วันอังคารที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2551

วิชา การจัดการสาธารณูปการ


๔๐๖ ๓๑๔ การจัดการสาธารณูปการ ๓ (๓-๐-๖)
(Monastery Compound Management)

          ศึกษาความหมายและความเป็นมาในการจัดการงานสาธารณูปการ การกำหนดส่วนพุทธาวาสสังฆาวาส
          การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตั้งแต่สมัยพุทธกาล ผังวัด กฎหมายที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดผังวัด
ระเบียบและการดำเนินการจัดการสิ่งแวดล้อมในวัด กฎระเบียบการขออนุญาตตั้งวัด
          การพัฒนาจัดแผนการจัดการสาธารณูปการ ปัญหาและแนวโน้มการจัดการงานสาธารณูปการ
*********
สอนโดย
พระสมาน สิริภทฺโท

*********


ดาวน์โหลด
เสริมสร้างศักยภาพบุคลากรและบริหารการจัดการองค์กร
แผนพัฒนาด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการ
สาธารณูปโภค (Public Utilities) และ สาธารณูปการ (Public Facilities)
ยุทธศาสตร์ สาธารณูปโภค สาธารณูปการ
แบบฟอร์มแจ้งซ่อมงานสาธารณูปการ


บันทึกการเรียน(ประจำวัน...)

๑. การบริหารแบบ POSDCORB และการบริหารเชิงพุทธ (เปรียบเทียบ)
         
๑. การวางแผนงาน (Planning) หมายถึง องค์กรควรจะกำหนดแผนงานกิจการ เพื่อให้ หมู่สมาชิก หรือบุคลากรในองค์กรมีทิศทางในการปฏิบัติงานหรือทำงานร่วมกันอย่างกลมกลืนไปในทางเดียวกัน
          ธัมมัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเหตุ คือ รู้ความจริง รู้หลักการ รู้กฎเกณฑ์ รู้กฎแห่งธรรมได้ รู้กฎเกณฑ์แห่งเหตุผล และรู้จักหลักการที่จะทำ ให้เกิดผล
         ๒. การจัดองค์การ (Organizing) คือ การจัดการโครงสร้างองค์กรให้มีสายบังคับบัญชา ที่คล่องตัว การเชื่อมสายบังคับบัญชาให้แน่นแฟ้น และมีความจงรักภักดีต่อองค์กร เพื่อสนับสนุนนโยบายของผู้บริหารในระดับสูงเป็นอย่างดี
          อัตถัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักผล หรือความมุ่งหมาย คือรู้ความหมาย รู้ความมุ่งหมาย รู้ประโยชน์ที่ประสงค์ รู้จักผลที่เกิดขึ้น สืบเนื่องจากการกระทำตามหลัก
          ๓. การบริหารงานบุคคล (Staffing) การส่งเสริมและพัฒนาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานขององค์กร
          อัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักตน คือ รู้จักเราว่าเรานั้น โดยฐานะภาวะเพศ ความรู้ ความสามารถ และคุณธรรมเป็นอย่างไร และเท่าใด แล้วประพฤติให้เหมาะสม และรู้จักที่จะปรับปรุงต่อไป
          ๔. การวินิจฉัยสั่งการ (Directing) องค์กรต้องมีการวินิจฉัยสั่งการที่รวดเร็วแม่นตรง รวมทั้งข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัย เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจของผู้บริหารองค์กร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์กร
          ปุคคลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักบุคคล คือ รู้จักความแตกต่างของบุคคลว่าโดยอัธยาศัย ความสามารถ และคุณธรรม ตลอดถึงรู้ในความสามารถของบุคคล
          ๕. การประสานงาน (Co – ordinating) เป็นการประสานงานในเชิงระบบในองค์กร หรือ นอกระบบนอกองค์กร เพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินกิจการอย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามนโยบายและวัตถุประสงค์ขององค์กร เพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ทั้งในองค์กรและนอกองค์กร
          กาลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักกาล คือ รู้กาลเวลา อันเหมาะสม และระยะเวลาในการประกอบกิจ
          ๖. การเสนอรายงาน (Reporting) องค์กรจะต้องมีการตรวจสอบข้อมูลผลการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ การรายงานข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ และเป็นข้อมูลที่เป็นมาตรฐาน เที่ยงตรง มีมาตรวัด รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาสนับสนุนข้อมูล จะทำให้การบริหารองค์กรได้อย่างแม่นตรง รวดเร็วต่อผู้บริหาร
          ปริสัญญุตา ความเป็นผู้รู้จัก ชุมชน คือ รู้กริยาที่จะประพฤติต่อชุมชนนั้น ว่าควรจะดำเนินการอย่างไร
          ๗. การจัดทำงบประมาณ (Budgeting) องค์กรควรจัดทำระบบบัญชี และงบประมาณเป็น แบบมาตรฐาน ซึ่งสามารถตรวจสอบระบบบัญชี (Balance Sheet) ได้อย่างมีระบบในการบริหารงานองค์กร
          มัตตัญญุตา ความผู้รู้จักประมาณ คือ ความพอดีในการจ่ายโภคทรัพย์ ในที่นี้หมายถึงการบริหารการเงิน


