วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2554

โครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนเฉลิมพระเกียรติ [วันที่ ๖ เมษายน ๒๕๕๔]

ตารางกิจกรรมประจำวัน
สามเณรภาคฤดูร้อนเฉลิมพระเกียรติ รุ่นที่ ๒๘

๑-๑๑ เมษายน ๒๕๕๔
วัดหนองหว้า ตำบลด่านคล้า อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
**********


วันพุธ ที่ ๖ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๔

----------------------------------------------------------------------------------------------------------
เวลา                            กิจกรรม                               วิทยากร                     หมายเหตุ
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
๐๔:๐๐ น. - ๐๕:๐๐ น.    ตื่นนอน / นุ่งห่มผ้า                 พระบัวลอง  
๐๕:๐๐ น. - ๐๖:๐๐ น.   สวดมนต์ทำวัตรเช้า                 พระเสนาะ  
๐๖:๐๐ น. - ๐๖: ๓๐ น.  ฉันข้าวต้ม (..รองท้องไปก่อน)   โยม..........   
๐๗:๐๐ น. -                  ออกรับบิณฑบาต                    พระวิทยากรทุกรูป ()
๑๑:๐๐ น. - ๑๒:๐๐ น.    ฉันเพล                                พระเด่นชัย / พระวุฒิชัย 
๑๒:๐๐ น. - ๑๓:๐๐ น.    พักผ่อน / นอนหลับ                พระธีรสิทธิ์  
๑๓:๐๐ น. - ๑๔:๐๐ น.   นันทนาการ                           พระด่นชัย/พระธีรสิทธิ์
                                      เจริญกรรมฐาน (ยืน / นั่ง)         พระบัวลอง/  
๑๔:๐๐ น. - ๑๕:๓๐ น.   ธรรมะ / ศาสนพิธี / วินัย          พระเสนาะ  อนาลโย
                                       ฉันน้ำปานะ                          พระวุฒิชัย  
๑๖:๐๐ น. - ๑๗:๐๐ น.    สรงน้ำ / นุ่งห่มผ้า                   พระวิทยากรทุกรูป   
๑๗:๐๐ น. - ๑๘:๐๐ น.    เดินจงกรม ...ชมวิว                 พระเด่นชัย/พระธีรสิทธิ์   
๑๘:๐๐ น. - ๑๙:๐๐ น.    สวดมนต์ทำวัตรเย็น                พระเสนาะ  
๒๐:๐๐ น.                     เข้าร่วมสถานที่ปฏิบัติธรรม        ทุกรูป   
๒๑:๐๐ น. -                   ผักผ่อน...นอนหลับ                 พระวุฒิชัย/พระธีรสิทธิ์   
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
หมายเหตุ
     เวลา / กิจกรรม    เปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม




------------------
กิจกรรมประจำวัน
------------------

ทำวัตรเช้า
      พระเสนาะ  อนาลโย



ธรรมะประจำวัน

          มงคลที่ ๗. ความเป็นพหูสูต
          คือเป็นผู้ที่ฟังมาก เล่าเรียนมาก เป็นผู้รอบรู้ โดยมีลักษณะดังนี้คือ
               ๑.รู้ลึก คือการรู้ในสิ่งนั้นๆ เรื่องนั้นๆอย่างหมดจดทุกแง่ทุกมุม อย่างมีเหตุมีผล รู้ถึงสาเหตุจนเรียกว่าความชำนาญ
               ๒.รู้รอบ คือการรู้จักช่างสังเกตในสิ่งต่างๆ รอบตัว เช่นเหตุการณ์แวดล้อมเป็นต้น
               ๓.รู้กว้าง คือการรู้ในสิ่งใกล้เคียงกับเรื่องนั้นๆ ที่เกี่ยวข้องกัน สัมพันธ์กันเป็นต้น
               ๔.รู้ไกล คือการศึกษาถึงความเป็นไปได้ ผลในอนาคตเป็นต้น

