วันเสาร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2554

โครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนเฉลิมพระเกียรติ [วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๔]

ตารางกิจกรรมประจำวัน
สามเณรภาคฤดูร้อนเฉลิมพระเกียรติ รุ่นที่ ๒๘

๑-๑๑ เมษายน ๒๕๕๔
วัดหนองหว้า ตำบลด่านคล้า อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
**********


วันเสาร์ ที่ ๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๔

----------------------------------------------------------------------------------------------------------
เวลา                            กิจกรรม                               วิทยากร                     หมายเหตุ
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
๐๔:๐๐ น. –๐๕:๐๐ น.    ตื่นนอน / นุ่งห่มผ้า                 พระบัวลอง  
๐๕:๐๐ น. – ๐๖:๐๐ น.   สวดมนต์ทำวัตรเช้า                 พระเสนาะ  
๐๖:๐๐ น. – ๐๖: ๓๐ น.  ฉันข้าวต้ม (..รองท้องไปก่อน)   โยม..........   
๐๗:๐๐ น. -                  ออกรับบิณฑบาต                    พระวิทยากรทุกรูป (ตลาดโนนสูง /คอนน้อย
๑๑:๐๐ น. – ๑๒:๐๐ น.    ฉันเพล                                พระเด่นชัย / พระวุฒิชัย 
๑๒:๐๐ น. – ๑๓:๐๐ น.    พักผ่อน/นอนหลับ/ดูหนัง/ฟัง..  พระธีรสิทธิ์  
๑๓:๐๐ น. – ๑๔:๐๐ น.   นันทนาการ                           พระด่นชัย/พระธีรสิทธิ์
                                      เจริญกรรมฐาน (ยืน / นั่ง)         พระบัวลอง/  
๑๔:๐๐ น. – ๑๕:๓๐ น.   ธรรมะ / ศาสนพิธี                   พระเสนาะ/วิทยากรรับเชิญ  
                                       ฉันน้ำปานะ                          พระวุฒิชัย  
๑๖:๐๐ น. – ๑๗:๐๐ น.    สรงน้ำ / นุ่งห่มผ้า                   พระวิทยากรทุกรูป   
๑๗:๐๐ น – ๑๘:๐๐ น.    เดินจงกรม ...ชมวิว                 พระเด่นชัย/พระธีรสิทธิ์   
๑๘:๐๐ น. – ๑๙:๐๐ น.    สวดมนต์ทำวัตรเย็น                พระเสนาะ  
๒๐:๐๐ น.                     เข้าร่วมสถานที่ปฏิบัติธรรม        ทุกรูป   
๒๑:๐๐ น. -                   ผักผ่อน...นอนหลับ                 พระวุฒิชัย/พระธีรสิทธิ์   
----------------------------------------------------------------------------------------------------------

หมายเหตุ
     เวลา / กิจกรรม    เปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม


------------------
กิจกรรมประจำวัน
------------------

ทำวัตรเช้า
      พระเสนาะ  อนาลโย



ธรรมะประจำวัน
          โอวาทปาติโมกข์ อันถือเป็นข้อธรรมที่เป็นประธานของคำสอนทั้งหลาย ของพระพุทธศาสนา ๓ ประการได้แก่
          ๑.ไม่ทำความชั่วทั้งปวง
          ๒.ทำความดีให้ถึงพร้อม
          ๓.ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส

          (ส่วนนี้เพิ่มเติม)
          โอวาทปาติโมกข์ เป็นหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา เป็น "ปาติโมกข์" ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงตลอดปฐมโพธิกาล คือ ๒๐ พรรษาแรก เฉพาะครั้งแรกในวันเพ็ญเดือนมาฆะ (วันเพ็ญเดือน ๓) หลังจากตรัสรู้แล้ว ๙ เดือน เป็นการแสดงปาติโมกข์ที่ประกอบด้วยองค์ ๔ เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต ซึ่งมีเพียงครั้งเดียวในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งๆ (อรรถกถาแสดงไว้ว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดง "โอวาทปาติโมกข์" นี้ ด้วยพระองค์เอง ท่ามกลางที่ประชุมสงฆ์ตลอด ๒๐ พรรษาแรก หลังจากนั้นทรงบัญญัติให้พระสงฆ์แสดง "อาณาปาติโมกข์" แทน)