๒. การวางแผน มีกระบวนการอย่างไร? ประกอบกับธรรมใด?


๓. การบริหารเชิงพุทธประกอบด้วยอะไรบ้าง?
          
การบริหารเชิงพุทธที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ คือ หลักสัปปุริสธรรม มี ๗ ประการ ดังนี้
          ๑. ธัมมัญญุตา (Knowing the Law, Knowing the Cause) ความเป็นผู้รู้จักเหตุ คือ รู้ความจริง รู้หลักการ รู้กฎเกณฑ์ รู้กฎแห่งธรรมได้ รู้กฎเกณฑ์แห่งเหตุผล และรู้จักหลักการที่จะทำ ให้เกิดผล รวมความว่า การบริหารจัดการในองค์กร ผู้บริหารจำเป็นต้องพิจารณาข้อเท็จจริงอย่างถูกต้อง เพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์กรให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล รู้จักการวิเคราะห์ความจริงที่เกิดขึ้น ตามธรรมชาติ อันว่า “สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้น ตั้งอยู่ดับไป เป็นธรรมดา “โดยพิจารณาหลักการและเกณฑ์แห่งเหตุผลมาบริหารจัดการองค์กร
          ๒. อัตถัญญุตา (Knowing the Meaning, Knowing the Purpose) ความเป็นผู้รู้จักผล หรือความมุ่งหมาย คือรู้ความหมาย รู้ความมุ่งหมาย รู้ประโยชน์ที่ประสงค์ รู้จักผลที่เกิดขึ้น สืบเนื่องจากการกระทำตามหลัก หมายถึง การบริหารงานองค์กรให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ และรู้ถึงประโยชน์ของ องค์กรที่นำไปสู่ความมั่นคง และไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อองค์กร ในที่นี้ก็หมายถึงการมีแผนงานที่ดี การวางแผนที่วิเคราะห์ผลกระทบด้านต่าง ๆ
          ๓. อัตตัญญุตา (Knowing oneself) ความเป็นผู้รู้จักตน คือ รู้จักเราว่าเรานั้น โดยฐานะภาวะเพศ ความรู้ ความสามารถ และคุณธรรมเป็นอย่างไร และเท่าใด แล้วประพฤติให้เหมาะสม และรู้จักที่จะปรับปรุงต่อไป ในที่นี้หมายถึง รู้จักองค์กรที่เราบริหารเป็นอย่างดีว่ามีจุดด้อย จุดแข็งอย่างไร มีขีดความสามารถอย่างไร และรู้จักการปรับปรุงองค์กรให้ทันต่อเหตุการณ์ที่มีผลกระทบ รวมทั้งการบริหาร ความแตกต่างที่จะทำให้องค์กรเป็นเลิศ มีประสิทธิภาพ และมั่นคงถาวร
          ๔. มัตตัญญุตา (Moderation, knowing how to be temperate) ความผู้รู้จักประมาณ คือ ความพอดีในการจ่ายโภคทรัพย์ ในที่นี้หมายถึงการบริหารการเงิน หรือการขยายกิจการ ต้องพิจารณาให้รู้จักประมาณในความเพียงพอขององค์กร ขีดความสามารถขององค์กร ขีดความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร รวมทั้งการแข่งขั้นที่รอบคอบและรู้จักประมาณขีดความสามารถขององค์กร
