วันศุกร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2554

โครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนเฉลิมพระเกียรติ [วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๔]

ตารางกิจกรรมประจำวัน
สามเณรภาคฤดูร้อนเฉลิมพระเกียรติ รุ่นที่ ๒๘

๑-๑๑ เมษายน ๒๕๕๔
วัดหนองหว้า ตำบลด่านคล้า อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
**********


วันศุกร์ ที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๔

----------------------------------------------------------------------------------------------------------
เวลา                            กิจกรรม                               วิทยากร                     หมายเหตุ
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
๐๔:๐๐ น. –๐๕:๐๐ น.    ตื่นนอน / นุ่งห่มผ้า                 พระบัวลอง  
๐๕:๐๐ น. – ๐๖:๐๐ น.   สวดมนต์ทำวัตรเช้า                 พระเสนาะ  
๐๖:๐๐ น. – ๐๖: ๓๐ น.  ฉันข้าวต้ม (..รองท้องไปก่อน)   โยม..........   
๐๗:๐๐ น. -                  ออกรับบิณฑบาต                    พระวิทยากรทุกรูป    (หมู่ ๑, ๔, ๗, ๑๐)
๑๑:๐๐ น. – ๑๒:๐๐ น.    ฉันเพล                                พระเด่นชัย / พระวุฒิชัย 
๑๒:๐๐ น. – ๑๓:๐๐ น.    พักผ่อน/นอนหลับ/ดูหนัง/ฟัง..  พระธีรสิทธิ์  
๑๓:๐๐ น. – ๑๔:๐๐ น.   นันทนาการ                           พระด่นชัย/พระธีรสิทธิ์
                                      เจริญกรรมฐาน (ยืน / นั่ง)         พระบัวลอง/  
๑๔:๐๐ น. – ๑๕:๓๐ น.   ธรรมะ / ศาสนพิธี                   พระเสนาะ/วิทยากรรับเชิญ  
                                       ฉันน้ำปานะ                          พระวุฒิชัย  
๑๖:๐๐ น. – ๑๗:๐๐ น.    สรงน้ำ / นุ่งห่มผ้า                   พระวิทยากรทุกรูป   
๑๗:๐๐ น – ๑๘:๐๐ น.    เดินจงกรม ...ชมวิว                 พระเด่นชัย/พระธีรสิทธิ์   
๑๘:๐๐ น. – ๑๙:๐๐ น.    สวดมนต์ทำวัตรเย็น                พระเสนาะ  
๒๐:๐๐ น.                     เข้าร่วมสถานที่ปฏิบัติธรรม        ทุกรูป   
๒๑:๐๐ น. -                   ผักผ่อน...นอนหลับ                 พระวุฒิชัย/พระธีรสิทธิ์   

หมายเหตุ
     เวลา / กิจกรรม    เปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม



------------------
กิจกรรมประจำวัน
------------------
ทำวัตรเช้า





บิณบาตร
     บิณฑบาตที่ บ้านหัวบึง หมู่ ๔


     บิณฑบาตที่ บ้านหนองกระทุ่ม หมู่ ๑๐


     บิณฑบาตที่ บ้านด่านคนคบ หมู่ ๗


     บิณฑบาตที่ บ้านด่าน หมู่ ๑



กิจกรรมห่มผ้า





ภาคบ่าย
     ธรรมะ / ศาสนพิธี : พระเสนาะ  อนาลโย

     ชี้แจงกฎของสามเณร
          ศีล ๑๐ มีดังนี้
          ๑. เว้นจากทำลายชีวิต
          ๒. เว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ให้
          ๓. เว้นจากประพฤติผิดพรหมจรรย์ คือเว้นจากร่วมประเวณี
          ๔. เว้นจากพูดเท็จ
          ๕. เว้นจากของเมา คือ สุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
          ๖. เว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือเที่ยงแล้วไป
          ๗. เว้นจากฟ้อนรำ ขับร้อง ฯลฯ
          ๘. เว้นจากการทัดทรงดอกไม้ ฯลฯ
          ๙. เว้นจากที่นอนอันสูงใหญ่ ฯลฯ
        ๑๐. เว้นจากการรับทองและเงิน

     อาราธนาศีล ๑๐
     (ถ้าคนเดียวเปลี่ยนจากคำว่า "มะยัง" เป็น "อะหัง" และ "ยาจามะ" เป็น "ยาจามิ")
     มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ ทะสะ สีลานิ ยาจามะ (ว่า ๓ ครั้ง)  ข้าแต่ ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอสมาทานศีล 8 พร้อมด้วยไตรสรณคมน์ เพื่อประโยชน์แห่งการรักษา เป็นข้อ ๆ

