วันศุกร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2551

บททดสอบ วิชาศาสตร์คณิตกรณ์



๑. ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk)
--------------------

****ประวัติความเป็นมา***

ฮาร์ดดิสก์นั้นถูกประดิษฐ์ขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๙๙ (๑๙๕๖) โดยนักประดิษฐ์ยุคบุกเบิกแห่งบริษัทไอบีเอ็ม เรย์โนล์ด จอห์นสัน ซึ่งในขณะนั้น ฮาร์ดดิสก์มีขนาดค่อนข้างใหญ่ มีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง ๒๐ นิ้ว มีความจุเพียงระดับเมกะไบต์เท่านั้น (เทียบกับระดับกิกะไบต์ในปัจจุบัน ซึ่ง ๑,๐๐๐ MB = ๑ GB). ตอนแรกใช้ชื่อว่า ฟิกส์ดิสก์ (fixed disk หรือจานบันทึกที่ติดอยู่กับที่) หรือ วินเชสเตอร์ (Winchesters) ซึ่งเป็นชื่อที่ IBM เรียกผลิตภัณฑ์ของพวกเขา


ต่อมาภายหลังจึงเรียกว่า ฮาร์ดดิสก์ (จานบันทึกแบบแข็ง) เพื่อจำแนกประเภทออกจาก ฟลอปปี้ดิสก์ (จานบันทึกแบบอ่อน) ฮาร์ดดิสก์นั้นไม่ควรนำไปสับสนว่าเป็นสิ่งเดียวกับไดร์ฟซึ่งถือเป็นยูนิตทั้งยูนิตในคอมพิวเตอร์ ประกอบไปด้วยจานบันทึกหลายอันด้วยกัน, หัวอ่านและบันทึกข้อมูล, วงจรอิเล็กทรอนิกส์ของไดร์ฟ และตัวมอเตอร์ ในขณะที่ฮาร์ดดิสก์ (หรือจานบันทึกนั่นเอง) นั้นเป็นแค่ตัวเก็บข้อมูลเท่านั้น

ตั้งแต่เข้าสู่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๒๑ เป็นต้นมา ฮาร์ดดิสก์สามารถพบได้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป ไม่เฉพาะภายในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ อีกด้วย เช่น เครื่องเล่นเอ็มพีทรี, เครื่องบันทึกภาพดิจิทัล, กล้องถ่ายรูป, คอมพิวเตอร์ขนาดพกพา (หรือ PDA) หรือแม้กระทั่งในโทรศัพท์มือถือบางรุ่นตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๘ (๒๐๐๕) เป็นต้นมา (โนเกีย และ ซัมซุงเป็นสองบริษัทผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือรายแรกที่จำหน่ายโทรศัพท์มือถือที่มีฮาร์ดดิสก์)


***ขนาดและความจุ***

ความจุของฮาร์ดดิสก์โดยทั่วไปในปัจจุบันนั้นมีตั้งแต่ ๒๐ ถึง ๒๕๐ กิกะไบต์ ยิ่งมีความจุมาก ก็จะยิ่งทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยความต้องการของตลาดในปัจจุบันที่ต้องการแหล่งเก็บข้อมูลที่มีความจุในปริมาณมาก มีความน่าเชื่อถือในด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และไม่จำเป็นต้องต่อเข้ากับอุปกรณ์ที่ใหญ่กว่าอันใดอันหนึ่งได้นำไปสู่ฮาร์ดดิสก์รูปแบบใหม่ต่างๆ เช่นกลุ่มจานบันทึกข้อมูลอิสระประกอบจำนวนมาก หรือระบบ RAID รวมไปถึงฮาร์ดดิสก์ที่มีลักษณะเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย เพื่อที่ผู้ใช้จะได้สามารถเข้าถึงข้อมูลในปริมาณมากได้ เช่นฮาร์ดแวร์ NAS (network attached storage หรืออุปกรณ์บรรจุข้อมูลเชื่อมต่อเครือข่าย) และระบบ SAN (storage area network หรือเครือข่ายบรรจุข้อมูลเป็นพื้นที่) เป็นต้น


***หลักการทำงานของฮาร์ดดิสก์***

ภายในฮาร์ดดิสก์หลักการบันทึกข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์ไม่ได้แตกต่างจากการบันทึกลงบนเทปคาสเซ็ทเลย เพราะทั้งคู่ต้องใช้สารบันทึกคือสารแม่เหล็กเหมือนกัน สารแม่เหล็กนี้สามารถลบหรือเขียนได้ใหม่อยู่ตลอดเวลา โดยเมื่อบันทึกหรือเขียนไปแล้ว มันสามารถจำรูปแบบเดิมได้เป็นเวลาหลายปี มีความแตกต่างระหว่างเทปคาสเซ็ทกับฮาร์ดดิสก์ดังนี้

สารแม่เหล็กในเทปคาสเซ็ท ถูกเคลือบอยู่บนแผ่นพลาสติกขนาดเล็ก เป็นแถบยาว แต่ในฮาร์ดดิสก์ สารแม่เหล็กนี้ จะถูกเคลือบอยู่บนแผ่นแก้ว หรือแผ่นอะลูมิเนียมที่มีความเรียบมากจนเหมือนกับกระจก

สำหรับเทปคาสเซ็ท ถ้าคุณต้องการเข้าถึงข้อมูลในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ก็จะต้องเลื่อนแผ่นเทปไปที่หัวอ่าน โดยการกรอเทป ซึ่งต้องใช้เวลาหลายนาที ถ้าเทปมีความยาวมาก แต่สำหรับฮาร์ดดิสก์ หัวอ่านสามารถเคลื่อนตัวไปหาตำแหน่งที่ต้องการในเกือบจะทันที
แผ่นเทปจะเคลื่อนที่ผ่านหัวอ่านเทปด้วยความเร็ว ๒ นิ้วต่อวินาที (๕.๐๘ เซนติเมตรต่อวินาที) แต่สำหรับหัวอ่านของฮาร์ดดิสก์ จะวิ่งอยู่บนแผ่นบันทึกข้อมูล ที่ความเร็วในการหมุนถึง ๓๐๐๐ นิ้วต่อวินาที (ประมาณ ๑๗๐ ไมล์ต่อชั่วโมง หรือ ๒๗๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ข้อมูลในฮาร์ดดิสก์เก็บอยู่ในรูปของโดเมนแม่เหล็ก ที่มีขนาดเล็กมากๆ เมื่อเทียบกับโดเมนของเทปแม่เหล็ก ขนาดของโดเมนนี้ยิ่งมีขนาดเล็กเท่าไร ความจุของฮาร์ดดิสก์จะยิ่งมีขนาดเพิ่มขึ้นเท่านั้น และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ในเวลาสั้น

เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะปัจจุบันจะมีความจุของฮาร์ดดิสก์ประมาณ ๔๐ ถึง ๒๕๐ กิกะไบต์ (เป็นอย่างต่ำ) ข้อมูลที่เก็บลงในฮาร์ดดิสก์ เก็บอยู่ในรูปของไฟล์ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลที่เรียกว่า ไบต์ : ไบต์คือรหัส แอสกี้ ที่แสดงออกไปตัวอักษร รูปภาพ วีดีโอ และเสียง โดยที่ไบต์จำนวนมากมาย รวมกันเป็นคำสั่ง หรือโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ มีหัวอ่านของฮาร์ดดิสก์อ่านข้อมูลเหล่านี้ และนำข้อมูลออกมา ผ่านไปยังตัวประมวลผล เพื่อคำนวณและแปรผลต่อไป

เราสามารถคิดประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์ได้ ๒ ทางคือ
อัตราการไหลของข้อมูล (Data rate) คือจำนวนไบต์ต่อวินาที ที่หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์สามารถจะส่งไปให้กับซีพียูหรือตัวประมวลผล ซึ่งปกติมีอัตราประมาณ ๕ ถึง ๔๐ เมกะไบต์ต่อวินาที
เวลาค้นหา (Seek time) เวลาที่ข้อมูลถูกส่งไปให้กับซีพียู โดยปกติประมาณ ๑๐ ถึง ๒๐ มิลลิวินาที