          ถ้าอยากจะเป็นพหูสูตก็ควรต้องมีคุณสมบัติดังว่านี้คือ
               ๑.ความตั้งใจฟัง ก็คือชอบฟัง ชอบอ่านหาความรู้ และค้นคว้าเป็นต้น
               ๒.ความตั้งใจจำ ก็คือรู้จักวิธีจำ โดยตั้งใจอ่านหรือฟังในสิ่งนั้นๆ และจับใจความให้ได้
               ๓.ความตั้งใจท่อง ก็คือท่องให้รู้โดยอัตโนมัติ ไม่ลืม ในสิ่งที่เป็นสาระสำคัญ
               ๔.ความตั้งใจพิจารณา ก็คือการรู้จักพิจารณา ตรึกตรองในสิ่งนั้นๆอย่างทะลุปรุโปร่ง
               ๕.ความเข้าใจในปัญหา ก็คือการรู้อย่างแจ่มแจ้งในปัญหาอย่างถ่องแท้ด้วยปัญญา



บิณฑบาตร
     บิณฑบาตที่ หมู่ ๑๑ บ้านดอนผวาพรหมสร
                     หมู่ ๕ บ้านดอนผวาพรหมสร
                     หมู่ ๓ บ้านคอหงษ์
                     หมู่ ๙ บ้านโนนบ่อ
    
          วัดสะพาน





ภาคบ่าย
ธรรมะ / ศาสนพิธี / วินัย : พระเสนาะ  อนาลโย

          ๑๒. อนุโมทนาวิธี
          ยะถา วาริวะหา ปูรา       ปะริปูเรนติ สาคะรัง
          เอวะเมวะ อิโต ทินนัง    เปตานัง อุปะกัปปะติ
          อิจฉิตัง ปัตถิตัง ตุมหัง   ขิปปะเมวะ สะมิชฌะตุ
          สัพเพ ปูเรนตุ สังกัปปา   จันโท ปัณณะระโส
          ยะถา มะณิ โชติระโส ยะถา ฯ
     สัพพีติโย วิวัชชันตุ            สัพพะโรโค วินัสสะตุ
     มา เต ภะวัตวันตะราโย       สุขี ทีฑายุโก  ภะวะ
     อะภิวาทะนะสีลิสะ นิจจัง     วุฑฒาปะจายิโน
     จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ     อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง  ฯ

          ๑๓. อนุโมทนาวิธี (เพล)
          สัพพะโรคะวินิมุตโต สัพพะสันตาปะวัชชิโต  สัพพะเวระมะติกกันโต นิพพุโต จะ ตุวัง ภะวะฯ
     สัพพีติโย  วิวัชชันตุ  สัพพะโรโค  วินัสสะตุ       มา เต ภะวัตวันตะราโย สุขี ทีฑายุโก ภะวะ
     อะภิวาทะนะสีลิสะ นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน        จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ อายุ วัณโณ สุขัง พะลังฯ

          ๑๔. โภชะนะทานานุโมทะนะคาถา
     อายุโท พะละโท ธีโร วัณณะโท ปะฏิภาณะโท     สุขัสสะ ทาตา เมธาวี สุขัง โส อะธิคัจฉะติ
     อายุง ทัตฺวา พะลัง วัณณัง สุขัญจะ ปะฏิภาณะโท  ทีฑายุ ยะสะวา โหติ ยัตถะ ยัตถูปะปัชชะตีติฯ




เดินจงกรม / เจริญสมาธิ  : พระเด่นชัย  สุภาจาโร / พระธีรสิทธิ์  ธีรสทฺโธ

     ธัมมานุสสติกรรมฐาน

          ธัมมานุสสติกรรมฐาน แปลว่า ตั้งอารมณ์เป็นการงาน เป็นงานในการระลึกนึกถึงคุณพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์
          คำว่าเป็นอารมณ์ หมายถึง ให้เอาจิตใจจดจ่ออยู่ในคุณของพระธรรมเป็นปกติ ไม่เอาจิตไปนึกคิดอารมณ์อื่นนอกเหนือไปจากพระธรรม อาการที่คิดถึงคุณของพระธรรมนี้มีอารมณ์การคิดไว้มากมายเช่นเดียวกับการคิดถึงคุณพระพุทธเจ้า เพราะพระธรรมมีความสำคัญมากกว่าสิ่งใดๆ แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง พระองค์ก็มีความเคารพในพระธรรม เพราะพระธรรมเป็นหลักความประพฤติดี ประพฤติชอบประจำโลก การที่พระพุทธเจ้า พระองค์จะทรงบรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณได้ ก็เพราะอาศัยพระธรรมเป็นหลักปฏิบัติ ฉะนั้น ในพระพุทธศาสนานี้จึงนิยมยกย่องพระธรรมว่า เป็นสรณะที่พึ่งอันประเสริฐสรณะหนึ่ง
         การระลึกถึงคุณพระธรรมนี้ ท่านอาจจะเลือกเอาคำสั่งสอนตอนใดตอนหนึ่งที่ท่านชอบในบรรดาคำสอน ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์มาเป็นอารมณ์ระลึกได้ตามชอบใจ แต่ท่านโบราณาจารย์ ท่านประพันธ์บทสรรเสริญพระธรรมไว้ ๖ ข้อ จะขอนำมากล่าวไว้พอเป็นแนวปฏิบัติ

