วันอังคารที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2551

วิชา องค์การและการจัดการ


๔๐๖ ๓๐๔ องค์การและการจัดการ ๓ (๓-๐-๖)Organization and Management
ศึกษาความหมาย แนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับองค์การและการจัดการ การวางแผนเพื่อการจัดองค์การ การจัดโครงสร้างขององค์การ การจัดการทรัพยากรบุคคล การอำนวยการ การควบคุมงานการพัฒนาองค์การและการจัดการ การสร้างจุดเด่นขององค์การ กระบวนการขององค์การ การพัฒนาของทฤษฎีองค์การและการบริหารสมัยใหม่ การแก้ปัญหาความขัดแย้งและแนวทางแก้ไขปัญหาในองค์การ และการจัดการทรัพยากรบุคคลแนวพุทธ

*****

อาจารย์ประจำรายวิชา  :  อาจารย์พริมประภา มกราภิรมย์

*****


-----
บทความรายวิชา องค์การและการจัดการ
-----




-----


บันทึกประจำวัน
---------------
พฤหัสบดี
๕/มิ.ย./๒๕๕๑
---------------
เนื้อหาโดยวิชา..

องค์การและการจัดการ คือ การรวมตัวของคนตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป เพื่อดำเนินกิจกรรมใดๆ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้


พัฒนาการ / ทฤษฎีองค์กร แบ่งเป็น ๔ ยุค

๑.ยุคเหตุผลนิยม ..แบบปิด (ค.ศ.๑๙๐๐-๑๙๓๐)
-จัดการแบบวิทยาศาสตร์
-ทฤษฎีระบบราชการ
-ทฤษฎีการบริหาร
เป็นพื้นฐานขององค์กาแบเครื่องจักร เน้น : ๑.ประสิทธิภาพการทำงาน ๒.การควบคุม

๒.ยุคธรรมชาตินิยม...แบบปิด
-ให้ความสำคัญกับมนุษย์เพิ่มขึ้น : ๑.ด้านอารมณ์ ๒.ความรู้สึก ๓.ความคิดเห็น
แนวคิดนี้ คือ ๑.สำนักมนุษยสัมพันธ์ ระบบความร่วมมือ  ๒.สำนักทรัพยากรมนุษย์
** เป็นแนวคิดพื้นฐาน แบบสิ่งมีชีวิต **

๓.ยุคเหตุผลนิยม ..แบบเปิด (ค.ศ.๑๙๖๐-๑๙๗๐)
-เพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างองค์การและสิ่งแวดล้อม
ทฤษฎีที่ได้รับความนิยมช่วงนี้ คือ
-ทฤษฎีระบบเปิด
-ทฤษฎีโครงสร้างตามสถานการณ

๔.ยุคธรรมชาตินิยม ..แบบเปิด (ปลาย ค.ศ.๑๙๗๐ - )
-ความหมายของปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องในทฤษฎีองค์การเดิมที่กำหนดไว้ในลักษณะที่ตายตัว
-มีขอบเขตจำกัดในการประยุกต์ใช้ ไม่ว่าจะเป็น -ความหมายองค์กร -สิ่งแวดล้อมองค์กร
การเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดทฤษฎีองค์การมรการพัฒนา โดยได้รับอิทธิพลจากความรู้หลากหลายสาขาวิชา แบบผสมผสาน เรียกว่า “สหวิทยาการ”
ก่อให้เกิดองค์การใหม่ เช่น ๑.ทฤษฎีพึ่งพาทรัพยากร ๒.ทฤษฎีสถาบัน
การเปลี่ยนแปลงองค์การ ทำให้เกิดรูปแบบองค์การแบบใหม่ๆ เช่น
-องค์การแบบเครือข่าย : Network Organization
-องค์การเสมือนจริง : Virtual Organization
-องค์การคุณภาพ : Quality Organization
ทฤษฎีดังกล่าว จัดเป็น ทฤษฎีสมัยใหม่ : Modern Organizatoin