***การเก็บข้อมูล***

การเก็บข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ ข้อมูลที่เก็บลงในฮาร์ดดิสก์จะอยู่บนเซกเตอร์และแทร็กแทร็กเป็นรูปวงกลม ส่วนเซกเตอร์เป็นเสี้ยวหนึ่งของวงกลม อยู่ภายในแทร็กดังรูป แทร็กแสดงด้วยสีเหลือง ส่วนเซกเตอร์แสดงด้วยสีแดง ภายในเซกเตอร์จะมีจำนวนไบต์คงที่ ยกตัวอย่างเช่น ๒๕๖ ถึง ๕๑๒ ขึ้นอยู่กับว่าระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์จะจัดการแบ่งในลักษณะใด เซกเตอร์หลายๆ เซกเตอร์รวมกันเรียกว่า คลัสเตอร์ (Clusters) ขั้นตอน ฟอร์แมต ที่เรียกว่า การฟอร์แมตระดับต่ำ (Low -level format ) เป็นการสร้างแทร็กและเซกเตอร์ใหม่ ส่วนการฟอร์แมตระดับสูง (High-level format) ไม่ได้ไปยุ่งกับแทร็กหรือเซกเตอร์ แต่เป็นการเขียน FAT ซึ่งเป็นการเตรียมดิสก์เพื่อที่เก็บข้อมูลเท่านั้น



------------------------
๒. ซีดีไรด์ (CD-RW)
------------------------

***ประวัติความเป็นมาของ CD***

ก้าวสู่มิติใหม่กับมาตรฐาน Recordable CD (CD-R) ในขณะที่ข้อจำกัด ของซีดีรอมก็คือ มันสามารถใช้อ่านได้อย่างเดียวเท่านั้น และเนื่องจากทุกคน ไม่มีเครื่องปั๊มแผ่นซีดี เป็นของตัวเอง และถึงมีมันเป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้ จะผลิตออกมาทีละแผ่นสองแผ่น ส่วนใหญ่การปั๊มแผ่นซีดี ครั้งหนึ่งๆ นั้นไม่ควรจะต่ำกว่าหนึ่งพันแผ่นขึ้นไป และถ้าเทียบเป็นเงินก็สูง ถึงหลายพันดอลล่าร์

ในปี ค.ศ.๑๙๙๐ ลักษณะและมาตรฐานของแผ่นซีดี ที่สามารถบันทึกได้ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ของมาตรฐานใหม่ที่เรียกว่า orange book ได้ถูกตีพิมพ์เผยแพร่ โดยฟิลิปส์ (จะมีใครอื่นนอกจากนี้) CD-R นั้นบางครั้งถูกเรียกว่า CD-WORM หรือ CD-WO หมายถึง เขียนเพียงครั้งเดียวหรือ write once และ WORM มาจากคำว่า write once read many ทั้งสองชื่อนี้สะท้อนให้เห็นสภาพของสื่อที่นำมาผลิตแผ่นซีดี ซึ่งจะช่วยให้ผู้เช่าเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป สามารถสร้างไฟล์เพลง หรือซีดีข้อมูล ในหลากหลายรูปแบบได้ด้วยตนเองซึ่งแผ่นซีดีดังกล่าวนี้สามารถถูกอ่านได้ด้วยเครื่องเล่นซีดีทั่วไป หรือไดร์ฟซีดีรอม ในราคาที่สมเหตุสมผล

มาตรฐาน write once เริ่มต้นจากแผ่นซีดี ที่ว่างเปล่า ซึ่งถูกเขียนข้อมูลต่างๆ ลงไปได้เพียงครั้งเดียว เป็นข้อมูลที่ถาวร และไม่สามารถเขียนข้อมูลต่างๆ ซ้ำได้ แผ่น CD-R จะมีขนาด และลักษณะเช่นเดียวกับแผ่นซีดีทั่วไป แต่ด้านที่บันทึกข้อมูล จะเป็นสีเขียว ซึ่งเป็นสารชนิดพิเศษ ส่วนอีกด้านหนึ่ง จะมีสีทองซึ่งมีคุณสมบัติสามารถสะท้อนแสงได้ดี ซึ่งจะมีผลให้สามารถอ่านข้อมูลให้ดีอีกด้วย ข้อจำกัดของ CD-R ในสมัยก่อนอยู่ที่ราคา ซึ่งแพงมากเกินกว่า ๑,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐฯต่อหนึ่งไดร์ฟ และราคา ๑๐ ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือมากกว่า สำหรับแผ่นเปล่าหนึ่งแผ่น แต่ปัจจุบันใน ขณะที่ราคาของทั้งสองสิ่งนี้ ได้ลดลงมากกว่าครึ่งหนึ่ง ทำให้ CD-R กลายเป็นสื่อที่ได้รับความนิยม สำหรับการบันทึกโปรแกรม หลายๆโปรแกรมรวม ทั้งการแจกจ่ายซอฟต์แวร์, การบันทึกสำรองข้อมูล, การบันทึกไฟล์เสียง และอื่นๆ ทะลุข้อจำกัดเดิมๆ ของมาตรฐานซีดีรอม

เหตุผลซึ่งเราไม่สามารถ จะเขียนข้อมูลอะไร ก็ตามลงบนแผ่นซีดีรอมได้ เพราะรหัสข้อมูลที่ถูกบันทึกมาแล้ว จากโรงงานที่อยู่บนแผ่นซีดีรอม จะอยู่ในลักษณะเลข ๐ กับ ๑ ทำให้แผ่นซีดีนั้น มีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ในส่วนที่เป็นพิต (pits) ซึ่งไม่สามารถทำให้กลับคืนสู่สภาพเดิมได้ วิธีการของ CD-R นั้นก็เช่นเดียวกัน โดยเริ่มต้นจากแผ่น CD-R ที่ว่างเปล่า เมื่อมีแสงเลเซอร์ที่มีความเข้มเป็นพิเศษ ส่องแสงไปลงแผ่น CD-R จะถูกทำให้ร้อนอย่างรวดเร็ว และเปลี่ยนสภาพ เป็นส่วนประกอบทางเคมี เนื่องจากผลของการเปลี่ยนแปลงนี้ เป็นกระบวนการทางเคมี พื้นที่ที่ถูกความร้อนหรือ burned จะสะท้อนแสง ได้น้อยกว่าพื้นที่ ซึ่งไม่มีแสงเลเซอร์ส่องแสงไปถึง ดังนั้นบนแผ่นซีดีทั้งหมด จะถูกสร้างจากพื้นที่ที่เป็นส่วนที่ถูก burned และไม่ถูก burned เหมือนกับมาตรฐานซีดีรอมทั่วไป ที่ถูกสร้างจากส่วนที่เป็นพิต และแลน ผลสรุปก็คือ ซีดีชนิดนี้ ก็สามารถที่จะเล่นในไดร์ฟซีดีรอม ทั่วไปได้เช่นกัน เนื่องจากสื่อนี้ถูกทำ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ โดยกระบวนการทางความร้อน และทางเคมี การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ถาวร และไม่สามารถแก้ไข ให้กลับคืนมาได้ทันทีที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของซีดีถูกเขียนข้อมูล จะอยู่ตรงนั้นตราบชั่วนิรันดร์กาล บางไดร์ฟจะอนุญาตให้ คุณบันทึกข้อมูลบางสิ่งบางอย่างในส่วนแรก และข้อมูลอื่นๆต่อมา ในอีกส่วนหนึ่งถ้าหากแผ่นดิสก์นั้น ยังไม่เต็มการบันทึกในลักษณะนี้เราเรียกว่า multi session แผ่น CD-R มาตรฐานสามารถ บันทึกได้นาน 74 นาที มีบางแผ่นที่บันทึก ได้น้อยกว่านี้ และบางแผ่นก็มากกว่า ราคาของแผ่น ค่อนข้างจะลดลงเรื่อยๆ เมื่อมีการผลิตในจำนวน ต่อครั้งที่มากขึ้น ในต่างประเทศ แผ่นประเภทนี้มีราคาที่ต่ำกว่า ๕ เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งนับว่าเป็นราคาที่น่าสนใจ สำหรับสื่อที่สามารถบันทึกข้อมูลได้ เป็นจำนวนมากๆ และเก็บรักษาไว้ได้เป็นเวลานาน