          ระลึกตามบทพระธรรมคุณ ๖ อย่าง
          ๑. สวาขาโต ภควตา ธัมโม พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ข้อนี้ หมายถึงเอาการคำนึงถึงคุณพระธรรมแบบรวมๆ ว่า พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งหมดรวม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ย่อลงเหลือสาม คือ อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ได้แก่ ศีลที่บริสุทธิ์อย่างยอดเยี่ยม สมาธิที่ตั้งมั่นอย่างยิ่ง คือ สมาบัติแปด อธิปัญญา ได้แก่การเจริญวิปัสสนาญาณ ได้มรรคผล คือ พระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหัตตผล คุณธรรมทั้งหมดนี้ ประเสริษฐยอดเยี่ยม ไม่มีสิ่งอื่นใดเสมอเหมือน เพราะสามารถกำจัดความทุกข์ความเดือนร้อนได้ทั้งที่มีชีวิตอยู่ และมรณะไปแล้ว คุณธรรมที่เบากว่านั้น เช่น ทาน การให้ ศีล รักษาวาจาใจให้สงบจากเวร สมาธิ รักษาใจให้สงบจากอกุศล และ ปัญญา คือการฝึกวิปัสสนาญาณเบื้องต้น
          ในข้อนี้ท่านสอนให้ระลึกนึกถึงคุณของพระธรรม ตามที่กล่าวมาโดยย่ออย่างนี้ หรือท่านจดจำพระสูตร คือคำสอนที่ยกตัวบุคคล แล้วจะคิดตามนั้น หรือท่านจะคิดตาม พระธรรมข้อใดก็ได้ตามชอบใจ เป็นการระลึกถึงคุณพระธรรมตามข้อนี้เหมือนกัน เพราะบทสวากขาโตนี้ท่านกล่าวรวมๆ เข้าไว้

          ๒. สันทิฏฐิโก แปลว่า ผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง หมายความว่าผลของการปฏิบัติธรรมนี้ ไม่ใช่จะปฏิบัติกันไปตามเรื่อง ผลของการปฏิบัติธรรมนี้เป็นความสุขใจ ท่านปฏิบัติจริง จะได้รับผลจริงในชาตินี้

          ๓. อกาลิโก แปลว่า ไม่เลือกกาลไม่เลือกสมัย หมายถึง ผลของการปฏิบัติธรรมนี้ ได้รับผลทุกขณะที่ปฏิบัติ ไม่จำกัดกาลเวลา ว่าจะต้องเป็นเวลานั้น เวลานี้ ตัวอย่างเช่น ผู้ปฏิบัติธรรมในด้านพรหมวิหาร ท่านที่ทรงพรหมวิหาร ย่อมประทานความรักให้แก่คนและสัตว์ไม่เลือกหน้า ท่านไม่ถือโกรธใคร พบคนควรไหว้ท่านก็ไหว้ คนควรให้ ท่านก็ให้ ท่านมีหน้ายิ้มตลอดเวลา ท่านลองคิดดูว่า ถ้าท่านพบคนอย่างนี้เข้า ท่านควรจะรักเคารพหรือท่านควรจะคิดประทุษร้าย ขอให้ท่านคิดเอาเอง ผลของการปฏิบัติธรรมได้ผลไม่จำกัดกาลเวลาอย่างนี้ และในสมัยนี้มีคนพูดกันมานานว่า เวลาล่วงมาขณะนี้ พระอริยะไม่มีแล้ว ท่านอย่าเชื่อเขาเลย ขอให้ปฏิบัติจริง ปฏิบัติตรงตามคำสั่งสอนเถอะ และปฏิบัติพอดี อย่าเกียจคร้านเกินไป และอย่าขยันเกินไป รับรองว่าท่านต้องการคุณธรรมขนาดไหน ก็มีหวังได้ทุกขนาด และไม่จำกัดกาลเวลา