     คาถาโอวาทปาฏิโมกข์และคำแปล
          ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา
     นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
     น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
     สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโตฯ
          ขันติ คือความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง
     พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า นิพพานเป็นบรมธรรม
     ผู้ทำร้ายคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต
     ผู้เบียดเบียนคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ

          สพฺพปาปสฺส อกรณํ
     กุสลสฺสูปสมฺปทา
     สจิตฺตปริโยทปนํ
     เอตํ พุทฺธานสาสนํฯ
          การไม่ทำความชั่วทั้งปวง
     การบำเพ็ญแต่ความดี
     การทำจิตของตนให้ผ่องใส
     นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

          อนูปวาโท อนูปฆาโต
     ปาติโมกฺเข จ สํวโร
     มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ
     ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
     อธิจิตฺเต จ อาโยโค
     เอตํ พุทฺธาน สาสนํฯ
          การไม่กล่าวร้าย, การไม่ทำร้าย
     ความสำรวมในปาฏิโมกข์
     ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร
     ที่นั่งนอนอันสงัด
     ความเพียรในอธิจิต
     นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

     ความหมายของโอวาทปาฏิโมกข์
          โอวาทปาฏิโมกข์มักถูกกล่าวถึงในแง่หลักธรรม ๓ อย่างเดียวว่าเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา อย่างไรก็ตามพระพุทธพจน์ ๓ คาถากึ่ง อาจสรุปใจความได้เป็นสามส่วน คือ หลักการ ๓ อุดมการณ์ ๔ และวิธีการ ๖ ดังนี้
          พระพุทธพจน์คาถาแรก ทรงกล่าวถึงอุดมการณ์อันสูงสุดของพระภิกษุและบรรพชิตในพระพุทธศาสนานี้ อันมีลักษณะที่แตกต่างจากศาสนาอื่น อันอาจเรียกได้ว่า อุดมการณ์ ๓ ของพระพุทธศาสนา ได้แก่
          ความอดทนอดกลั้นเป็นสิ่งที่นักบวชในศาสนานี้พึงยึดถือและเป็นสิ่งที่ต้องใช้เมื่อประสบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจทุกอย่างที่ต้องเจอในชีวิตนักบวช เช่น ประสงค์ร้อนได้เย็น ประสงค์เย็นได้ร้อน
          การมุ่งให้ถึงพระนิพพานเป็นเป้าหมายหลักของผู้ออกบวช มิใช่สิ่งอื่นนอกจากพระนิพพาน
          พระภิกษุและบรรพชิตในพระธรรมวินัยนี้(เช่นภิกษุณี สามเณร สามเณรี สิกขมานา)ไม่พึงทำผู้อื่นให้ลำบากด้วยการทำความทุกข์กายหรือทุกข์ทางใจไม่ว่าจะในกรณีใดๆ
          พระภิกษุตลอดจนบรรพชิตในพระธรรมวินัยนี้ต้องขอแก่ทายกด้วยอาการที่ไม่เบียดเบียน( คือการไม่เอ่ยปากเซ้าซี้ขอและไม่ใช้ปัจจัยสี่อย่างฟุ่มเฟือยจนเดือดร้อนทายก)

          พระพุทธพจน์คาถาที่สอง ทรงกล่าวถึง "หลักการอันเป็นหัวใจสำคัญเพื่อเข้าถึงจุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนาแก่พุทธบริษัททั้งปวงโดยย่อ" หรือ หลักการ ๓ กล่าวกันเป็นเป็นการสรุปรวบยอดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาอันเป็นแนวทางที่พุทธบริษัทพึงปฏิบัติ ได้แก่
          การไม่ทำบาปทั้งปวง
          การทำกุศลให้ถึงพร้อม
          การทำจิตใจให้บริสุทธิ์
          มีผู้อธิบายว่าทั้งสามข้อนี้อาจอนุมานเข้ากับ ศีล สมาธิ และปัญญา [สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ). คัมภีร์วิสุทธิมรรค พระพุทธโฆสเถระ รจนา. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์ธนาเพรส. ๒๕๕๑]