          ๕. กาลัญญุตา (Knowing the Propertime) ความเป็นผู้รู้จักกาล คือ รู้กาลเวลา อันเหมาะสม และระยะเวลาในการประกอบกิจ ในที่นี้หมายถึง การบริหารจัดการ จะต้องมีความเข้าใจถึงระยะเวลาที่เหมาะสม การสร้างโอกาสขององค์กรจะต้องพิจารณาถึงสถานการณ์ในเวลานั้น ๆ ว่า ควรจะดำเนินการอย่างไร อะไรควรงด อะไรควรกระทำ เวลาใดควรขยายกิจการ หรือช่วงเวลาใดที่จะบริหารองค์กรให้ประสบผลสำเร็จต่อองค์กรมากที่สุด
          ๖. ปริสัญญุตา (Knowing the Assembly, Knowing the Society) ความเป็นผู้รู้จัก ชุมชน คือ รู้กริยาที่จะประพฤติต่อชุมชนนั้น ว่าควรจะดำเนินการอย่างไร การบริหารจัดการ จำเป็นต้อง ปฏิสัมพันธ์กับองค์กรต่าง ๆ ทั้งที่เป็นพันธมิตร และคู่แข่ง การสร้างสรร หรือการประสานงานกับชุมชน หรือกลุ่มบุคคลที่มีผลต่อองค์กร ก็คือเข้าถึง เข้าใจ และพัฒนา เป็นการบริหารจัดการที่สร้างความสัมพันธ์ด้วยเมตตา ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อชุมชน หรือสาธารณะชน จะเป็นภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร
         ๗. ปุคคลัญญุตา (Knowing the individual, Knowing the different individuals) ความเป็นผู้รู้จักบุคคล คือ รู้จักความแตกต่างของบุคคลว่าโดยอัธยาศัย ความสามารถ และคุณธรรม ตลอดถึงรู้ในความสามารถของบุคคล และใช้มอบงานที่เหมาะสมให้การบริหารจัดการในการรู้บุคคล เปรียบเสมือนการพัฒนาและบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่จะต้องมีการพัฒนา และบริหารบุคคลในองค์กรให้มีความรู้ความสามารถ และภักดีต่อองค์กร มีความสามัคคี สร้างความเป็นธรรม และเสมอภาคให้แก่ บุคลากรในองค์กร รวมถึงการทำงานเป็นหมู่คณะ การติดต่อสื่อสารกับบุคคลต่าง ๆ ด้วยความเป็นมิตรไมตรี รวมทั้งมีความจริงใจต่อกัน


๔. การทำประวัติวัดมีแนวทางอย่างไร?
     แนวทางการเขียนประวัติวัดมีลำดับดังนี้
     ๑. ชื่อวัด
     ๒. สถานที่ตั้งวัด
     ๓. ถาวรวัตถุและปูชนียสถานภายในวัด
     ๔. การบูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุ-ปูชนียสถาน
     ๕. ลำดับเจ้าอาวาส
     ๖. สถิติพระภิกษุสามเณรจำพรรษา
     ๗. สถิติการศึกษาพระปริยัติธรรม




เพิ่มเติม

หลักการบริหารจัดการวัด
     ๑. การบำรุงรักษาวัดให้เป็นไปด้วยดี
     ๒. การจัดกิจการของวัดให้เป็นไปด้วยดี
     ๓. การจัดศาสนสมบัติให้เป็นไปด้วยดี

