วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2554

โครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนเฉลิมพระเกียรติ [วันที่ ๕ เมษายน ๒๕๕๔]

ตารางกิจกรรมประจำวัน
สามเณรภาคฤดูร้อนเฉลิมพระเกียรติ รุ่นที่ ๒๘

๑-๑๑ เมษายน ๒๕๕๔
วัดหนองหว้า ตำบลด่านคล้า อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
**********


วันอังคาร ที่ ๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๔

----------------------------------------------------------------------------------------------------------
เวลา                            กิจกรรม                               วิทยากร                     หมายเหตุ
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
๐๔:๐๐ น. - ๐๕:๐๐ น.    ตื่นนอน / นุ่งห่มผ้า                 พระบัวลอง  
๐๕:๐๐ น. - ๐๖:๐๐ น.   สวดมนต์ทำวัตรเช้า                 พระเสนาะ  
๐๖:๐๐ น. - ๐๖: ๓๐ น.  ฉันข้าวต้ม (..รองท้องไปก่อน)   โยม..........   
๐๗:๐๐ น. -                  ออกรับบิณฑบาต                    พระวิทยากรทุกรูป ()
๑๐: ๐๐ น. - ๑๑:๐๐ น.   ฟังบรรยายพิเศษ                     สภ.โนนสูง
๑๑:๐๐ น. - ๑๒:๐๐ น.    ฉันเพล                                พระเด่นชัย / พระวุฒิชัย 
๑๒:๐๐ น. - ๑๓:๐๐ น.    ซักจีวร  
๑๓:๐๐ น. - ๑๔:๐๐ น.   นันทนาการ                           พระด่นชัย/พระธีรสิทธิ์
                                      เจริญกรรมฐาน (ยืน / นั่ง)         พระบัวลอง/  
๑๔:๐๐ น. - ๑๕:๓๐ น.   ธรรมะ / ศาสนพิธี / วินัย          พระเสนาะ/วิทยากรรับเชิญ  
                                       ฉันน้ำปานะ                          พระวุฒิชัย  
๑๖:๐๐ น. - ๑๗:๐๐ น.    สรงน้ำ / นุ่งห่มผ้า                   พระวิทยากรทุกรูป   
๑๗:๐๐ น. - ๑๘:๐๐ น.    เดินจงกรม ...ชมวิว                 พระเด่นชัย/พระธีรสิทธิ์   
๑๘:๐๐ น. - ๑๙:๐๐ น.    สวดมนต์ทำวัตรเย็น                พระเสนาะ  
๒๐:๐๐ น.                     เข้าร่วมสถานที่ปฏิบัติธรรม        ทุกรูป   
๒๑:๐๐ น. -                   ผักผ่อน...นอนหลับ                 พระวุฒิชัย/พระธีรสิทธิ์   
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
หมายเหตุ
     เวลา / กิจกรรม    เปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม




------------------
กิจกรรมประจำวัน
------------------

ทำวัตรเช้า
      พระเสนาะ  อนาลโย



ธรรมะประจำวัน

     มงคลที่ ๓. การบูชาบุคคลที่ควรบูชา
          การบูชา คือ การแสดงความเคารพบุคคลที่เรานับถือ ยกย่อง เลื่อมใสในบุคคลคนนั้น ซึ่งการบูชาแบ่งออกเป็น ๒ อย่างคือ
          ๑. อามิสบูชา คือการบูชาด้วยสิ่งของเช่น การนำเงินให้พ่อแม่ไว้ใช้จ่าย หรือมอบทรัพย์สินให้พ่อแม่ หรือการนำดอกไม้ ธูปเทียนไปบูชาพระก็ถือเป็นอามิสบูชาเป้นต้น
          ๒.ปฏิบัติบูชา คือการบูชาด้วยการเจริญสมาธิภาวนา การฝึกจิตให้ไม่ฟุ้งซ่าน เห็นความจริงในความเป็นไปของโลกเป็นต้น

     บุคคลที่ควรบูชา มีดังนี้คือ
          ๑.พระพุทธเจ้า (คงไม่ต้องอธิบาย)
          ๒.พระปัจเจกพระพุทธเจ้า หมายถึงพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา
          ๓.พระมหากษัตริย์ผู้ตั้งอยู่ในทศพิศราชธรรม
          ๔.บิดามารดา
          ๕.ครูอาจารย์ ที่มีความรู้ดี มีความสามารถ และประพฤติดี
          ๖.อุปัชฌาย์ หรือผู้บังคับบัญชาที่มีความประพฤติดี ตั้งอยู่ในธรรม