          พระพุทธพจน์คาถาที่สาม  หมายถึงวิธีการที่ธรรมทูตผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนาถือเป็นกลยุทธ พระภิกษุที่ออกเผยแผ่พระพุทธศาสนาซึ่งมีเป็นจำนวนมากให้ใช้วิธีการเหมือนกันเพื่อจะได้เป็นไปในแนวทางเดียวกันและถูกต้องเป็นธรรม ได้แก่ วิธีการทั้ง ๖
          การไม่กล่าวร้าย (เผยแผ่ศาสนาด้วยการไม่กล่าวร้ายโจมตีดูถูกความเชื่อผู้อื่น)
          การไม่ทำร้าย (เผยแผ่ศาสนาด้วยการไม่ใช้กำลังบังคับข่มขู่ด้วยวิธีการต่างๆ)
          ความสำรวมในปาฏิโมกข์ (รักษาความประพฤติให้น่าเลื่อมใส)
          ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร (เสพปัจจัยสี่อย่างรู้ประมาณพอเพียง)
          ที่นั่งนอนอันสงัด (สันโดษไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ)
          ความเพียรในอธิจิต (พัฒนาจิตใจเสมอมิใช่ว่าเอาแต่สอนแต่ตนเองไม่กระทำตามที่สอน)
         


บิณบาตร
     บิณฑบาตที่ ตลาดโนนสูง
 
     บิณฑบาตที่ บ้านคอนน้อย หมู่ ๙



กิจกรรมห่มผ้า
      พระธีรสิทธิ์  ธีรสทฺโธ




ภาคบ่าย
ธรรมะ / ศาสนพิธี : พระเสนาะ  อนาลโย


     ๑. คำบูชาพระรัตนตรัย
          อิมินา    สักกาเรนะ    พุทธัง    ปูเชมิ.
          อิมินา    สักกาเรนะ    ธัมมัง    ปูเชมิ.
          อิมินา    สักกาเรนะ    สังฆัง    ปูเชมิ.

     ๒. คำกราบพระรัตนตรัย
          อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ. (กราบ…พุทโธ เม นาโถ)
          สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมัง นะมัสสามิ.  (กราบ …ธัมโม เม นาโถ)
          สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ.  (กราบ…สังโฆ เม นาโถ)

     ๓. คำอาราธนาศีล
                        มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ.
          ทุติยัมปิ    มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ.
          ตะติยัมปิ   มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ.
                     หมายเหตุ : คนเดียวใช้  (อะหัง แทน มะยังยาจามิ แทน ยาจามะ)




เดินจงกรม / เจริญสมาธิ  : พระเด่นชัย  สุภาจาโร / พระธีรสิทธิ์  ธีรสทฺโธ


     การเจริญสมาธิภาวนาท่านแบ่งออกเป็น ๒ อย่างหลักๆ กล่าวคือ (ภาวนา ๒)
          ๑.สมถภาวนา คือ การฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบ มีสมาธิเพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีความสุขในเบื้องต้น
          ๒.วิปัสสนาภาวนา คือ การฝึกอบรมจิตให้เกิดปัญญาและรู้แจ้งในความเป็นไปของสภาวะต่างๆในโลก

     ความหมายในทางพุทธและประเภทของภาวนาที่เกี่ยวกับการฝึก (ภาวนา ๔)
          ความหมายในทางพุทธศานาของภาวนาคือ การทำให้เจริญ การฝึกหรือพัฒนาให้เจริญขึ้น ในทางพระพุทธศาสนาแบ่งการภาวนาออกเป็นดังนี้คือ
          ๑.กายภาวนา คือการฝึกฝนอินทรีย์ทั้ง ๕ ให้เป็นไปในทางกุศล ในทางที่ดี
          ๒.สีลภาวนา คือการประพฤติอยู่ในศีลธรรม ระเบียบวินัย
          ๓.จิตตภาวนา คือการพัฒนาจิตให้เจริญด้วยคุณธรรมทั้งปวง
          ๔.ปัญญาภาวนา คือการเจริญปัญญาให้รู้แจ้งในสภาวะของสิ่งต่างๆ