ทฤษฎี : Theory
คือ ชุดแนวคิดที่มีความสัมพันธ์กัน เพื่อใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ที่ได้รับความสนใจในการศึกษา

ตัวแบบ : Model
คือ เทคนิคประเภทหนึ่งที่ใช้ในการทำความเข้าใจความสัมพันธ์ขององค์การ กับ ปัจจัยต่างๆ
คือ การนำเสนอความจริงอย่างง่ายๆ

อุปมาอุปมัย : Metaphor
วิธีการคิด : Way of thinking
วิธีการมอง : Way of seeing
เกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่างๆ ซึ่งช่วยให้เข้าใจโดยอาศัยประสบการณ์ จากสิ่งอื่นที่มีลักษณะเหมือนกัน

-----------------------------
มอร์แกน : เป็นผู้นำเอาทฤษฎี “อุปมาอุปมัย” มาใช้ในหนังสือ Image of organization เช่น “องค์การเสมือน เครื่องจักร”
----------------------------



---------------
พฤหัสบดี
๑๙/มิ.ย./๒๕๕๑

---------------

นำเสนองาน /Present โดย พระใบฎีกาภัทรชัย / พระอธิการกล่อม ..กลุ่ม ๑
---------------
สรุป
สำนักเหตุผลนิยม
สาระสำคัญของแนวคิด
๑.ความเฉพาะเจาะจงของวัตถุประสงค์ / วัตถุประสงค์ต้องชัดเจน
๒.ความเป็นทางการ / ต้องมีโครงสร้างเป็นทางการ

องค์การ คือ การรวมกลุ่มคนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เฉพาะที่กำหนดไว้ โดยมีโครงสร้างทางสังคมมีความเป็นทางการข่อนช้างสูง (Scott)


คุณสมบัติขององค์การ
๑.กลุ่มสังคม ประกอบด้วย
-คน (ปัจเจกบุคคล)
-กลุ่ม (คน ๒ คนมารวมกัน)
-องค์การ (กลุ่มหลายๆ กลุ่มมารวมกัน)
๒.ขอบเขตชัดเจน
๓.วัตถุประสงค์เฉพาะเจาะจง
๔.การจัดแบ่งอำนาจหน้าที่
๕.กฎระเบียบ การดำเนินงาน การควบคุมและเทคนิค
๖.การสื่อสารอย่างเป็นทางการ
๗.ความชำนาญเฉพาะด้านและการจัดแบ่งงาน
๘.การว่าจ้างผู้มีทักษะ

สำนักธรรมชาตินิยม : Natural System
เน้นโครงการเชิงพฤติกรรม

สาระสำคัญ
๑.ความสลับซับซ้อนของวัตถุประสงค์
เน้นความอยู่รอดขององค์กร
๒.โครงสร้างที่ไม่เป็นองค์การ

ความหมาย
กลุ่มซึ่งมีความสนใจร่วมกันในการอยู่รอดในสังคมและมีพันธะในการทำกิจกรรมร่วมกัน

คุณสมบัติองค์การ
๑.โครงสร้างเชิงพฤติกรรม
๒.เต็มใจในการทำงาน
๓.การแสวงหาความอยู่รอด
๔.การมีส่วนร่วม
๕.การสื่อสารอย่างไม่เป็นทางการ
..../ เช่น Ngo


การประยุกต์ใช้
เหมาะกับองค์การที่ไม่เป็นทางการ : Informal


สำนักระบบเปิด
-สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
-เหมาะกับองค์การสมัยใหม่
ความหมาย : ระบบของกิจกรรมที่สัมพันธ์กันโดยมีสมาชิกที่มีลักษณะต่างกัน (Scott ๑๙๙๒)






**********

0 ความคิดเห็น:

  © ขอขอบคุณ Blogger template 'Ultimatum' by s-hatcore ๒๕๕๐ : s-hatcore

กลับขึ้นข้างบน : Back to TOP