วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2554

โครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนเฉลิมพระเกียรติ [วันที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๔]

ตารางกิจกรรมประจำวัน
สามเณรภาคฤดูร้อนเฉลิมพระเกียรติ รุ่นที่ ๒๘

๑-๑๑ เมษายน ๒๕๕๔
วัดหนองหว้า ตำบลด่านคล้า อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
**********


วันอาทิตย์ ที่ ๓ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๔

----------------------------------------------------------------------------------------------------------
เวลา                            กิจกรรม                               วิทยากร                     หมายเหตุ
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
๐๔:๐๐ น. –๐๕:๐๐ น.    ตื่นนอน / นุ่งห่มผ้า                 พระบัวลอง  
๐๕:๐๐ น. – ๐๖:๐๐ น.   สวดมนต์ทำวัตรเช้า                 พระเสนาะ  
๐๖:๐๐ น. – ๐๖: ๓๐ น.  ฉันข้าวต้ม (..รองท้องไปก่อน)   โยม..........   
๐๗:๐๐ น. -                  ออกรับบิณฑบาต                    พระวิทยากรทุกรูป (อ.ขามสะแกแสง)
๑๑:๐๐ น. – ๑๒:๐๐ น.    ฉันเพล                                พระเด่นชัย / พระวุฒิชัย 
๑๒:๐๐ น. – ๑๓:๐๐ น.    พักผ่อน/นอนหลับ/ดูหนัง/ฟัง..  พระธีรสิทธิ์  
๑๓:๐๐ น. – ๑๔:๐๐ น.   นันทนาการ                           พระด่นชัย/พระธีรสิทธิ์
                                      เจริญกรรมฐาน (ยืน / นั่ง)         พระบัวลอง/  
๑๔:๐๐ น. – ๑๕:๓๐ น.   ธรรมะ / ศาสนพิธี                   พระเสนาะ/วิทยากรรับเชิญ  
                                       ฉันน้ำปานะ                          พระวุฒิชัย  
๑๖:๐๐ น. – ๑๗:๐๐ น.    สรงน้ำ / นุ่งห่มผ้า                   พระวิทยากรทุกรูป   
๑๗:๐๐ น – ๑๘:๐๐ น.    เดินจงกรม ...ชมวิว                 พระเด่นชัย/พระธีรสิทธิ์   
๑๘:๐๐ น. – ๑๙:๐๐ น.    สวดมนต์ทำวัตรเย็น                พระเสนาะ  
๒๐:๐๐ น.                     เข้าร่วมสถานที่ปฏิบัติธรรม        ทุกรูป   
๒๑:๐๐ น. -                   ผักผ่อน...นอนหลับ                 พระวุฒิชัย/พระธีรสิทธิ์   
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
หมายเหตุ
     เวลา / กิจกรรม    เปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม




------------------
กิจกรรมประจำวัน
------------------

ทำวัตรเช้า
      พระเสนาะ  อนาลโย



ธรรมะประจำวัน
     ธรรมคุ้มครองโลกมี ๒ อย่างคือ
          ๑.ความละอายใจในการทำบาป (หิริ)
          ๒.ความเกรงกลัวผลของการทำชั่ว (โอตตัปปะ)