     การเจริญภาวนา แบบกรรมฐานจะแบ่งการฝึกสมาธิออกเป็นขั้นต่างๆ ๓ ขั้น(ภาวนา ๓) ดังนี้คือ
          ๑.บริกรรมภาวนา เป็นขั้นตอนแรกในการฝึกจิตให้มีสมาธิโดยกำหนดใช้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นอารมณ์กรรมฐาน เช่นการระลึกถึงพุทธคุณเป็นต้น หรือกองใดกองหนึ่งใน กรรมฐาน ๔๐
          ๒.อุปจารภาวนา ความหมายทางตรงของคำนี้ แปลว่าจวนเจียน ความหมายโดยนัยก็คือสมาธิขั้นจวนเจียนหรือเกือบจะสงบนิ่งดีแล้ว เป็นขั้นตอนที่ได้หลังจากการกำหนดจิตในขั้นแรกเป็นอารมณ์กรรมฐาน แล้วเกิดความสงบตัดจากอารมณ์*นิวรณ์ได้ (อารมณ์ของกามฉันทะ การคิดร้าย ความหดหู่ ฟุ้งซ่าน สงสัย)
          ๓.อัปปนาภาวนา หมายความว่าขั้นแน่วแน่ กล่าวคือ เมื่อผ่านสองขั้นต้นมาแล้ว นิมิตที่เกิดขึ้นนั้นจะสม่ำเสมอไม่ขาดตอนด้วยอุปจารสมาธิ ประคองความสงบนิ่งและอารมณ์ของจิตได้ไปจนถึงขั้นปฐมฌานอันถือว่าได้บรรลุการเจริญภาวนาขั้นต้นแล้ว





วิทยากรประจำวัน
     พระเสนาะ  อนาลโย
     พระสำรวม  ภทฺทจารี
     พระเด่นชัย  สุภาจาโร
     พระบัวลอง  วรปญฺโญ
     พระวุฒิชัย  ถาวโร
     พระธีรสิทธิ์  ธีรสทฺโธ



ขอขอบคุณ
     ร้านหนึ่งเฟอร์นิเจอร์ (คุณจุติพร - คุณอนันต์  แก้วสมนึก) ถวายน้ำเต้าหู้ตลอดงาน
     เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.โนนสูง : ถวายความสะดวกในการรับบิณฑบาต
     ผู้ใหญ่หมู่ ๙ บ้านคอนน้อย : ถวายความสะดวกในการออกรับบิณฑบาตในหมู่บ้าน

     แม่ครัวของเรา
          นายปิ่น - นางติ๋ว  เชื่อมด่านกลาง (ข้าวต้มภาคเช้า ตลอดงาน)
          นางสุภาภรณ์ / นางพวง /
          ผู่ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ ๖

     ยานพาหนะ
          นายอยู่  โลสันเทียะ : บริการตลอดวัน
          ร้อยตรีปัญญา  มั่นกลาง : ให้บริการทุกวัน ไม่เคยขาด
          กำนันทอง  ตั้งเศวตชัย : กำนันตำบลด่านคล้า
          นายสุเมธ  เลากลาง (ช่างแก้ว) : โชเฟอร์ขาแรง

     และผู้ที่ยังไม่ได้ออกนาม....Thank You



---------------
รายงายจากวัดหนองหว้า
     อ้อ, จ๊อด, ดื้อ : ถ่ายภาพ
     S-HaTCoRE : รายงาน

0 ความคิดเห็น:

  © ขอขอบคุณ Blogger template 'Ultimatum' by s-hatcore ๒๕๕๐ : s-hatcore

กลับขึ้นข้างบน : Back to TOP