การบำรุงรักษาวัดให้เป็นไปด้วยดี
     ๑. การทำป้ายวัด
     ๒. การทำประวัติวัด
     ๓. การทำแผนที่ที่ตั้งวัดและแผนผังของวัด
     ๔. การทำวัดให้มีหลักฐานมั่นคง
     ๕. การพัฒนาวัดให้เป็นอาราม
     ๖. การสร้างถาวรวัตถุอันเหมาะสม

สถานภาพของวัดในสังคมไทย
     ๑. เป็นโรงทาน สถานที่เทศน์ ที่สอนธรรมให้แก่ประชาชน
     ๒. เป็นโรงทีม ศาลธรรมสังเวช ที่สวดศพ เก็บศพ ฝังศพ เผาศพ
     ๓. เป็นโดรงละคร สถานที่สำหรับศิลปินพื้นบ้านแสดงศิลปะ เช่น การร้องรำทำเพลง ลิเกละครโขน หนัง ต่างๆ
     ๔. เป็นโรงพยาบาล สถานให้การปรึกษาดูแลรักษาสุขภาพพลานามัยของประชาชน
     ๕. เป็นโรงเรียน สถานที่ฝึกสอนอบรมบ่มเพาะศิลปะวิทยาการความรู้ทุกสาขา
     ๖. เป็นโรงแรม สถานที่ให้การปฏิสันถาร ต้อนรับประชาชน คนเดินทางที่จรมาแต่ถิ่นอื่น
     ๗. เป็นโรงงาน สถานฝึกปรือช่างฝีมือแรงงานต่างๆ


วัด
     มาตรา ๓๑ วัดมี ๒ อย่าง
     ๑. วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
     ๒. สำนักสงฆ์

     มาตรา ๓๒ การสร้าง การตั้ง การรวม การย้าย การยุบเลิกวัดและการขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมา ให้เป็นไปตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ในกรณียุบเลิกวัด ทรัพย์สินของวัดที่ถูกยุบเลิกให้ตกเป็นศาสนสมบัติกลาง

     มาตรา ๓๓ ที่วัดและที่ซึ่งขึ้นต่อวัด มีดังนี้
     ๑. ที่วัด คือ ที่ซึ่งตั้งวัดตลอดจนเขตของวัดนั้น
     ๒. ที่ธรณีสงฆ์ คือ ที่ซึ่งเป็นสมบัติของวัด
     ๓. ที่กัลปนา คือ ที่ซึ่งมีผู้อุทิศแต่ผลประโยชน์ให้วัดหรือพระศาสนา

     มาตรา ๓๔ ที่วัดและที่ธรณีสงฆ์จะโอนกรรมสิทธิ์ได้ ก็แต่โดยพระราชบัญญัติ และห้ามมิให้บุคคลใดยกอายุความขึ้นต่อสู่กับวัด ในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นที่วัดและที่ธรณีสงฆ์

     มาตรา ๓๕ ที่วัดและที่ธรณีสงฆ์เป็นทรัพย์สินซึ่งไม่อยู่ในความรับผิดชอบแห่งการบังคับคดี
มาตรา ๓๖ วัดหนึ่งให้มีเจ้าอาวาสรูปหนึ่งและถ้าเป็นการสมควรจะให้มีรองเจ้าอาวาสหรือผู้ช่วยเจ้าอาวาสด้วยก็ได้


เจ้าอาวาส
มาตรา ๓๗ เจ้าอาวาสมีหน้าที่ ดังนี้
     ๑. บำรุงรักษาวัด จัดกิจกรรมและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี
     ๒. ปกครองและสอดส่องให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ที่มีอยู่หรือพำนักอาศัยอยู่ในวัดนั้น ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งของมหาเถรสมาคม
     ๓. เป็นธุระในการศึกษาอบรมและสั่งสอนพระธรรมวินัยแก่บรรพชิตและคฤหัสถ์
     ๔. ให้ความสะดวกตามสมควรในการบำเพ็ญกุศล