     คำสมาทาน ว่า
     ปาณาติปาตา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ (ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเองและไม่ใช่ให้ผู้อื่นฆ่า)
     อทินนาทานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ (ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการลัก ,ฉ้อ ของผู้อื่นด้วยตนเอง และไม่ใช่ให้ผู้อื่นลัก ฉ้อ)
     อพฺรหฺมจริยา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ (ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากอสัทธรรม กรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์)
     มุสาวาทา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ (ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการพูดเท็จ คำไม่เป็นจริง และคำล่อลวง อำพรางผู้อื่น)
     สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ (ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการดื่มสุรา เมรัย เครื่องดองของทำใจให้คลั่งไคล้ต่าง ๆ )
     วิกาลโภชนา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ (ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล)
     นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺสนา มาลาคนฺธวิเลปนธารณมณฺฑนวิภูสนฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ (ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากพูด ฟัง ฟ้อนรำ ขับรอ้งและประโคมเครื่องดนตรีต่าง ๆ และดูการเล่นที่เป็นข้าศึกแก่กุศล)
     มาลาคนฺธวิเลปน ธารณมณฺฑนวิภูสนฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ (ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการทัดทรงดอก การใช้ของหอมเครื่องประทินผิว)
     อุจฺจาสยนมหาสยนา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ (ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากนั่ง นอน เหนือเตียง ตั่ง มีเท้าสูงเกินประมาณ และที่นั่ง ที่นอนอันสูงใหญ่ ภายในใส่นุ่นและสำลี อาสนะอันวิจิตรไปด้วยลดลายงามด้วยเงินทองต่าง ๆ)
     ชาตรูปรชตปฏิคฺคหณา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ (ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการรับเงินทอง)
     อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ (ว่า ๓ ครั้ง)



     เดินจงกรม / เจริญสมาธิ : พระเด่นชัย  สุภาจาโร / พระธีรสิทธิ์  ธีรสทฺโธ
          คำบอกกล่าวเบื้องต้น
          ประโยชน์ของการฝึกสมาธิภาวนา ตามหลักศาสนาพุทธที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำไว้แบ่งออกเป็น ๔ ระดับ คือ
          ๑. สมาธิภาวนาที่เป็นไปเพื่อความสุขในปัจจุบัน หรือเพื่อพักผ่อนจิต (ทิฏฐธรรมสุขวิหาร)
          ๒. สมาธิภาวนาเพื่อการได้ญาณทัสสนะ  คือการได้ญาณวิเศษเช่นมีหูทิพย์ ตาทิพย์เป็นต้น ยังถือเป็นขั้นต้นเท่านั้น
          ๓. สมาธิภาวนาเพื่อสติและสัมปชัญญะ คือเพื่อให้มีสติรู้ตัวอยู่ตลอดว่าถูกต้องหรือไม่ ทำอะไรด้วยความรอบคอบและยั้งคิด
          ๔. สมาธิภาวนาเพื่อความสิ้นไปซึ่งอาสวะ นั่นก็คือดับกิเลสทั้งปวงได้หมด เพื่อบรรลุนิพพาน

          ประโยชน์ของการฝึกสมาธิภาวนา (ในภาษาชาวบ้าน)
          ที่เห็นได้ชัดเจนในระดับแรกคือ ทำให้จิตใจที่เคยว้าวุ่น กลับมาเป็นสงบเยือกเย็น คนที่เคยเอาแต่ใจตัวเองเป็นคนอารมณ์ร้อนฉุนเฉียวมาก่อน ก็ทำให้เป็นคนหนักแน่นมีเหตุผลมากขึ้น ไม่โกรธง่ายและรู้จักระงับอารมณ์ได้เป็นอย่างดี ทั้งยังมีจิตใจงาม ยังผลให้สภาพจิตโดยทั่วไปมีแต่ความปลอดโปร่ง ผ่องใส และบ่งบอกได้จากใบหน้าที่อิ่มเอิบ หรือจะว่าแก่ช้าลงก็ไม่ว่า เพราะว่าการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย ดำเนินไปด้วยความมีระเบียบและทำงานช้าลง นั่นก็คือคนที่ฝึกสมาธิภาวนา จะมีผลพลอยได้ทำให้แลดูอ่อนกว่าไว
          ในระดับที่ดีขึ้นมาอีกนิดหนึ่งก็คือ ช่วยรักษาโรคภายในกายเราได้ และทำให้ร่างกายเราแข็งแรง เพราะการที่สภาพจิตที่ผ่านการฝึกสมาธิ จะทำให้กระแสคลื่นความถี่ในสมองมีระเบียบ ไม่กระจัดกระจาย เมื่อมีระเบียบก็มีพลังงานที่แรงกว่าคนปกติ ทำให้การใช้ความคิดในเรื่องใดๆ ก็ตาม สามารถขบปัญหาได้แตกและว่องไว  ส่วนด้านการเดินพลังงานในจักรตามจุดต่างๆ ของร่างกายก็เป็นการทำให้อวัยวะต่างๆ ทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ไม่บกพร่อง สุขภาพกายก็แข็งแรง โรคภัยก็ไม่ค่อยเบียดเบียน
          ในระดับที่สูงขึ้นไปก็คือ ทำให้ล่วงรู้ในอดีต อนาคต และเห็นความเป็นไปของสิ่งต่างๆ ซึ่งทั้งนี้ก็ต้องแล้วแต่ความบริสุทธิ์ของระดับสมาธิภาวนา ที่เป็นเช่นนี้เพราะจิตเรานิ่งและว่าง สามารถใช้พลังของจิตเพ่งกำหนดรู้ไปที่เรื่องใดเรื่องหนึ่ง จะได้คำตอบในเรื่องนั้นๆเอง ไม่ว่าจะเป็นการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน หรือเพื่อความหลุดพ้นก็ตาม และนั่นก็คือเป็นการขัดเกลากิเลส และทำให้เกิดปัญญาที่แท้จริงเข้าใจต่อสภาพของสิ่งต่างๆ  ก่อนที่จะก้าวเข้าไปสู่ขั้นสูงสุด
          ในระดับที่สูงที่สุดก็คือ ช่วยเพิ่มบุญ หรือเรียกว่าเป็นการสั่งสมกรรมดีให้มีกระแสเพิ่มขึ้นในตัวเราเอง กรรมดีนี้จะส่งผลแรงได้มากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับระดับของการทำสมาธิ ความจริงบุญที่เกิดจากสมาธินี้แม้ในระดับต้นๆ ที่จิตสงบก็เรียกว่าได้บุญแล้ว และกรรมดีนี่เองที่จะช่วยลดทอนแรงแห่งกระแสกรรมชั่วที่เราได้เคยทำไว้ในอดีตให้มีอำนาจน้อยลง หรือตามให้ผลไม่ทัน เพราะอำนาจกรรมดีที่เพิ่มขึ้นจะคอยเติมให้อยู่เสมอ  แต่ถ้าทำได้จนถึงขั้นสูงสุดเรียกว่าบรรลุนิพพาน ก็คือหลุดพ้นจากอำนาจแห่งกรรมได้ ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป












