาสนาสมบัติวัด
               กฎกระทรวงฉบับที่ ๓ (พ.ศ.๒๕๒๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ ว่าด้วย ศาสนาสมบัติวัด
                กฎกระทรวงฉบับที่ ๔ (พ.ศ.๒๕๓๖) ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕  คณะสงฆ์ และคณะสงฆ์อื่น
                กฎกระทรวง ฉบับที่ ๕ (พ.ศ.๒๕๓๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการยกวัดร้างขึ้นเป็นวัดมีภิกษุอยู่จำพรรษา

          ๓. การพระศาสนา
          สรุปการทบทวนการคณะสงฆ์ ด้วยเรื่องอำนาจ และหน้าที่ของเจ้าอาวาส

          เจ้าอาวาสมีหน้าที่ ดังนี้
               ๑. บำรุงรักษาวัด จัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี
               ๒. ปกครองและสอดส่องให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ที่มีที่อยู่ หรือพำนักอาศัยอยู่ในวัดนั้น ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบ หรือ คำสั่งของมหาเถรสมาคม
               ๓. เป็นธุระในการศึกษาอบรมและสั่งสอนพระธรรมวินัยแก่บรรพชิตและคฤหัสถ์
               ๔. ให้ความสะดวกตามสมควรในการบำเพ็ญกุศล
          เจ้าอาวาสมีอำนาจ ดังนี้
               ๑. ห้ามบรรพชิตและคฤหัสถ์ ซึ่งมิได้รับอนุญาตของเจ้าอาวาสเข้าไปอยู่อาศัยในวัด
               ๒. สั่งให้บรรพชิตหรือคฤหัสถ์ ซึ่งไม่อยู่ในโอวาทของเจ้าอาวาสออกไปเสียจากวัด
               ๓. สั่งให้บรรพชิตหรือคฤหัสถ์ ที่มีที่อยู่หรือพำนักอาศัยในวัด ทำงานภายในวัด หรือให้ทำทัณฑ์บนหรือให้ขอขมาโทษ ในเมื่อบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ในวัดนั้น ประพฤติผิดคำสั่งเจ้าอาวาสซึ่งได้สั่งโดยชอบด้วยพระธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งของมหาเถรสมาคม


เวลา ๑๖:๐๐ น.   ปิดการประชุม เสร็จพิธี



พิธีกรดำเนินการประชุม
          พระปริยัติสีมาภรณ์ : เลขานุการเจ้าคณะอำเภอเมือง







-----------------------
S-HaTCoRE : ถ่ายภาพ
S-HaTCoRE : รายงาน

0 ความคิดเห็น:

  © ขอขอบคุณ Blogger template 'Ultimatum' by s-hatcore ๒๕๕๐ : s-hatcore

กลับขึ้นข้างบน : Back to TOP