***เทคโนโลยีไดร์ฟ CD-R***

ไดร์ฟนี้แตกต่างจากเครื่องเล่นซีดีทั่วไป ด้วยเลเซอร์ชนิดพิเศษ มีความสามารถทั้งในการอ่าน และเขียนแผ่นซีดี แน่นอนว่า มันสนับสนุนมาตรฐาน ของแผ่นซีดีเกือบทุกชนิด โดยความเร็ว ในการเขียน จะต่ำกว่าความเร็วในการอ่านมากพอสมควร ตัวอย่างเช่นไดร์ฟรุ่นหนึ่ง จะถูกระบุสเปคว่าอ่านได้ 24X แต่เขียนได้แค่ 6X มาตรฐานการเชื่อมต่อแบบ SCSI เป็นทางเลือกหนึ่งที่ใช้กันในไดร์ฟ CD-R เหตุผลคือ SCSI เป็นมาตรฐาน การเชื่อมต่อสมรรถนะสูง ซึ่งอนุญาตให้การถ่ายเทของข้อมูล ไปสู่ไดร์ฟเป็นไปอย่างง่ายดาย และเป็นอิสระไม่ว่าขณะนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์ กำลังทำงานใดๆ อยู่ก็ตาม นี่คือจุดที่สำคัญ สำหรับการเขียน CD-R เพราะว่าการเขียนข้อมูล นั้นจะต้องไม่มีสิ่งใดมาขัดจังหวะ ไม่ว่าการขัดจังหวะนั้น จะมาจากส่วนใดในระบบคอมพิวเตอร์ก็ตาม (ส่วนมากมาจากฮาร์ดดิสก์) แต่เนื่องจากราคา ที่ค่อนข้างสูง ทำให้ไดร์ฟ CD-R ในปัจจุบันนี้นิยม ใช้มาตรฐานการเชื่อมต่อแบบ ATAPI หรือ IDE เนื่องจาก ตัวยิงแสงเลเซอร์ที่อยู่ในไดร์ฟ CD-R จะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ ขณะที่มีการเขียนข้อมูล จำเป็นที่ข้อมูลนั้น จะต้องรอพร้อมอยู่ด้วย การไหลของข้อมูล ที่ค่อนข้างราบเรียบ โดยการเขียนข้อมูล นั้นจะต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และไม่สามารถหยุดกลางคันได้ การขัดจังหวะในขณะที่มีเขียนข้อมูล หมายถึงแผ่น CD-R นั้นจะเสียหายในทันที มีไดร์ฟหลายๆตัว ใช้ขั้นตอนพิเศษ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานี้ หนึ่งในวิธีที่พบเห็นมากคือ การใช้ส่วนสำรองข้อมูลพิเศษ หรือ substantial memory buffer ซึ่งสามารถนำข้อมูล ไป สู่หัวลำแสงเลเซอร์ ในกรณีที่การไหลของข้อมูลนั้น ถูกจังหวะ วิธีแก้ไขปัญหาอีกอย่างหนึ่ง คือการใช้ image file แทนที่จะทำการคัดลอก ข้อมูลที่จะถูกบันทึกไปสู่แผ่น CD-R ในทันที ก็จะเปลี่ยนเป็นการสร้าง และบันทึกไว้ในไฟล์ขนาดใหญ่ บนฮาร์ดดิสก์ก่อน เป็นลำดับแรก และจากนั้น จึงทำการโอนย้ายข้อมูลทั้งหมด ไปสู่แผ่น CD-R ต่อไป นี่จะเป็นการลดโอกาส ที่ถูกขัดจังหวะขณะที่ทำการเขียน แต่แน่นอนว่าจะสูญเสียเนื้อที่ของฮาร์ดดิสก์ไปส่วนหนึ่ง แน่นอนสำหรับผู้ใช้หลายๆ รายคงพบความยากลำบาก ในการติดตั้ง และใช้ไดร์ฟ CD-R ในครั้งแรกๆ โดยกว่าจะทำให้อุปกรณ์ชนิดนี้ ทำการเขียนแผ่นได้อย่างสมบูรณ์ ก็อาจจะต้องเสียแผ่นเปล่าไป เป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม เมื่อคุณมีความชำนาญมากขึ้นแล้ว ไดร์ฟ CD-R เป็นสื่อที่เชื่อถือได้ ในความแน่นอนที่อนุญาต ให้ผู้ใช้สร้างดิสก์จำนวนมากๆ และสูญเสียน้อยที่สุด


***CD-R Software สิ่งสำคัญอย่ามองข้าม***

ไดร์ฟ CD-R ส่วนมากจะจำหน่ายมาพร้อมซอฟแวร์พิเศษ ซอฟแวร์เหล่านี้ไม่เพียงแต่ช่วยในการเขียนแผ่น CD-R แต่ยังช่วยให้ผู้จัดการข้อมูลใดๆ ก็ตามที่อยู่บนแผ่น ตัวอย่างเช่น จัดสรรแทร็คในซีดีเพลง ตามลำดับที่เขาต้องการ จัดการข้อมูลหลากหลายรูปแบบ ที่อยู่บนแผ่น CD-R แผ่นเดียวกัน รวมทั้งการสร้าง image file เพื่อช่วยในขั้นตอน การเขียนแผ่นซีดีตามที่ได้อ้างถึงข้างต้น ดังนั้นคุณไม่ควรละเลย ซอฟแวร์ที่แถมมาพร้อมกับ CD-R ความเข้ากันได้ ระหว่างมาตรฐาน CD-R และ CD-ROM แผ่น CD-R ที่เขียนไดร์ฟ CD-R ส่วนมากจะใช้ร่วมกันได้กับไดร์ฟซีดีรอมทั่วไป แต่สำหรับไดร์ฟซีดีรอมเก่าๆ บางรุ่นอาจมีปัญหากับแผ่นที่เขียนโดยไดร์ฟ CD-R ดังปัญหาที่เราพบว่าแผ่นซีดีแผ่นเดียวกันอ่านกับไดร์ฟซีดีรอมตัวนี้ได้ แต่ไปอ่านอีกไดร์ฟหนึ่งไม่ได้ สิ่งที่ต้องทราบคือแผ่นซีดี-อาร์ถูกเขียนในลักษณะ multi-sessions คือการเขียนบางส่วนบนแผ่นดิสก์ก่อนแล้วจึงเขียนอีกส่วนหนึ่งภายหลังจะสามารถอ่านได้เฉพาะไดร์ฟที่สนับสนุน multi-sessions ด้วยเท่านั้น



----------------------------------
๓. ฟล็อปปี้ดิสก์ หรือไดร์ฟ เอ (Floppy A:)
----------------------------------

***ลักษณะ และ คุณสมบัติ โดยทั่วไป***

Floppy Disk เป็น อุปกรณ์ที่ไว้เก็บข้อมูล ซึ่งประกอบไปด้วย แถบแม่เหล็กเป็นวงกลม แล้วถูกห่อหุ้มด้วยแผ่นพลาสติกสี่เหลี่ยม Floppy disks สามารถที่เขียนและอ่านได้ด้วย Floppy disk driver หรือ FDD

Floppy Disk หรือเรียกว่า floppies หรือ diskettes (ชื่อที่เลือกจากรายการมีความหมายเหมือนกับ "cassette") พบได้ทั่วไปในปี ๑๙๘๐ และ ๑๙๙๐ และเริ่มใช้ ที่บ้านและบนเครื่อง PC ในระบบปฏิบัติการ เช่น Apple II, Macintosh, Commodore 64, Amiga, และ IBM PC เพื่อแจกจ่าย software รวมไปถึงข้อมูลระหว่างเครื่อง และ backup ขนาดเล็ก, แต่ก่อนที่จะเป็นที่นิยมของ hard drive สำหรับเครื่อง PC, Floppy disk เป็นที่ที่ไว้เก็บ computer's operating system (OS), application software, และข้อมูลอื่นๆ , Home Computer หลายๆเครื่อง มี primary OS ที่สำคัญที่สุดเก็บอย่างถาวรไว้ใจ ROM chip แต่ เก็บ OS ไว้ใน floppy ไม่ว่าจะเป็น proprietary system, CP/M, หรือ later, DOS ตั้งแต่ ๑๙๙๐ มีการเพิ่มขนาดของ software ในปลายปี ๑๙๙๐ ได้มีการเปลี่ยนมาใช้ CD-ROM ที่มีความจุที่มากกว่าเพิ่ม backup formats (e.g., the Iomega Zip disk) เมื่อมาถึงยุคของการใช้ Internet, cheap Ethernet, and USB "key drives" floppy ก็เริ่มไม่มีความจำเป็นต่อการเก็บข้อมูลเพราะข้อมูลที่มาขึ้นและมีอุปกรณ์การเก็บชิ้นใหม่ที่เข้ามา ที่สะดวกกว่าถึงอย่างไรก็ตามผู้ผลิตก็ไม่เต็มใจที่จะ เอาfloppy ออกจากเครื่อง PCs และ เพราะหลายๆบริษัทIT มีการขึ้นราคา อุปกรณ์ที่มีความจำเป็นในการผลิต มากขึ้น Apple Computer เป็นเจ้าแรกที่เอา floppy ออกจากเครื่อง PCs และตามมาด้วย iMac ในปี ๑๙๙๘ และ Dell ทำ floppy ขึ้นมาเพิ่มเพื่อเป็นทางเลือกแก่ผู้ซื้อใน ปี ๒๐๐๓ และในปัจจุบันนี้ ก็จบยุคของการเก็บข้อมูลที่สำคัญไว้ใน floppy แล้ว เพราะข้อมูลที่มากและการแลกเปลี่ยนที่มากกว่า External USB มีการใช้งานที่ดีกว่า floppy disk drives ซึ่งอุปกรการณ์ผลิตในปัจจุบันถูกผลิตมาให้ supports USB แต่ถึงยังการการใช้งานของคนบางกลุ่มก็ยังคงใช้ floppy เพราะอาจใช้เก็บข้อมูลไม่มาก และความที่มันถูก