มาตรา ๓๘ เจ้าอาวาสมีอำนาจ ดังนี้
     ๑. ห้ามบรรพชิตและคฤหัสถ์ที่มิได้รับอนุญาตของเจ้าอาวาสเข้าไปอยู่อาศัยในวัด
     ๒. สั่งให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ซึ่งไม่อยู่ในโอวาทเจ้าอาวาสออกไปเสียจากวัด
     ๓. สั่งให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ที่มีที่อยู่หรือพำนักอาศัยในวัด ทำงานภายในวัดหรือให้ทำทัณฑ์บนหรือให้ขอขมาโทษ ในเมื่อบรรพชิตและคฤหัสถ์ในวัดนั้นประพฤติผิดคำสั่งเจ้าอาวาส ซึ่งสั่งโดยชอบด้วยพระธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งของมหาเถรสมาคม



สงฆ์

วิญญาณของพระสงฆ์

     รักวัดเหมือนบ้าน
     รักงานเหมือนชีวิต
     รักลูกศิษย์เหมือนลูกหลาน
     รักชาวบ้านเหมือนญาติพี่น้อง

ทางรอดของไทยยุคปฏิรูป
     ใช้ชีวิตอยู่ภายใต้ร่มโพธิ์
     เติบโตแบบไทย
     มีวินัยในตน
     เป็นคนมีจิตสำนึก

งานการคณะสงฆ์
     ๑. การปกครอง
     ๒. การศาสนศึกษา
     ๓. การเผยแผ่
     ๔. การสาธารณูปการ (พัฒนาวัด)
     ๕. การศึกษาสงเคราะห์
     ๖. การสาธารณสงเคราะห์ (พัฒนาชุมชน)


สังฆาธิการ

แนวทางการทำงานสังฆาธิการ
     ๑. ยึดนโยบายเป็นหลัก
     ๒. รักต่อสู้
     ๓. รับรู้ปัญหา
     ๔. กล้าหาญเด็ดเดี่ยว
     ๕. เชี่ยวงาน
     ๖. ชาญวิทย์
     ๗. ใกล้ชิดมวลชน

ยุทธศาสตร์การทำงานสังฆาธิการ
     ๑. หันหน้าเข้าหาผู้บังคับบัญชา
     ๒. หันหน้าเข้าหาเพื่อนร่วมงาน
     ๓. หันหน้าเข้าหาลูกน้อง
     ๔. หันหน้าเข้าหาตำรา
     ๕. หันหน้าเข้าหาปัญหา
     ๖. หันหน้าเข้าหาศาสตราอาวุธ
     ๗. หันหน้าเข้าหาข้าศึกศัตรู
     ๘. หันหน้าเข้าหามวลชน

ศิลปะการทำงานสังฆาธิการ
     ศึกษาดูงาน
     ประสานความคิด
     ติดอุดมการณ์
     ปรับพื้นฐานความรู้
     ฟื้นฟูศาสนาและวัฒนธรรม
     นำนวัตกรรมไปปรับใช้
     วิจัยและประเมินผล

ภาวะความเป็นผู้นำในวงการสงฆ์
     มองการณ์ไกล
     ไปมาหาสู่
     อยู่ร่วมด้วย
     ช่วยทำกิจ
     จิตประสาน
     งานดำเนิน
     ประเมินผล

บริบทของพระสงฆ์ไทย
     ๑. ปฐมํ พุทฺธวจนํ ศึกษา/ปฏิบัติตามพระพุทธพจน์
     ๒. ทุติยํ โลกกิจฺจํ เอาใจจดจ่อต่อกิจการงานของชาวโลก
     ๓. ตติย เวชฺชคนฺถํ สงเคราะห์คนเป็นโรค เจ็บไข้ได้ป่วยด้วยหยุกยา
     ๔. จตุตถํ สิปฺปกมฺมํ พัฒนาฝึกปรือฝีมือแรงงานด้วยศิลปะ สืบสานภูมิปัญญาไทย ทิ้งผลงานไว้แทนตัวเมื่อยามจาก