          ๑. หิริ (อ่านว่า หิ-ริ, หิ-หริ) แปลว่า ความละอายแก่ใจ ความละอายต่อบาป หิริ หมายถึงความละอายใจตัวเองต่อการทำความชั่วความผิด ต่อการประพฤติทุจริตทั้งหลายและความละอายใจตัวเองที่จะละเว้นไม่ทำความดีซึ่งควรจะทำให้เกิดมีในตน เช่นบิดามารดามีความละอายใจที่จะไม่ดูแลบุตรของตน เช่นนี้เรียกว่ามีหิริ หิริ เกิดขึ้นได้ด้วยการคิดถึงการศึกษา ฐานะ ยศศักดิ์ ชาติตระกูลของตน คิดถึงความเสียกายที่จะเกิดขึ้น รวมกับความแกล้วกล้าของจิตใจที่จะไม่ทำชั่วเช่นนั้น หิริ เป็นธรรมรักษาคุ้มครองโลก ทำให้โลกเกิดสันติ ทำให้คนเราอยู่กันอย่างสงบสุข เพราะคนที่มีหิริจะเกลียดความชั่ว และละอายที่จะทำความชั่วทั้งต่อหน้าและลับหลัง ทำให้ไม่ก่อความเดือดร้อนให้แก่โลกและสรรพสัตว์ทั้งปวง
          ๒. โอตตัปปะ (อ่านว่า โอดตับปะ) แปลว่า ความเกรงกลัว หมายถึงความสะดุ้งกลัวต่อผลของความชั่ว ต่อผลของความทุจริตที่ทำไว้ โอตตัปปะ เป็นอาการของจิตที่หวั่นไหวเมื่อจะทำความชั่ว เพราะกลัวความผิดที่จะตามให้ผลในภายหลัง เกิดขึ้นได้เพราะคิดถึงโทษหรือความทุกข์ที่จะเกิดขึ้นจากการทำชั่ว จากการประพฤติทุจริตของตน เช่น ตัวเองเองต้องเดือดร้อน เกิดความเสียหาย เสียทรัพย์สินเงินทอง เสียอิสรภาพ หรือถูกคนอื่นตำหนิติเตียน ถูกสังคมรังเกียจ เป็นต้น โอตตัปปะ เป็นธรรมคุ้มครองโลกคู่กับหิริ เพราะคนที่มีโอตตัปปะย่อมกลัวที่จำทำความผิด ทำให้งดเว้นจากการประพฤติต่างๆ ได้ อันเป็นเหตุให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข เกิดสันติภาพขึ้น

     มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “โลกปาลธมฺโม”
     บุคคลที่จงเกลียดจงชังต่อทุจริต อันนี้แหละชื่อว่า คนนั้นมีหิริโอตตัปปะ หิริโอตตัปปะนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เทวธรรม แปลว่า ธรรมของเทวดา เพราะเป็นคุณอุปถัมภ์ ผู้ประพฤติให้เป็นคนชั้นสูงในมนุษย์ และเป็นเหตุให้ไปเกิดในเทวโลก



บิณฑบาตร
     บิณฑบาตที่ตลาดบ้านขาม





ภาคบ่าย
ธรรมะ / ศาสนพิธี : พระเสนาะ  อนาลโย

          ๔. คำอาราธนาพระปริตร
          วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
          สัพพะทุกขะ วินาสายะ  ปะริตตัง พฺรูถะ มังคะลัง.
          วิปัตติปะฏิพาหายะ  สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
          สัพพะภะยะ วินาสายะ  ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง.
          วิปัตติปะฏิพาหายะ  สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
          สัพพะโรคะ วินาสายะ ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง.

          ๕. คำอาราธนาธรรม
          พรัหมา จะ โลกาธิปะตี สะหัมปะติ, กัตอัญชะลี อันธิวะรัง อะยาจะถะ, สันตีธะ, สัตตาปปะระชักขะชาติกา เทเสตุ,  ธัมมัง อะนุกัมปิมัง, ปะชัง.

          ๖. คำถวายภัตตาหาร
          นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ.  (๓ จบ)

          อิมัง สูปะพยัญชะนะสัมปันนัง สาลีนัง โอทะนัง อุทะกัง วะรัง พุทธัสสะ ปูเชมิ. (คำบูชาข้าวพระพุทธ)

          สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
          อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
          ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
          สามีจิปะฏิปันโน      ภะคะวะโต    สาวะกะสังโฆ,
          ยะทิทัง จัตตาริ, ปุริสะยุคานิ, อัฏฐะปุริสะปุคคะลา, เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อาหุเนยโย, ปาหุเนยโย, ทักขิเนยโย, อัญชะลีกะระณีโย, อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ.