***วิธีการเก็บข้อมูลบนฟลอปปี้ดิสก์***

Floppy disk operation วิธีการเก็บข้อมูลบนฟลอปปี้ดิสก์ ลักษณะของฮาร์ดแวร์สำหรับหัวอ่าน / เขียนจะสัมพันธ์กับศูนย์กลางของดิสก์จะมีวงแหวนของเนื้อดิสก์ที่ใช้เก็บข้อมูลได้ ซึ่งวงแหวนร่วมศูนย์กลางนี้เรียกว่า แทร็ก (tracks) แต่ละแทร็กจะแบ่งออกเป็นหน่วยเล็กๆเรียกว่า เซคเตอร์ (sector) และเซคเตอร์ทั้งหมดบนดิสค์จะเก็บข้อมูลเท่ากันคือ ๕๑๒ ไบต์ แทร็กจะมีหมายเลขเรียงตามลำดับเริ่มต้นจากแทร็กด้านนอกสุด ซึ่งเป็นแทร็ก ๐ เสมอ ส่วนเซคเตอร์ก็มีหมายเลขตามลำดับ โดยเริ่มต้นจาก ๑

ฟลอปปี้ดิสก์สามารถเก็บข้อมูลได้ด้านเดียวในรุ่นแรกๆ แต่ปัจจุบันฟลอปปี้ดิสก์สามารถเก็บข้อมูลได้ ๒ ด้าน สมมติฟลอปปี้ดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว เก็บข้อมูลได้ ๒ ด้าน สามารถใช้ดิสก์ที่ประกอบด้วย ๑๘ เซคเตอร์/แทร็ก จำนวน ๘๐ แทร็ก และแต่ละบรรจุได้ ๕๑๒ ไบต์ ดังนั้นหาความจุของดิสก์ได้ ความจุของดิสก์ = 2*18*80*512= 1474560 Byte (1.44MB)


Logical sector 0 FD จะถูกเรียกว่า boot sector ซึ่ง นี้เป็นที่เก็บข้อมูลที่เกี่ยวกับคุณลักษณะและขนาดของดิสก์ข้อมูลที่ boot sector นี้ในการแปลงจาก logical เป็น physical sector ตัว boot sector นี้จะมีขนาด ๕๑๒ ไบท์




----------------------------
๔.แฮนดี้ไดร์ฟ (FlatDrive)
----------------------------

***Flash Drive คืออะไร?***

Flash Drive (หรือที่หลายคนเรียก Handy Drive, Thumb Drive, USB Drive) เป็นอุปกรณ์เก็บไฟล์ข้อมูลชนิดใหม่ล่าสุด ที่มีความจุข้อมูลสูง ตั้งแต่ ๑๒๘ MB จนถึง ๘ GB และมีขนาดเล็ก บาง เบา (ขนาดเล็กพอๆ กับไฟแช็คหรือว่าแพ็คหมากฝรั่ง ๑ อัน) จุดเด่นของ Flash Drive คือความสะดวกรวดเร็วในการใช้งาน เพราะสามารถใช้ได้ทันทีกับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทุกระบบ จึงทำให้อุปกรณ์ชิ้นนี้ได้รับความนิยมอย่างสูงในกลุ่มผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ทั้งวัยรุ่น,นักศึกษา,เว็บดีไซน์เนอร์,โปรแกรมเมอร์, และกลุ่มคนทำงานทั่วไป บริษัทวิจัยชั้นนำของโลกได้คาดการณ์ว่า Flash Drive จะเป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลขนาดพกพาที่ได้รับความนิยมสูง และถือเป็นสิ้นค้ามาตรฐานชิ้นใหม่ที่ทุกคนจะต้องมีไว้ใช้งานควบคู่กับ คอมพิวเตอร์

แฟลชไดร์ฟ, แฮนดี้ไดร์ฟ เป็นอุปกรณ์นวัตกรรม IT ที่ในอนาคตทุกคนจะต้องมีและใช้ในชีวิตประจำวันอยู่ตลอดเวลา เพราะมีคุณสมบัติที่โดดเด่นตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน และมีประโยชน์ที่สำคัญที่สุดคือ:

• ความจุข้อมูลสูง ตั้งแต่ ๑๒๘ MB ถึง ๘ GB
• ใช้เก็บข้อมูลได้ทุกประเภท ทั้งไฟล์ข้อมูล, เอกสาร, พรีเซ็นเตชั่นสไลด์, เพลง MP3, รูปภาพดิจิตอล, วีดีโอ, และอื่นๆ
• สามารถใช้ได้ทันทีกับคอมพิวเตอร์และโน็ตบุ๊ค ทุกเครื่องทุกระบบ
• สามารถใช้ได้กับ Windows, Linux, Apple iMac, Apple iBook
• สะดวกในการใช้งาน เพียงแค่เสียบ Flash Drive เข้าช่องต่อ USB
• ใช้งานง่าย คุณสามารถทำการเขียน/อ่าน/ลบ/แก้ไข ข้อมูลในนั้นได้โดยตรงเหมือนกับฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟปกติ
• มีความทนทานสูง ทั้งภายในและภายนอก
• เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่สร้างจากเทคโนโลยีที่มีความทนทานสูงที่สุดในปัจจุบัน Solid-State Storage Technology
• เวลาใช้งาน ข้อมูลของคุณจะปลอดภัยไม่ว่าจะเกิดการตกหล่น กระแทก หรือขูดขีด
• มีขนาดเล็ก บาง เบา สามารถพกติดตัวได้สะดวก
• ใช้เล่นเพลง MP3 ได้ (เฉพาะรุ่นที่มี MP3 Player)


***วิธีการใช้งาน Flash Drive***

๑. เสียบ Flash Drive เข้าที่ช่องต่อ USB ของคอมพิวเตอร์

๒. ระบบจะทำการสร้างไดร์ฟใหม่ขึ้นมา (เช่น ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์คุณมีไดร์ฟ C: D: และ E: สำหรับใช้งานตามปกติ, เมื่อเสียบ Flash Drive เข้าเครื่อง คุณจะเห็นไดร์ฟ F: เพิ่มขึ้นมา)

๓. คุณสามารถเซฟเก็บบันทึก,อ่าน,ลบ,ก็อปปี้,ย้าย,และแก้ไขข้อมูลบน Flash Drive เหมือนกับเวลาใช้ไดร์ฟ คอมพิวเตอร์ปกติทุกประการ


***วิธียกเลิกการใช้งาน Flash Drive***

๑. เมื่อใช้งานเสร็จแล้ว, ให้คุณคลิกที่ไอคอน Unplug or Eject Hardware ที่มุมด้านล่างขวาของหน้าจอ แล้วเลือกเมนูหยุดการใช้งาน

๒. ดึง Flash Drive ออกจากช่องต่อ USB

สำหรับผู้ใช้ Windows 98, โปรดติดตั้งไดร์ฟเวอร์ก่อนทำการใช้งาน ซึ่งอยู่ใน CD ภายในกล่องสินค้าทุกชิ้น หรือคุณสามารถดาวน์โหลดได้ ในหน้ารายละเอียดของ Flash Drive รุ่นที่คุณซื้อ เมื่อดาวน์โหลดเสร็จก็เพียงดับเบิ้ลคลิกไฟล์นั้นเพื่อทำการติดตั้ง



***Flash Drive ใช้ทำอะไรได้บ้าง?***

คุณสามารถประยุกต์ใช้ Flash Drive ให้ทำอะไรได้อีกหลายอย่าง มากกว่าแค่การเก็บข้อมูล, ซึ่งจะช่วยทำให้ชีวิตคุณสะดวกสบายขึ้น