          ๔. เอหิปัสสิโก แปลว่า ควรเรียกให้มาดู ข้อนี้ท่านกล้าท้าทายว่า การปฏิบัติธรรมนั้น ของท่านกล้ายืนยันผล ขอให้ทำถูก ทำตรง ทำพอดีเถอะ ท่านรับรองผลว่าต้องได้รับผลแน่นอน ขออย่างเดียว ขอให้เอาจริงเท่านั้น อย่าทำแบบสุกเอาเผากิน คนไม่จริงพระธรรมท่านก็ไม่จริงด้วย ถ้าผู้ปฏิบัติจริง ผลของพระธรรมท่านก็ให้จริง ขอให้จริงต่อจริงพบกันเถอะ แล้วจะได้รับผลสมความมุ่งหมาย

          ๕. โอปนยิโก แปลว่า ควรน้อมเข้ามา ท่านหมายความว่า ผู้หวังผล คือความสุขทางใจ สุขทั้งในชาตินี้ และชาติต่อๆ ไปแล้ว เชิญเข้ามาฝึกได้ ไม่จำกัดกาลเวลา ไม่จำกัดเพศ และวัย ไม่จำกัดเชื้อชาติ สัญชาติ และศาสนา ถ้าเข้ามาจริง ปฏิบัติจริง ท่านรับรองว่าต้องได้ผลจริง

          ๖. ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ แปลว่า อันวิญญูพึงรู้เฉพาะตน คำว่า วิญญู หมายถึงท่านผู้รู้ คือผู้ปฏิบัติที่ได้รับผลแล้ว ท่านผู้นั้นจะรู้ผลเองว่า การปฏิบัติพระธรรมนี้ มีผล คือความสุขอันประณีต และมีความเยือกเย็นใจเป็นพิเศษ มีความสุขประณีตกว่าความสุขอันเกิดขึ้นจากโลกวิสัยหลายพันล้านเท่า




วิทยากรประจำวัน
     พระเสนาะ  อนาลโย
     พระเด่นชัย  สุภาจาโร
     พระบัวลอง  วรปญฺโญ
     พระวุฒิชัย  ถาวโร
     พระธีรสิทธิ์  ธีรสทฺโธ
     พระวิสา  ธมฺมจารี


ขอขอบคุณ
     ร้านหนึ่งเฟอร์นิเจอร์ (คุณจุติพร - คุณอนันต์  แก้วสมนึก) ถวายน้ำเต้าหู้ตลอดงาน
     ผู้ใหญ่โสภาพ  มุ่งปั่นกลาง : หมู่ ๑๑ บ้านดอนผวาพรหมสร
     ผู้ใหญ่สวัสดิ์  มุ่งโตกลาง : หมู่ ๕ บ้านดอนผวาพรหมสร
     ผู้ใหญ่บ้านหมู่ ๓ บ้านคอหงษ์
     ผู้ใหญ่บ้านหมู่ ๙ บ้านโนนบ่อ
    
   
     แม่ครัวของเรา
          นายปิ่น - นางติ๋ว  เชื่อมด่านกลาง (ข้าวต้มภาคเช้า ตลอดงาน)
          นางสุภาภรณ์ / นางพวง /
          ผู่ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ ๖

     ยานพาหนะ
          นายอยู่  โลสันเทียะ : บริการตลอดวัน
          ร้อยตรีปัญญา  มั่นกลาง : ให้บริการทุกวัน ไม่เคยขาด
          กำนันทอง  ตั้งเศวตชัย : กำนันตำบลด่านคล้า
        
     และผู้ที่ยังไม่ได้ออกนาม....Thank You



---------------
รายงายจากวัดหนองหว้า
     อ้อ, จ๊อด : ถ่ายภาพ
     S-HaTCoRE : รายงาน

0 ความคิดเห็น:

  © ขอขอบคุณ Blogger template 'Ultimatum' by s-hatcore ๒๕๕๐ : s-hatcore

กลับขึ้นข้างบน : Back to TOP