          อิมานิ มะยัง ภันเต  ภัตตานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ,
          อิมานิ ภัตตานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ.
          ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ภัตตาหาร กับทั้งบริวารเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์ จงรับ ภัตตาหาร กับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนาน เทอญ.
          หมายเหตุ .  ถวายภัตตาหารเพล  (ตัดคำบูชาข้าวพระพุทธ.....ออก)



เดินจงกรม / เจริญสมาธิ  : พระเด่นชัย  สุภาจาโร / พระธีรสิทธิ์  ธีรสทฺโธ

          การฝึกสมาธิเบื้องต้น
          สมาธิคือการที่มีใจตั้งมั่นในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งอย่างแน่วแน่ กล่าวในภาษาชาวบ้านก็คือ การมีใจจดจ่ออยู่ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่านนั่นเอง
          การทำสมาธิแบบนี้ไม่ได้เน้นการเข้าถึงนิพพาน หรือความสิ้นไปของอาสวะ แต่ก็เป็นพื้นฐานที่ดีหากต้องการปฏิบัติต่อไปในขั้นสูง หากแต่มีประโยชน์ที่เห็นได้ทันทีก็ได้จากในชีวิตประจำวัน ทำให้เรามีจิตใจผ่องใส ประกอบกิจการงานได้ราบรื่นและคิดอะไรก็รวดเร็วทะลุปรุโปร่ง เพราะว่าระดับจิตใจได้ถูกฝึกมาให้มีความนิ่งดีแล้ว เมื่อมีความนิ่งเป็นสมาธิดีแล้ว ย่อมมีพลังแรงกว่าใจที่ไม่มีสมาธิ ดังนี้เมื่อจะคิดทำอะไร ก็จะทำได้ดี และได้เร็วกว่าคนปกติ ที่ไม่ได้ผ่านการฝึกสมาธิมาก่อน วิธีการทำสมาธิที่ได้ผลและเป็นที่นิยม ได้ถูกนำมากล่าวแนะนำไว้ในที่นี้แล้ว เริ่มตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน และขั้นตอนต่างๆ โดยท่านสามารถอ่านทีละหัวข้อตามลำดับดังต่อไปนี้
          ๑. การทำสมาธิสามารถทำได้ทุกขณะอิริยาบถ
          การยืน ทำโดยยืนให้ตรง วางมือขวาทับมือซ้าย คว่ำมือทั้งสอง หลับตาหรือลืมตาสุดแท้แต่จะสะดวกในการทำ แล้วเพ่งไปที่คำว่า พุทโธ จนจิตตั้งมั่นได้
          การเดิน เรียกว่าเดินจงกรม ให้กำหนดความสั้น ความยาว ของเส้นทางที่จะเดินสุดแท้แต่เราเอง ควรจะหาสถานที่ และเวลาที่เหมาะสม ไม่อึกทึกครึกโครม และไม่มีสิ่งรบกวนจากรอบข้าง นอกจากนั้นที่ที่จะเดินไม่ควรสูงๆ ต่ำๆ แต่ควรเรียบเสมอกัน เมื่อหาสถานที่และเวลาที่เหมาะสมได้แล้วก็ตั้งสติ อย่าเงยหน้าหรือก้มหน้านัก ให้สำรวมสายตาให้ทอดลงพอดี วางมือทั้งสองลงข้างหน้าทับกันเหมือนกับยืน การเดินแต่ละก้าวก็ให้จิตตั้งมั่นอยู่กับคำบริกรรมว่า พุทโธ โดยเดินอย่างสำรวม ช้าๆ ไม่เร่งรีบ กำหนดรู้ในใจ
          การนั่ง คือนั่งให้สบาย แล้วเพ่งเอาจิตไปที่การบริกรรมคำว่า พุทโธ ท่องภาวนาไว้เป็นอารมณ์ให้กำหนดรู้อยู่ในใจ
          การนอน คือให้นอนตะแคงข้างขวา เอามือขวาวางรองศีรษะ ยืดมือซ้ายไปตามตัว ไม่นอนขด นอนคว่ำ หรือนอนหงาย แล้วก็สำรวมสติตั้งมั่นด้วยการภาวนาคำว่า พุทโธ ให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว เช่นเดียวกัน