-------- ๙๙ ไอเดียในการใช้ Flash Drive ------
คุณสามารถนำ Flash Drive มาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ในหลากหลายสถานการณ์ ซึ่งจะช่วยให้คุณจัดการกับไฟล์และข้อมูลต่างๆ ได้อย่างสะดวกสบาย และรวดเร็วยิ่งขึ้นสำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไป
๑. ใช้เก็บไฟล์งานเพื่อนำไปทำที่คอมพิวเตอร์เครื่องอื่น
๒. ใช้เก็บไฟล์งานที่ทำขึ้น ตอนไปใช้คอมพิวเตอร์ที่ Internet Café
๓. ใช้เก็บไฟล์งานเวลาที่คุณต้องสลับใช้คอมพิวเตอร์และโน้ตบุ๊ก
๔. ใช้เก็บรูปภาพดิจิตอล เอาไว้โชว์เพื่อนๆ
๕. ใช้เก็บรูปภาพดิจิตอล เวลาจะเอาไปอัดล้างภาพที่ร้าน
๖. ใช้เคลื่อนย้ายข้อมูลไปที่คอมพิวเตอร์เครื่องอื่น
๗. ใช้เคลื่อนย้ายข้อมูลไปที่ Apple iMac, iBook
๘. ใช้เคลื่อนย้ายข้อมูลข้ามระบบ Windows, Linux, Mac
๙. ใช้เก็บโน้ตสำหรับสิ่งที่จะต้องทำ
๑๐. ใช้เก็บข้อความ Email ที่สำคัญ หรือเก็บทั้ง Email Box ของคุณ
๑๑. ใช้เก็บ Bookmark ของเว็บไซต์ต่างๆ
๑๒. ใช้เก็บและอัพเดทตารางเวลาของคุณ
๑๓. ใช้เก็บข้อมูลติดต่อ เบอร์โทรศัพท์ ที่ใช้บ่อยๆ
๑๔. ใช้เก็บข้อมูล Address book ของคุณทั้งหมด
๑๕. ใช้เก็บไฟล์ที่คุณดาวน์โหลดจากอินเตอร์เน็ต เวลาไปใช้คอมพิวเตอร์คนอื่น
๑๖. ใช้เก็บไฟล์ที่คุณดาวน์โหลดจากอินเตอร์เน็ต เวลาไปใช้คอมพิวเตอร์ที่ Internet Café
๑๗. ใช้เก็บข้อความแช็ท Chat Message เวลาไปใช้คอมพิวเตอร์ที่ Internet Café
๑๘. ใช้เก็บโน้ตข้อความ หรือข้อมูลอื่นๆ เวลาไปใช้คอมพิวเตอร์ที่ Internet Café
๑๙. ใช้แบ็คอัพไฟล์งานชั่วคราว
๒๐. ใช้ระบบปกป้องข้อมูลด้วย Password และ Data Encryption
๒๑. ใช้แบ็คอัพข้อมูลสำคัญๆ แบบถาวร
๒๒. ใช้ซอฟท์แวร์ Email บน Flash Drive เพื่อให้สามารถเช็ค Email ได้
๒๓. ใช้ซอฟท์แวร์ Email บน Flash Drive เพื่อเก็บ Email ทั้งหมดของคุณ
๒๔. ใช้ซอฟท์แวร์ Email บน Flash Drive เพื่อเก็บข้อมูลติดต่อ Address book
สำหรับคนชอบฟังเพลง
๒๕. ใช้เก็บไฟล์เพลง MP3 เอาไว้ฟังตอนอ่านหนังสือ, พักผ่อน, เดินเล่น
๒๖. ใช้เก็บไฟล์เพลง MP3 เอาไว้ฟังตอนเดินทางไปเที่ยว
๒๗. ใช้เก็บไฟล์เพลง MP3 เอาไว้ฟังตอนจ๊อกกิ้งหรือออกกำลัง
๒๘. ใช้ต่อเล่นเพลงผ่านลำโพงแบบพกพา
๒๙. ใช้ต่อเล่นเพลงผ่านลำโพงของเครื่องเสียงสเตริโอชุดใหญ่
๓๐. ใช้เก็บไฟล์เพลง MP3 สำหรับนำไปใส่คอมพิวเตอร์อีกเครื่อง
๓๑. ใช้ฟังวิทยุ เวลาว่างๆ
๓๒. ใช้เป็นที่เก็บรวมเพลง MP3 ที่คุณชอบมากที่สุด เอาไว้ฟังได้อย่างสะดวก ทุกที่ทุกเวลา
สำหรับนักเรียน นักศึกษา
๓๓. ใช้เก็บไฟล์งานโปรเจคหรือรายงานต่างๆ เพื่อเอาไปทำต่อที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย
๓๔. ใช้เก็บไฟล์งานโปรเจคหรือรายงานต่างๆ เพื่อเอาไปทำต่อที่ร้าน Internet Café
๓๕. ใช้เก็บไฟล์งานโปรเจคหรือรายงานต่างๆ เพื่อเอาไปทำต่อที่บ้านเพื่อน
๓๖. ใช้เก็บไฟล์งานโปรเจคหรือรายงานต่างๆ เพื่อเอาไปพิมพ์ที่ร้าน
๓๗. ให้สมาชิกในกลุ่มแต่ละคนเซฟงานใน Flash Drive ของตัวเอง เพื่อจะได้สะดวกเวลานำมาประกอบรวมกัน หรือแก้ไขจุดต่างๆ
๓๘. ใช้เก็บไฟล์งานที่จะนำมาพรีเซ็นในห้องเรียน
๓๙. ใช้เก็บไฟล์งานที่จะนำส่งอาจารย์ หรือเพื่อแค่โหลดรายงานที่จะส่งเข้าโน้ตบุ๊กของอาจารย์
๔๐. ใช้เก็บโน้ตจากการเรียน
๔๑. ใช้เก็บข้อมูลวิจัยค้นคว้า หรือข้อมูลที่สำคัญอื่นๆ
๔๒. ใช้เก็บข้อมูลที่เป็นประโยชน์และน่าสนใจ เวลาเจอบนอินเตอร์เน็ต
๔๓. ใช้เก็บ e-book ที่ดาวน์โหลดมาจากอินเตอร์เน็ต
๔๔. ใช้เก็บโน้ตสรุป เพื่อสามารถนำมาดูได้ง่ายและรวดเร็ว
๔๕. ใช้เก็บข้อมูลและไฟล์ทั้งหมดของวิชาที่เรียน เพื่อความสะดวกในการทบทวนก่อนสอบ
สำหรับธุรกิจและองค์กร
๔๖. ให้ Flash Drive กับลูกค้าเป็นของขวัญเนื่องในโอกาสต่างๆ
๔๗. ให้ Flash Drive กับลูกค้าเป็นเสมือน Product Premium
๔๘. ใช้ Flash Drive เป็นของรางวัลที่แหวกแนวแตกต่าง ในการทำโปรโมชั่น
๔๙. ใช้ Flash Drive เป็นเครื่องมือในการทำพรีเซ็นเตชั่นและการขาย ที่โดดเด่นแตกต่าง
๕๐. ใช้ Flash Drive เป็นเครื่องมือในการสร้างแบรนด์ Branding Tool สร้างความโดดเด่นแตกต่าง
๕๑. ให้พนักงานใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิผล (Increase Productivity)
๕๒. ให้พนักงานใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ (Increase Efficiency)
๕๓. ให้พนักงานใช้เพื่อเพิ่มความสะดวกในการทำงานได้ทุกที่
๕๔. สั่งทำ Flash Drive ให้มีโลโก้ของบริษัทคุณเอง แล้วนำไปใช้เป็นของขวัญให้ลูกค้า เนื่องในโอกาสต่างๆ
๕๕. สั่งทำ Flash Drive ให้มีโลโก้ของบริษัทคุณเอง แล้วให้พนักงานใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
๕๖. สั่งทำ Flash Drive ให้มีโลโก้ของบริษัทคุณเอง แล้วนำไปใช้เป็นเครื่องมือการขายและสร้างแบรนด์ ที่สร้างสรรค์และแตกต่าง
๕๗. ใช้เป็น Network ID Key สำหรับเข้าระบบเน็ตเวิร์คภายในบริษัท เพื่อเพิ่มความปลอดภัย
๕๘. ใช้เป็น Digital Key เพื่อล๊อค คอมพิวเตอร์เวลาคุณไม่อยู่
สำหรับพนักงานออฟฟิศและนักธุรกิจ
๕๙. ใช้เก็บไฟล์งานเพื่อนำไปทำที่คอมพิวเตอร์เครื่องอื่น
๖๐. ใช้เก็บไฟล์งานเวลาที่คุณต้องสลับใช้คอมพิวเตอร์และโน้ตบุ๊ก
๖๑. ใช้เก็บไฟล์งานโปรเจคล่าสุดของคุณ
๖๒. ใช้เก็บไฟล์ข้อมูลที่คุณต้องดู และอัพเดทอยู่เสมอ
๖๓. ใช้เก็บ To-Do notes
๖๔. ใช้เก็บข้อความ Email ส่วนตัวของคุณ หรือเก็บทั้ง Email Box ส่วนตัวของคุณ
๖๕. ใช้เก็บ Bookmark ของเว็บไซต์ต่างๆ ที่คุณต้องใช้ในการทำงาน
๖๖. ใช้เก็บและอัพเดทตารางเวลา Schedule & Appointment
๖๗. ใช้เก็บข้อมูลติดต่อ เบอร์โทรศัพท์ ที่ใช้บ่อยๆ
๖๘. ใช้เก็บข้อมูล Address book ของคุณทั้งหมด
๖๙. ใช้เก็บรายละเอียดของงานที่สำคัญ และ Time Plan ในการทำงาน
๗๐. ใช้เก็บไฟล์ที่คุณดาวน์โหลดจากอินเตอร์เน็ต เวลาไปใช้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่น
๗๑. ใช้เก็บโน้ตข้อความ หรือข้อมูลอื่นๆ เวลาไปใช้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่น
๗๒. ใช้แบ็คอัพไฟล์งานชั่วคราว
๗๓. ใช้ระบบปกป้องข้อมูลด้วย Password และ Data Encryption
๗๔. ใช้แบ็คอัพข้อมูลสำคัญๆ แล้วป้องกันการลบหรือแก้ไขด้วย Write-Protect Switch
๗๕. ใช้เก็บไฟล์ประวัติการทำงานของคุณ (Resume) เพื่อสะดวกในการอัพเดทและใช้งาน
๗๖. ใช้เก็บไฟล์พรีเซ็นเตชั่นสไลด์ (Presentation Slide) เพื่อสะดวกในการอัพเดทและใช้งาน
๗๗. ใช้เก็บ Company Profile ของบริษัทคุณ เพื่อสะดวกในการแนะนำให้คนอื่นรู้จัก
สำหรับคนทำงาน IT หรือผู้ดูแลระบบ Network
๗๘. ใช้โปรแกรมหรือ Tool สำหรับดูแลระบบ Network ได้โดยตรงจาก Flash Drive ที่คอมพิวเตอร์เครื่องต่างๆ
๗๙. ใช้โปรแกรมพวก Utility สำหรับเช็คเครื่อง ได้โดยตรงจาก Flash Drive ที่คอมพิวเตอร์เครื่องต่างๆ
๘๐. ใช้โปรแกรมด้าน Security สำหรับเช็คเครื่อง ได้โดยตรงจาก Flash Drive ที่คอมพิวเตอร์เครื่องต่างๆ
๘๑. ใช้เป็น Digital Key ล๊อคคอมพิวเตอร์เวลาที่คุณไม่อยู่
๘๒. ใช้ซอฟท์แวร์เกี่ยวกับ Fixing & Maintenance Tools ได้โดยตรงจาก Flash Drive ที่คอมพิวเตอร์เครื่องต่างๆ
๘๓. ใช้อัพเดท Patches ได้โดยตรงจาก Flash Drive ที่คอมพิวเตอร์เครื่องต่างๆ
๘๔. ใช้บูทเครื่องขึ้นเป็นระบบ Linux ได้โดยตรงจาก Flash Drive ที่คอมพิวเตอร์เครื่องต่างๆ
สำหรับกราฟฟิคดีไซน์เนอร์
๘๕. ใช้เก็บงานดีไซน์ของคุณเพื่อความสะดวกในการอัพเดทและแก้ไข
๘๖. ใช้เก็บงานดีไซน์ของคุณเพื่อนำไปพิมพ์ที่ร้าน
๘๗. ใช้เก็บ Clip Arts ที่คุณใช้บ่อยๆ
๘๘. ใช้เก็บ Font ที่คุณใช้บ่อยๆ
๘๙. ใช้เก็บ เอกสารอ้างอิง, Help เกี่ยวกับโปรแกรมกราฟฟิคต่างๆ
๙๐. ใช้เก็บ Shortcut, Macro, Actions ที่คุณใช้บ่อยๆ
สำหรับการใช้งานที่สร้างสรรค์แหวกแนว ด้วยเทคโนโลยีใหม่
(Innovative Usage With New Technology)
๙๑. ใช้โอนย้ายข้อมูลแบบไร้สายระหว่าง Flash Drive 2 อัน
๙๒. ใช้ระบบความปลอดภัยด้วยการสแกนลายนิ้วมือ(Biometric Fingerprint Security)
๙๓. นำ MMC, Compact Flash Card, SD Card มาเชื่อมต่อกับ Flash Drive เพื่อความสะดวกในการใช้กับคอมพิวเตอร์
๙๔. ใช้งานกับโทรศัพท์มือถือ Smartphone
๙๕. ใช้งานกับ PDA
๙๖. ใช้ต่อเข้ากับเครื่องฉาย Projector โดยตรงเพื่อโชว์พรีเซ็นเตชั่นไสด์ได้ทันที
๙๗. ใช้ต่อเข้ากับเครื่อง Printer โดยตรงเพื่อพิมพ์งานเอกสาร
๙๘. ทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อไร้สาย Bluetooth
๙๙. ทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตไร้สาย Wi-Fi / Wi-Max