๕ บริ สำหรับพระสังฆาธิการ
     ๑. บริหาร จัดการเป็น
     ๒. บริการ อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้อื่นเป็น
     ๓. บริบาล ทะนุถนอมน้ำใจไมตรีซึ่งกันและกัน
     ๔. บริวาร เอาหมู่พวก ไม่ทำตนเป็นคนโดดเดี่ยว
     ๕. บริสุทธิ์ ทำงานทุกอย่างอยู่บนพื้นฐานของความโปร่งใส ถูกต้องและเป็นธรรม


พระสงฆ์ยุคใหม่

พระสงฆ์แห่งยุค
     ๑. เอาการศึกษา
     ๒. มีสัมมาปฏิบัติ
     ๓. จัดการเผยแผ่
     ๔. ร่วมแก้ปัญหา

งานที่พระพุทธเจ้าทรงมอบหมาย
     ๑. คันถธุระ
          - การศึกษา
          - การพัฒนาวัด
     ๒. วิปัสสนาธุระ
          - การลงมือปฏิบัติ
          - จิตตภาวนา

งานของพระสงฆ์ ที่พระเจ้าอยู่หัวถวาย
     ๑. ขอพระคุณเจ้าจงรับธุระพระพุทธศาสนา
     ๒. เป็นภาระสั่งสอน
     ๓. ช่วยระงับอธิกรณ์
     ๔. อนุเคราะห์พระภิกษุ สามเณรในอาราม(ในเขตปกครอง) ตามสมควร

สถานภาพของพระสงฆ์
      เป็นศาสนทายาท
     เป็นตัวแทนพระรัตนตรัย
     เป็นศูนย์รวมใจแห่งประชาชน
     เป็นบุญเขตเนื้อนาบุญของประชาชน


บรรยากาศความอบอุ่นในการคณะสงฆ์
     ๑. ไม่ใกล้ชิดกันมากเกินไป
     ๒. ไม่เหินห่างกันมากเกินไป
     ๓. ไม่ขอความช่วยเหลือกันพร่ำเพรื่อ
     ๔. ไม่สนใจความไม่ดีของคนอื่น
     ๕. ไม่สนใจเรื่องส่วนตัวของคนอื่นๆ
     ๖. ไม่นินทาว่าร้ายคนอื่น
     ๗. ไม่มีนิสัยเป็นคนมักได้
     ๘. ไม่เสแสร้งแกล้งทำเป็นมักน้อย
     ๙. ไม่ยกตนข่มท่าน
    ๑๐. ยอมรับความที่เราและเขามีความสำคัญเท่าเทียมกัน


พัฒนาวัดตามหลัก ๘ ส.
     ส.สงฆ์
     ส.สัตบุรุษ
     ส.เสนาสนะ
     ส.สมบัติวัด
     ส.สมณธรรม
     ส.สังฆาธิการ
     ส.สวัสดิการ
     ส.สาธารณสงเคราะห์

พัฒนาตามหลัก ๕ ส.
     ส.สะสาง
     ส.สะดวก
     ส.สะอาด
     ส.สุขลักษณะ
     ส.สร้างนิสัย

พัฒนาตามหลัก ๑๑ ส. สำหรับพระสังฆาธิการ
     ส.สำรวจ
     ส.สร้างสรรค์
     ส.สนับสนุน
     ส.ส่งเสริม
     ส.เสนอ
     ส.สนอง
     ส.สละ
     ส.สะสม
     ส.สะสาง
     ส.สามัคคี
     ส.สรุป




*********

0 ความคิดเห็น:

  © ขอขอบคุณ Blogger template 'Ultimatum' by s-hatcore ๒๕๕๐ : s-hatcore

กลับขึ้นข้างบน : Back to TOP