          ๒.ข้อแนะนำและการเตรียมตัวก่อนการทำสมาธิ
          ๑) การหาเวลาที่เหมาะสม เช่นไม่ใช่เวลาใกล้เที่ยงเป็นต้นจะทำให้หิวข้าว หรือทำใกล้เวลาอาหาร และไม่ทานอิ่มเกินไปเพราะจะทำให้ง่วงนอน  หรือเวลาที่คนในบ้านยังมีกิจกรรมอยู่ ยังไม่หลับเป็นต้น
          ๒) การหาสถานที่ที่เหมาะสม ไม่ใช่ที่อึกทึก นอกจากได้สมาธิในขั้นต้นแล้ว และต้องการฝึกการเข้าสมาธิในที่อึกทึก
          ๓) เสร็จจากธุระภาระกิจต่างๆ และกิจวัตรประจำวันแล้ว เช่นหลังจากอาบน้ำแล้ว ขับถ่ายเรียบร้อยแล้ว ไม่ได้มีนัดหมายกับใครแล้วเป็นต้น
          ๔) อยู่ในอาการที่สบาย คือการเลือกท่านั่งที่สบาย ท่าที่จะทำให้อยู่นิ่งๆ ได้นานโดยไม่ปวดเมื่อยและเกิดเหน็บชา อาจจะไม่ใช่การนั่งขัดสมาธิก็ได้ แต่การนั่งขัดสมาธิถ้าทำได้ถูกท่าและชินแล้ว จะเป็นท่าที่ทำให้นั่งได้นานที่สุด อย่างไรก็ตามไม่ควรอยู่ในท่าเอนหลังหรือนอน เพราะความง่วงจะเป็นอุปสรรค เมื่อร่างกายได้ขนานกับพื้นโลกจะทำให้ระบบของร่างกายพักการทำงานโดยอัตโนมัติ ทำให้ต้องใช้กำลังใจในการทำสมาธิมากกว่าการนั่ง
          ๕) ไม่ควรนึกถึงผล หรือปรารถนาในลำดับชั้นของการนั่งในแต่ละครั้ง เช่นว่าจะต้องเห็นโน่นเห็นนี่ให้ได้ในคืนนี้เป็นต้น เพราะจะเป็นการสร้างความกดดันทางใจโดยไม่รู้ตัว และเกิดความกระวนกระวายทำให้ใจไม่เกิดสมาธิ ใจไม่นิ่ง ต้องทำใจให้ว่างมากที่สุด
          ๖) ตั้งเป้าหมายในการนั่งแต่ละครั้ง เช่นตั้งใจว่าจะต้องนั่งให้ครบ ๑๕ นาทีก็ต้องทำให้ได้เป็นต้น และพยายามขยายเวลาให้นานออกไป เมื่อเริ่มฝึกไปได้สักระยะหนึ่งแล้ว เพื่อให้สมาธิได้สงบนิ่งได้นานยิ่งขึ้น
          ๗) เมื่อได้เริ่มแล้วก็ให้ทำทุกวันจนเกิดความเคยชินเป็นนิสัยติดตัว เพราะว่าการทำสมาธิต้องอาศัยความเพียรในการฝึกฝน เพื่อให้เกิดความเคยชินและชำนาญ การที่นานๆทำสักครั้ง ก็เหมือนกับการมาเริ่มต้นนับ