***Flash Drive + MP3 Player คืออะไร? ***

สินค้าประเภทนี้เป็นได้ทั้ง Flash Drive และเครื่องเล่น MP3 ในชิ้นเดียวกัน จุดเด่นของอุปกรณ์ประเภทนี้คือ มันจะมีหัวต่อ USB Plug ในตัวเอง ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญมาก เพราะหมายถึงคุณสามารถนำไปเสียบใช้กับคอมพิวเตอร์ หรือโน้ตบุ๊กทุกเครื่องได้ทันที ไม่ต้องมีสายต่อพ่วงให้ยุ่งยากเหมือนเครื่องเล่น MP3 ปกติทั่วไป อีกทั้งยังสามารถใช้งานได้ง่ายกว่าเครื่องเล่น MP3 ปกติอีกด้วย เพราะมันทำงานในลักษณะเดียวกับ Flash Drive ซึ่งหมายถึงคุณไม่จำเป็นต้องลงไดร์ฟเวอร์หรือซอฟท์แวร์อะไรให้เสียเวลา เมื่อเสียบเข้าเครื่องก็สามารถใช้ได้ทันที เหมาะกับคนที่ต้องการใช้ทั้ง ๒ อย่างในเครื่องเดียว คือใช้ทั้ง Flash Drive ในการเก็บข้อมูล และอยากใช้ฟังเพลง MP3 ได้ในเครื่องเดียวกัน เพื่อความสะดวกสบายในการพกพา


สรุปข้อดีข้อเสียของ: Flash Drive / Flash Drive + MP3 Player / และ MP3 Player ทั้ง ๓ ประเภทมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน และเหมาะกับการใช้งานที่ต่างกัน, โดยสรุปได้ดังนี้:
เลือก Flash Drive
- ใช้ในการเก็บและโอนย้ายไฟล์ข้อมูล เป็นหลัก
- จะใช้กับคอมพิวเตอร์ หลายเครื่อง
- เสียบต่อกับคอมได้โดยตรง ไม่ต้องคอยพกสายพ่วงต่อ, และใช้งานได้ทันทีกับทุกเครื่อง
- ต้องการความสะดวกสบายในการพกพา ขนาดเล็กกะทัดรัด

เลือก Flash Drive + MP3 Player
- ต้องการคุณสมบัติและประโยชน์ทุกอย่างของ Flash Drive
- ต้องการฟังเพลง MP3 ได้ด้วย (ฟังวิทยุ และอัดเสียงได้ด้วย ในบางรุ่น)

เลือก MP3 Player
- ต้องการฟังเพลง MP3 เป็นหลัก (ฟังวิทยุ และอัดเสียงได้ด้วย ในบางรุ่น)
- ต้องการเน้นคุณภาพเสียง และฟังก์ชั่นในการปรับแต่ง Equalization
- ต้องการความจุ 10 GB ขึ้นไป




--------------------------------------
๕. ไวล์เลสหรือการรับส่งข้อมูลแบบไร้สาย (Wireless)
--------------------------------------