     การฝึกกรรมฐานนั้นมี ๒ อย่างคือ
          ๑.สมถกรรมฐาน คือการใช้อารมณ์เป็นที่ตั้งเพื่อฝึกกำหนดจิตให้เกิดความสงบ เป็นสมาธิ
          ๒.วิปัสสนากรรมฐาน คือการใช้อารมณ์เป็นที่ตั้งในการกำหนดจิต เพื่อการเจริญภาวนาตามหลักไตรลักษณ์เพื่อเข้าสู่มรรค ผล และนิพพาน
          ในบางแห่งมีเรียกว่าอารักขกรรมฐาน หรือแปลว่ากรรมฐานที่เป็นเครื่องรักษาตัว ซึ่งก็ใช้หลักการเจริญกรรมฐานเช่นเดียวกัน เช่นการใช้พุทธานุสสติ หรือมรณะสติเป็นต้น
          ทั้งสองอย่างนี้เกือบจะเป็นอย่างเดียวกัน ต่างกันก็ตรงที่ระดับของสมาธิที่เรียกว่าได้ฌาน ถ้าหากว่าได้ฌานในระดับขณิกสมาธิ คือความรู้สึกโล่งสบาย สงบ สืมตัวชั่วขณะ หากประคองความสงบนิ่งต่อไปก็จะได้จนถึงระดับ อุปจารสมาธิ ซึ่งจะนานกว่าขั้นแรก

     ความหมายที่เกี่ยวกับสมาธิภาวนาโดยทั่วไป
          ความหมายของสมาธิ หมายถึง การมีจิตแน่วแน่อยู่กับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งจนหยุดนิ่ง และมีใจจดจ่ออยู่กับสิ่งนั้น
          ความหมายของกรรมฐาน หมายถึง สิ่งที่ใช้เป็นอุบายในการกำหนดจิต เพื่อพิจารณา เจริญภาวนา เป็นเหมือนอุปกรณ์ในการฝึกอบรมจิต (บางตำราเรียก กัมมัฏฐานก็ใช้ได้เหมือนกัน) ในทางพระพุทธศาสนามีกรรมฐานทั้งสิ้น ๔๐ กอง
          ความหมายของวิปัสสนา หมายถึง การพิจารณาสังขารตามหลักไตรลักษณ์  (ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา) นั่นเอง
          ในความเป็นจริงจะใช้สลับกันค่อนข้างมาก โดยความหมายไม่ต่างกันมากนัก เช่นวิปัสสนาสมาธิ หรือ วิปัสสนาภาวนาก็ได้ มีความหมายเดียวกันว่าคือการฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความรู้แจ้งตามความเป็นจริง หรือการเจริญปัญญานั่นเอง




วิทยากรประจำวัน
     พระเสนาะ  อนาลโย
     พระสำรวม  ภทฺทจารี
     พระเด่นชัย  สุภาจาโร
     พระวุฒิชัย  ถาวโร
     พระจักรกฤษณ์  ธมฺมทินฺโน
     พระธีรสิทธิ์  ธีรสทฺโธ



---------------
รายงายจากวัดหนองหว้า
     อ้อ, จ๊อด : ถ่ายภาพ
     S-HaTCoRE : รายงาน

0 ความคิดเห็น:

  © ขอขอบคุณ Blogger template 'Ultimatum' by s-hatcore ๒๕๕๐ : s-hatcore

กลับขึ้นข้างบน : Back to TOP