          ๓.การทำสมาธิโดยการนับเพื่อฝึกการควบคุมจิต
          การทำสมาธิโดยวิธีนี้นั้นมีหลักการนับอยู่หลายวิธี  และแต่ละวิธีก็ล้วนแต่มีจุดหมายเดียวกันคือ เป็นอุบายหลอกล่อให้จิตตั้งมั่นอยู่ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นเวลานานได้ ทำให้เราเรียนรู้ที่จะเป็นนายของจิต ควบคุมมันได้ วิธีนับแบบต่างๆพอกล่าวโดยย่อได้ดังต่อไปนี้คือ
          ๓.๑ นับโดยการบวกเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ
          ๓.๒ นับลมแบบอรรถกถา
          ๓.๑ การนับโดยการบวกเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ทีละหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น พอหายใจเข้าก็นับหนึ่ง พอหายใจออกก็นับสอง หายใจเข้าต่อไปก็นับสาม และหายใจออกต่อไปก็นับสี่ บวกเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆทีละหนึ่ง ตัวเลขที่นับมันก็จะไม่รู้จบ แต่ท่านอาจจะกำหนดตัวเลขจำนวนสูงสุดก็ได้ อาทิเช่นพอถึงหนึ่งร้อย ก็เริ่มนับหนึ่งใหม่เป็นต้น คงไม่ต้องยกตัวอย่าง วิธีนี้เป็นวิธีเริ่มต้นที่ง่าย และใช้สมาธิไม่มากนัก เพราะเหตุที่เราคุ้นเคยกับการนับในชีวิตประจำวันอยู่แล้วโดยอัตโนมัติ เพียงแต่เอาการนับมาควบเข้ากับจังหวะการหายใจเข้า-ออก เพื่อให้มีจิตรู้ตัวอยู่เสมอนั่นเอง
          ๓.๒ การนับลมแบบอรรถกถา เป็นวิธีของท่านพระอรรถกถาจารย์ ที่ได้นำเอาตัวเลข มาเป็นเครื่องกำหนดร่วมกับการกำหนดลมหายใจ ตามหลักคำสอนของท่านพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จากหนังสือพุทธธรรม ของพระราชวรมุนี หน้า (๘๖๕) หลักการนับแบบนี้ช่วยฝึกให้ใจมีสมาธิจดจ่อมากกว่าวิธีแรก  วิธีนับมีสองแบบ แบบแรกให้นับเป็นคู่ คือเมื่อหายใจเข้า ก็ให้นับว่า ๑ เมื่อหายใจออกให้นับว่า ๑ พอเที่ยวต่อไปหายใจเข้าให้นับว่า ๒ หายใจออกก็ให้นับว่า ๒ สรุปก็คือลมหายใจเข้าและออกถือเป็นหนึ่งครั้ง จนถึงคู่ที่ ๕ ก็ให้ตั้งต้นมานับ ๑ ไปใหม่จนถึงเลข ๖ ก็ให้มาตั้งต้นนับ ๑ ไปจนถึง ๗ ถึง ๘ ถึง ๙ และ ๑๐ แล้วตั้งต้นนับ ๑ ไปจนถึง ๕ และนับต่อไปถึง ๑๐ อีก ลองศึกษาดูที่ตารางข้างล่างนี้เพื่อทำความเข้าใจอีกครั้ง
          แบบนับเป็นคู่พร้อมกับลมหายใจ เช่น (๑-๑) หนึ่งตัวแรกคือลมหายใจครั้งที่ ๑ หนึ่งตัวที่สองคือการนับ
          เที่ยวที่ ๑ ๑-๑ ๒-๒ ๓-๓ ๔-๔ ๕-๕          
          เที่ยวที่ ๒ ๑-๑ ๒-๒ ๓-๓ ๔-๔ ๕-๕ ๖-๖
          เที่ยวที่ ๓ ๑-๑ ๒-๒ ๓-๓ ๔-๔ ๕-๕ ๖-๖ ๗-๗
          เที่ยวที่ ๔ ๑-๑ ๒-๒ ๓-๓ ๔-๔ ๕-๕ ๖-๖ ๗-๗ ๘-๘
          เที่ยวที่ ๕ ๑-๑ ๒-๒ ๓-๓ ๔-๔ ๕-๕ ๖-๖ ๗-๗ ๘-๘ ๙-๙
          เที่ยวที่ ๖ ๑-๑ ๒-๒ ๓-๓ ๔-๔ ๕-๕ ๖-๖ ๗-๗ ๘-๘ ๙-๙ ๑๐-๑๐

          อีกแบบหนึ่งคือการนับเดี่ยว นับแต่ตัวเลขอย่างเดียว ไม่ต้องคำนึงว่าเป็นลมหายใจเข้าหรือออก แต่ท่านควรจะทำแบบแรกให้คล่องเสียก่อน แล้วจึงมาลองแบบที่สองนี้ ลองศึกษาทำความเข้าใจกับตารางข้างล่างนี้สำหรับการนับเดี่ยว
          เที่ยวที่ ๑ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕
          เที่ยวที่ ๒ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖
          เที่ยวที่ ๓ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗
          เที่ยวที่ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘
          เที่ยวที่ ๕ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙
          เที่ยวที่ ๖ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐

          ทั้งสองแบบนี้ใช้วิธีการนับทวนไปทวนมา จนกระทั่งเราเกิดสมาธิ อย่างไรก็ตามขอให้ถือหลักความเพียรเข้าไว้ วันนี้ใจยังว้าวุ่นอยู่ก็ไม่เป็นไร ลองพรุ่งนี้อีกที ทำไปเรื่อยๆ จนกว่าจะสงบใจให้เชื่องอยู่ใตับังคับบัญชาของเรา และเมื่อนั้นแหละคุณภาพทางจิตและร่างกายของท่านได้ถูกพัฒนาขึ้นมาอีกระดับหนึ่งแล้ว

          เพื่อให้เข้าใจยิ่งขึ้น ให้ศึกษาดูจากตารางนี้อีกเที่ยวหนึ่ง
          เที่ยวที่ ๑ ๑-๑
          เที่ยวที่ ๒ ๑-๑ ๒-๒
          เที่ยวที่ ๓ ๑-๑ ๒-๒ ๓-๓
          เที่ยวที่ ๔ ๑-๑ ๒-๒ ๓-๓ ๔-๔
          เที่ยวที่ ๕ ๑-๑ ๒-๒ ๓-๓ ๔-๔ ๕-๕
          เที่ยวที่ ๖ ๑-๑ ๒-๒ ๓-๓ ๔-๔ ๕-๕ ๖-๖
          เที่ยวที่ ๗ ๑-๑ ๒-๒ ๓-๓ ๔-๔ ๕-๕ ๖-๖ ๗-๗
          เที่ยวที่ ๘ ๑-๑ ๒-๒ ๓-๓ ๔-๔ ๕-๕ ๖-๖ ๗-๗ ๘-๘
          เที่ยวที่ ๙ ๑-๑ ๒-๒ ๓-๓ ๔-๔ ๕-๕ ๖-๖ ๗-๗ ๘-๘ ๙-๙ 
          เที่ยวที่ ๑๐ ๑-๑ ๒-๒ ๓-๓ ๔-๔ ๕-๕ ๖-๖ ๗-๗ ๘-๘ ๙-๙ ๑๐-๑๐



วิทยากรประจำวัน
     พระเสนาะ  อนาลโย
     พระสำรวม  ภทฺทจารี
     พระเด่นชัย  สุภาจาโร
     พระบัวลอง  วรปญฺโญ
     พระวุฒิชัย  ถาวโร
     พระธีรสิทธิ์  ธีรสทฺโธ



ขอขอบคุณ
     ร้านหนึ่งเฟอร์นิเจอร์ (คุณจุติพร - คุณอนันต์  แก้วสมนึก) ถวายน้ำเต้าหู้ตลอดงาน
     เจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรอำเภอขามสะแกแสง
     เทศบาลตำบลขามสะแกแสง
   
     แม่ครัวของเรา
          นายปิ่น - นางติ๋ว  เชื่อมด่านกลาง (ข้าวต้มภาคเช้า ตลอดงาน)
          นางสุภาภรณ์ / นางพวง /
          ผู่ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ ๖

     ยานพาหนะ
          นายอยู่  โลสันเทียะ : บริการตลอดวัน
          ร้อยตรีปัญญา  มั่นกลาง : ให้บริการทุกวัน ไม่เคยขาด
          กำนันทอง  ตั้งเศวตชัย : กำนันตำบลด่านคล้า
        
     และผู้ที่ยังไม่ได้ออกนาม....Thank You



---------------
รายงายจากวัดหนองหว้า
     อ้อ, จ๊อด, ดื้อ : ถ่ายภาพ
     S-HaTCoRE : รายงาน

0 ความคิดเห็น:

  © ขอขอบคุณ Blogger template 'Ultimatum' by s-hatcore ๒๕๕๐ : s-hatcore

กลับขึ้นข้างบน : Back to TOP