Wireless หมายถึง การติดต่อสื่อสารในระยะทางใกล้ ๆ โดยไม่ใช้ สายไฟและอุปกรณ์สื่อสารคือ Mobile Device หรือ Notebook สำหรับ Wireless ที่ใช้สัญญาณวิทยุ อุปกรณ์ที่เป็นเครื่องรับข้อมูลสามารถเคลื่อนย้ายไปมาได้อย่างอิสระภายใต้ รัศมีความแรงของการใช้คลื่นวิทยุ คือ การรับส่งข้อมูลมีความผิดพลาดสูง เพราะคลื่นวิทยุถูกรบกวนได้ง่ายจากสัญญาณภายนอก เช่น การเปิดเครื่องเตาอบ Microwave อาจทำให้สัญญาณ Microwave เข้าไปรบกวนระบบ Wireless ได้ ทำให้การรับส่งข้อมูลผิดพลาด ส่วน Wireless ชนิดที่ใช้สัญญาณ Infrared ในการใช้งาน อุปกรณ์เครื่องรับและเครื่องส่งต้องติดตั้งไว้ในจุดที่ไม่มีสิ่งกีดขวาง เพราะ Infrared เป็นคลื่นแสง ไม่สามารถทะลุผ่านสิ่งของได้ การทำงานของ Wireless ชนิด Infrared คล้ายการใช้ Remote Control ในการเปลี่ยนช่องของโทรทัศน์ ข้อดีของการใช้คลื่น Infrared คือ ป้องกันการรบกวนจากสัญญาณภาพนอกได้ดี Wireless ชนิดที่ใช้สัญญาณวิทยุเหมาะสำหรับใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่าง Mobile Device กับระบบเครือขี่ายหลัก เช่น การใช้เครื่อง PDA ท่อง Web Site ภายในที่ทำงาน ผู้ใช้งานสามารถเดินไปห้องต่าง ๆ ในที่ทำงานพร้อมทั้งเรียกดูข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลา สำหรับ Wireless ชนิดที่ใช้ Infrared เหมาะสำหรับการติดต่อสื่อสารระหว่างเครือข่ายหลักที่ไม่สามารถเดินสายไฟได้ เช่น การเชื่อมต่อเครือข่ายระหว่างตึกซึ่งอยู่คนละฝั่งถนน อุปกรณ์ Access Point ทำหน้าที่รับและส่งข้อมูลกับ Mobile Devices แบบไร้สาย Mobile Devices สามารถเคลื่อนที่ภายใน Wireless Network ได


***Wireless LAN***

การเชื่อมต่อของระบบเครือข่าย Wireless LAN มี 2 ลักษณะ ดังนี้

๑. การเชื่อมโยงระบบแบบ Ad-hoc (Peer to Peer)

โครงสร้างการเชื่อมโยงระบบแบบ Ad-hoc หรือ Peer to Peer เป็นการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ไร้สายและอุปกรณ์ต่าง ๆ ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป โดยที่ไม่มีศูนย์กลางควบคุมอุปกรณ์ทุกเครื่องสามารถสื่อสารข้อมูลถึงกันได้เอง ตัวส่งจะใช้วิธีการแพร่กระจายคลื่นออกไปในทุกทิศทุกทางโดยไม่ทราบจุดหมายปลายทางของตัวรับว่าอยู่ที่ใด ซึ่งตัวรับจะต้องอยู่ในขอบเขตพื้นที่ให้บริการที่คลื่นสามารถเดินทางมาถึงแล้วคอยเช็คข้อมูลว่าใช่ของตน หรือไม่ ด้วยการตรวจสอบค่า Mac Address ผู้รับปลายทางในเฟรมข้อมูลที่แพร่กระจายออกมา ถ้าใช่ข้อมูลของตนก็จะนำข้อมูลเหล่านั้นไปประมวลผลต่อไป

การเชื่อมโยงเครือข่ายไวร์เลสแลนที่ใช้โครงสร้างการเชื่อมโยงแบบ Ad-hoc ไม่สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบเครือข่ายอีเธอร์เน็ตได้ เนื่องจากบนระบบไม่มีการใช้สัญญาณเลย


๒. การเชื่อมโยงระบบแบบ Infrastructure (Client/Server)

โครงสร้างการเชื่อมโยงระบบแบบ Infrastructure หรือ Client / Server มีข้อพิเศษกว่าระบบแบบ Ad-hoc ตรงที่มีแอ็กเซสพอยน์เป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยง (ทำหน้าที่คล้ายฮับ) และเป็นสะพานเชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ไร้สายอุปกรณ์ไวร์เลสแลนเข้าสู่เครือข่ายอีเธอร์เน็ตแลนหลัก (Ethernet Backbone) รวมถึงการควบคุมการสื่อสารข้อมูลอุปกรณ์ไวร์เลสแลน


อุปกรณ์ต่างๆสำหรับการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย Wireless LAN

๑. แลนการ์ดไร้สาย (Wireless LAN Card)

ทำหน้าที่ในการ แปลงข้อมูล ดิจิตอล ที่ได้จากการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นคลื่นวิทยุแล้วส่งผ่านสายอากาศให้กระจายออกไป และทำหน้าที่ในการรับเอาคลื่นวิทยุที่แพร่กระจายแปลงเป็น ข้อมูลดิจิตอล ส่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ประมวลผล Wireless LAN ที่ผลิตออกมาจำหน่าย มีหลายรูปแบบแบ่งตามลักษณะช่องเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ได้ดังนี้
- แลนการ์ดแบบ PCI
- แลนการ์ดแบบ PCMCIA
- แลนการ์ดแบบ USB
- แลนการ์ดแบบ Compact Flash (CF)


๒. อุปกรณ์เข้าใช้งานเครือข่าย (Wireless Access Point)

ทำหน้าที่เสมือน ฮับ เชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ไร้สายและอุปกรณ์ไวร์เลสแลนแบบต่าง ๆเข้าด้วยกัน อีกทั้งเป็นสะพานเชื่อมต่อ เครื่องไวร์เลสแลนเข้ากับเครื่องอีเธอร์เนตทำให้ระบบทั้งสองสามารถสื่อสารกันได้


๓. สะพานเชื่อมโยงไร้สาย (Wireless Bridge)

ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมโยงระบบ เครือข่ายอีเธอร์เน็ตแลนตั้งแต่สองระบบขึ้นไปเข้าด้วยกันแทนการใช้สายสัญญาณ ข้อมูลที่สื่อสารระหว่างเครือข่ายอีเธอร์เน็ตจะถูกแปลงเป็นคลื่นวิทยุแล้วถูกแปลงไปยังปลายทาง


๔. Wireless Broadband Router

ทำหน้าที่ในการต่อเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านคู่สายโทรศัพท์ (ADSL) หรือ เคเบิลทีวี (UBC) ด้วยเทคโนโลยี Broadband Router ซึ่งมีฟังชันการทำงานเป็นตัวค้นหาเส้นทาง, NAT (Network Address Translation) , Firewall , VPN ๆลๆ มาผสมผสานเข้ากับ Access Point ทำให้ผู้ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ไร้สายสามารถสื่อสารข้อมูลไปยังระบบอินเทอร์เน็ต


๕. Wireless Print Server

อุปกรณ์การแชร์เครื่องพิมพ์บนระบบเครือข่าย Wireless LAN


๖. Power Over Ethernet Adapter

ทำหน้าที่แยกสาย UTP ที่มีสายทองแดงตีเกลียวอยู่ข้างใน 4 คู่โดยสายทองแดงสำหรับใช้สื่อสารข้อมูลใช้เพียง 2 คู่เท่านั้น ส่วนสายทองแดงอีก 2 คู่สามารถใช้อุปกรณ์ตัวนี้นำมาใช้เป็นเส้นทางสำหรับส่งแรงดันไฟฟ้าไปให้กับตัว Access Point ได้


๗. สายอากาศ (Antenna)

ทำหน้าที่เปลี่ยนข้อมูลในรูปของกระแสไฟฟ้า ที่ส่งออกมาจากภาคส่งของอุปกรณ์ไวร์เลสแลนให้กลายเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แพร่กระจายออกไปในอากาศและสายอากาศยังทำหน้าที่รับเอาคลื่นที่อุปกรณ์ไวร์เลสแลนเครื่องอื่นๆ ส่งออกมาแปลงกลับให้อยู่ในรูปของกระแสไฟฟ้าส่งให้ภาครับต่อไป


