วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วันแม่ ปี ๒๕๕๓

วันแม่
            วันแม่สมัยใหม่ริเริ่มโดย Anna Jarvis ใน Grafton เวสต์เวอร์จิเนีย เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่แม่และความเป็นแม่  โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายในสิ่งแวดล้อมที่เป็นครอบครัวและความสัมพันธ์ในครอบครัว ในปัจจุบันมีการเฉลิมฉลองวันแม่ในหลายพื้นที่ของโลก ซึ่งจัดขึ้นในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน
            ประเทศอื่น ๆ ก็มีการกำหนดวันแม่ไว้เช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ใช้วันอาทิตย์ที่สองของเดือนพฤษภาคม ประเทศรัสเซียใช้วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน เป็นต้น ทั้งนี้บางประเทศมีการเฉลิมฉลองในวันสตรีสากล
            ที่ญี่ปุ่น [edit] ในญี่ปุ่น ปี ๑๙๓๑ (หรือปีโชวะที่ ๖) องค์กร สตรีสูงสุดของญี่ปุ่นได้ตั้ง วันที่ ๖ มีนาคม ซึ่งเป็นวันฉลองพระราชสมภพ ของ พระราชินี คาโอรุ มาโคโตะ (Empress Kaoru Makoto) เป็น "วันแม่" ต่อมาในปี ๑๙๓๗ วันที่ ๕ พฤษภาคม (หรือปีโชวะที่ ๑๒) และได้เปลี่ยนแปลงอีกครั้งเมื่อ (ได้รับการสนับสนุนโดยคณะกรรมการกลางให้จัดตั้งวันแม่) ขึ้นใหม่ในปี ๑๙๔๙ (หรือปีโชวะที่ ๒๔) โดยมาจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่สองในเดือนพฤษภาคม ตามประเทศสหรัฐอเมริกาและอีกหลายๆประเทศ
            วันแม่แห่งชาติในประเทศไทย ปัจจุบันตรงกับวันที่ ๑๒ สิงหาคมของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยเริ่มใช้วันดังกล่าวเป็นวันแม่แห่งชาติเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๙ ก่อนหน้านั้นเคยใช้วันที่ ๑๐ มีนาคม, ๑๕ เมษายน, และ ๔ ตุลาคม
            สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันแม่คือ ดอกมะลิ ซึ่งมีสีขาว ส่งกลิ่นหอมได้ไกลและได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี โดยตีความเปรียบกับความรักบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่เสื่อมคลาย
ความเป็นมาของวันแม่แห่งชาติในประเทศไทย
            งานวันแม่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๖ ณ.สวนอัมพร โดยกระทรวงสาธารณสุข แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป เมื่อวิกฤติสงครามสงบลง หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง ต่อมาวันแม่ที่รัฐบาลรับรอง คือวันที่ ๑๕ เมษายน โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๙๓ แต่ก็ต้องหยุดลงอีกในหลายปีต่อมา เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน
            ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๕ แต่จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน โดยถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วันที่ ๑๒ สิงหาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และกำหนดให้ดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ คือ ดอกมะลิ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

รายนามแม่ดีเด่นอำเภอโนนสูง
     ๑. นางสมัย เลากลาง (แม่ดีเด่นในนามเจ้าคณะอำเภอโนนสูง) 
     ๒. นางเปรียว พาพัฒนา (แม่ดีเด่นตำบลขามเฒ่า)
     ๓. นางแสงเพ็ญ ขอดวงกลาง (แม่ดีเด่นตำบลมะค่า เขต ๒)
     ๔. นางสุดใจ จงเอื้อกลาง (แม่ดีเด่นตำบลพลสงคราม) 
     ๕. นางมี นากลาง (แม่ดีเด่นตำบลบิง) 
     ๖. นางอยู่ เรียงทองหลาง (แม่ดีเด่นตำบลใหม่) 
     ๗. นางเหรียญ กุนอก (แม่ดีเด่นตำบลหลุมข้าว) 
     ๘. นางน้อย ดูกลาง (แม่ดีเด่นตำบลโตนด) 
     ๙. นางชูศรี เสงี่ยมกลาง (แม่ดีเด่นตำบลดอนชมพู) 
     ๑๐. นางสำลี ระวังทรัพย์ (แม่ดีเด่นตำบลลำมูล) 
     ๑๑. นางสำรวย กลอนกลาง (แม่ดีเด่นตำบลจันอัด)
     ๑๒. นางจำเลย ชูใจ (แม่ดีเด่นตำบลลำคอหงษ์) 
     ๑๓. นางบุญเลี้ยง แจ้งไธสง (แม่ดีเด่นตำบลมะค่า เขต ๑) 
     ๑๔. นางอำนวย สาทกลาง (แม่ดีเด่นตำบลตลาดแค) 
     ๑๕. นางลูกจันทร์ สำลีกลาง (แม่ดีเด่นตำบลเมืองปราสาท) 
     ๑๖. นางพิน โหนกลาง (แม่ดีเด่ตำบลธารปราสาท)
     ๑๗. นางทองคำ เฮมกลาง (แม่ดีเด่นตำบลโนนสูง)
     ๑๘. นางมาก แปรงกลาง (แม่ดีเด่นตำบลดอนหวาย เขต ๒) 

          - จัดมอบประกาศเกียรติคุณ ณ อุโบสถวัดหนองหว้า ตำบลด่านคล้า อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
          - เวลา ๑๓:๐๐ น.

0 ความคิดเห็น:

  © ขอขอบคุณ Blogger template 'Ultimatum' by s-hatcore ๒๕๕๐ : s-hatcore

กลับขึ้นข้างบน : Back to TOP