***ข้อดีข้อเสียของระบบเครือข่าย Wireless LAN***

ข้อดี
๑. ช่วยลดปัญหาในการติดตั้งระบบเครือข่าย
๒. ช่วยลดปัญหาในการวางสายระบบเครือข่าย
๓. ไม่ต้องใช้สาย cable
๔. ช่วยให้เกิดความเป็นระเบียบ เรียบร้อย

ข้อเสีย
๑. มีอัตราการลดทอนสัญญาณสูง นั่นหมายความว่า “ส่งสัญญาณได้ระยะสั้น”
๒. มีสัญญาณรบกวนสูง
๓. ต้องแชร์กันใช้ช่องสัญญาณคลื่นความถี่เดียวกัน
๔. ยังมี หลายมาตรฐาน ตามผู้ผลิต แต่ละราย ทำให้ มีปัญหา ในการ ใช้งาน ร่วมกัน
๕. ราคาแพงกว่าระบบเครือข่ายแบบมีสาย
๖. มีความเร็วไม่สูงมากนัก


ราคาของอุปกรณ์ของ Wireless LAN ชนิดต่างๆ

Model : SMC7904WBRA Wireless 54Mbps+ADSL2+
ราคาประมาณ 4700 บาท [ไม่รวม VAT,ค่าขนส่ง, และบริการ]
Allied AT-WCU200G Wireless 54Mbps USB2.0
ราคาประมาณ 1500 บาท [ไม่รวม VAT,ค่าขนส่ง, และบริการ]
SMC2870W Wireless Access Point & Bridge 54Mbps
ราคาประมาณ 3000 บาท [ไม่รวม VAT,ค่าขนส่ง, และบริการ]
SMC2804WBR Wireless Barricade 54Mbp
ราคาประมาณ 2500 บาท [ไม่รวม VAT,ค่าขนส่ง, และบริการ]
SMC2802W Wireless PCI Card 54Mbps
ราคาประมาณ 1100 บาท [ไม่รวม VAT,ค่าขนส่ง, และบริการ]
SMC2835W Wireless PCMCIA 54Mbps
ราคาประมาณ 1100 บาท [ไม่รวม VAT,ค่าขนส่ง, และบริการ]
SMC2862W-G Wireless 54Mbps USB 2.0
ราคาประมาณ 1400 บาท [ไม่รวม VAT,ค่าขนส่ง, และบริการ]
SMC2552W-G W.AccessPoint 54M(VLAN)
ราคาประมาณ 11400 บาท [ไม่รวม VAT,ค่าขนส่ง, และบริการ]

คำศัพท์ ( Volcabulary )

10/100 : ความสามารถในการสื่อสารข้อมูลได้ที่ความเร็ว 10 Mbps และ100 Mbps

10/100/1000 : ความสามารถในการสื่อสารข้อมูลได้ที่ความเร็ว 10 Mbps, 100 Mbps และ 1Gbps

Access Point : อุปกรณ์จุดเข้าใช้งานของระบบเครือข่ายแลนไร้สายทำหน้าที่รองรับการเชื่อมโยงจากเครือข่ายลูกข่าย และ เป็นสะพานเชื่อมต่อระหว่างระบบอีเธอร์เน็ตแลนและแลนไร้สาย

Ad-Hoc Mode : โหมดการทำงานของอุปกรณ์ไวร์เลสแลน ที่สามารถสื่อสารข้อมูลถึงกันได้โดยตรง โดยไม่ต้องอาศัย Access Point เป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยง

Bandwidth : ปริมาณข้อมูลที่สายสัญญาณหรืออุปกรณ์สามารถรองรับได้ในหนึ่งหน่วยเวลา เช่น 10 Mbps, 100 Mbps, 1Gbps

Bridge : เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่ เชื่อมโยงระบบเครือข่ายที่ต่างชนิดกันให้สามารถสื่อสารข้อมูลกันได้

Bus : เส้นทางสำหรับการสื่อสารข้อมูลระหว่างอุปกรณ์

CSMA / CA : เป็นกลไกควบคุมการเข้าใช้งานสื่อกลาง สำหรับสื่อสารข้อมูลอุปกรณ์บนเครือข่ายไวร์เลสแลน

CTS : สัญญาณที่ส่งออกมาจากอุปกรณ์ปลายทางเพื่อแจ้งให้อุปกรณ์ต้นทางทราบว่าพร้อมจะรับข้อมูลแล้ว

Decryption : การถอดรหัสข้อมูล

Encryption : การเข้ารหัสข้อมูล

Ethernet : ชื่อมาตรฐานของระบบเครือข่าย (IEEE802.3) ที่ใช้สายสัญญาณเชื่อมโยงระบบมีความเร็ว 10 Mbps

Fast Ethernet : ชื่อมาตรฐานของระบบเครือข่าย (IEEE802.3u) ทีใช้สายสัญญาณเชื่อมโยงระบบมีความเร็ว 100 Mbps

Full duplex : กลไกการรับและส่งข้อมูลบนเส้นทางเดียวกันได้ในเวลาพร้อมกัน

Gateway : อุปกรณ์การเชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายที่มีการใช้ โปรโตคอล และ โครงสร้างระบบที่แตกต่างกัน ให้สามารถสื่อสารติดต่อกันได้ ( Gateway สามารถแปลงจากโปรโตคอลหนึ่งให้เป็นอีกโปรโตคอลหนึ่งได้)

Hop : จำนวน ( link ) ที่ใช้เชื่อมโยงระหว่างอุปกรณ์

Hub : อุปกรณ์ระบบเครือข่ายทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงอุปกรณ์มีลักษณะการสื่อสารแบบ Haft duplex

IEEE : สถาบันวิศวกรรมไฟฟ้า และ อิเล็กทรอนิกส์

IEEE802.1x : มาตรฐานการพิสูจน์สิทธิ์ด้วย RADIUS Server

IEEE802.11b : มาตรฐานการสื่อสารของไวร์เลสแลน มีความเร็วในการรับส่งข้อมูล 11 Mbps ใช้ย่านความถี่ 2.4 GHz

IEEE802.11a : มาตรฐานการสื่อสารของไวร์เลสแลน มีความเร็วในการรับส่งข้อมูล 54 Mbps ใช้ย่านความถี่ 5 GHz

IEEE802.11g : มาตรฐานการสื่อสารของไวร์เลสแลน มีความเร็วในการรับส่งข้อมูล 54 Mbps ใช้ย่านความถี่ 2.4 GHz

Infrastructure Mode : โหมดการทำงานของไวร์เลสแลนที่สามารถทำการสื่อสารข้อมูลไปยังเครือข่าย อีเธอร์เน็ตแลน โดยผ่าน Access Point ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยง

LAN : ระบบเครือข่ายท้องถิ่นที่ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์และอุปกรณ์เครือข่ายอื่นๆ

Mbps : หน่วยวัดความเร็วในการสื่อสารข้อมูลเทียบเป็น 1,000,000 บิตต่อวินาที

NAT : เป็นกลไกทำหน้าที่แปลงหมายเลข IP Address ก่อนรับและส่งข้อมูลออกไปนอกระบบเพื่อป้องกันระบบเครือข่ายไม่ให้บุคคลภายนอกสามารถรู้ถึงหมายเลข IP Address

PC card : การ์ดแลนสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ Notebook

PCI : มาตราฐานอินเตอร์เฟสเชื่อมต่ออุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์ Desktop

PCMCIA : มาตราฐานอินเตอร์เฟสเชื่อมต่ออุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์ Notebook

Repeater : อุปกรณ์ทวนสัญญาณ

Router : อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงระบบเครือข่ายและค้นหาเส้นทางในการส่งข้อมูลโดยใช้หมายเลข IP Address

Sever : เครื่องคอมที่ถูกกำหนดให้ดูแลจัดการทรัพยากรต่างๆบนระบบเครือข่าย

STP : สายสัญญาณตีเกลียวแบบหุ้มฉนวน

Twis pair : สายสัญญาณตีเกลียว

WAN : เทคโนโลยีการเชื่อมโยงระหว่างระบบเครือข่ายระยะไกล

Wireless : เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลโดยอาศัยคลื่นวิทยุ

Wireless Fidelity (Wi-Fi) : มาตรฐานที่รับรองโดย WECA เพื่อรับรองว่าอุปกรณ์ Wireless LAN ที่ได้รับ โลโก้ Wi – Fi สามารถทำงานร่วมกันได้และสนับสนุนมาตรฐาน IEEE802.11 b



-------------------------------------

0 ความคิดเห็น:

  © ขอขอบคุณ Blogger template 'Ultimatum' by s-hatcore ๒๕๕๐ : s-hatcore

กลับขึ้นข้างบน : Back to TOP