บิณฑบาตร
     บิณฑบาตที่ บ้านหนองเครือชุด
                     บ้านโนนกราด
ผู้ใหญ่พูน : บ้านโนนกราด

(จากซ้าย) ผู้ใหญ่มานพ  ค่ากลาง,  กำนันบุญรอด  รัดกลาง,  กำนันทอง  ตั้งเศวตชัย





ธรรมะ / ศาสนพิธี / วินัย : พระเสนาะ  อนาลโย / วิทยากรจากสถานีตำรวจภูธรอำเภอโนนสูง




     วิทยากรรับเชิญจากสถานีตำรวจภูธรอำเภอโนนสูง
          ๑. พ.ต.ท.ฤทธิรงค์  ลาจันทะ : รอง สวป.สภ.โนนสูง
          ๒. ด.ต.เที่ยง  ตรงด่านกลาง
          ๓. ด.ต.สำเริง  อ่อนชำนิ
          ๔. ด.ต.วสัญชาย  รองกระโทก



ภาคบ่ายวันนี้ : ซักผ้าจีวร




ฝึกห่มจีวร : พระธีรสิทธิ์  ธีรสทฺโธ
ทำสมาธิ : เตรียมความพร้อม
เริ่มห่มด้วยความรวดเร็ว
เสร็จเรียบร้อย ....




เดินจงกรม / เจริญสมาธิ  : พระเด่นชัย  สุภาจาโร / พระธีรสิทธิ์  ธีรสทฺโธ

     พุทธานุสสติกรรมฐาน
          พุทธานุสสติกรรมฐาน กรรมฐานกองนี้ท่านสอนให้ระลึกถึงคุณความดีของพระพุทธเจ้า การระลึกถึงความดีของพระพุทธเจ้า ระลึกได้ไม่จำกัดว่าจะต้องระลึกตามแบบของท่านผู้นั้นผู้นี้ที่สอนไว้โดยจำกัด เพราะพระพุทธคุณ คือคุณความดีของพระพุทธเจ้านั้นมีมากมายจะพรรณนาอย่างไรให้จบสิ้นนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้
          ตามพระบาลีท่านมีอยู่ว่า ถึงแม้ว่าจะปรากฏมี พระพุทธเจ้าขึ้นมา ๒ องค์ นั่งถามกันตอบกันถึงความดีของพระพุทธเจ้าที่ทรงอุบัติขึ้นมาแล้วในโลก แม้แต่สิ้นเวลา ๑ กัป ก็ไม่จบความดีของพระพุทธเจ้าได้
          ฉะนั้น ท่านโบราณาจารย์จึงกล่าวไว้ว่า "พุทโธ อัปปมาโณ" คุณของพระพุทธเจ้า หาประมาณมิได้

          ระลึกตามบทพระพุทธคุณ ๙ อย่าง
          การระลึกตามแบบพระพุทธคุณ ๙ อย่างนี้ เป็นการระลึกถึงผลที่พระองค์ทรงบรรลุ จะไม่นำมาเขียนไว้เห็นท่าจะไม่เหมาะ ขอนำมาเขียนไว้เพื่อทราบดังต่อไปนี้
          ๑. อรหัง คำว่า อรหัง นี้ แปลว่า ท่านผู้ไกลจากกิเลส หมายความว่า พระพุทธองค์ไม่มีกิเลสเครื่องเศร้าหมองอยู่ในพระหฤทัยเลย เป็นผู้มีจิตบริสุทธิ์ผุดผ่องจริงๆ
          ๒. สัมมาสัมพุทโธ แปลว่า ตรัสรู้เองโดยชอบ ความหมายนี้ หมายความว่า พระองค์ทรงรู้อริยสัจทั้ง ๔ คือรู้ทุกข์ คือความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ รู้สมุทัย คือเหตุให้เกิดทุกข์ ได้แก่ตัณหา ๓ ประการ คือ
          กามตัณหา ทะยานอยากได้ในสิ่งที่ยังไม่เคยมี อยากให้มีขึ้น
          ภวตัณหา สิ่งใดที่มีอยู่แล้ว อยากให้คงสภาพอยู่อย่างนั้น ไม่อยากให้เก่าไม่อยากให้เปลี่ยนแปลง
          วิภวตัณหา อยากให้สิ่งที่จะต้องสลายตัวนั้น ที่เป็นไปตามกฏธรรมดา มีความปรารถนาไม่ให้กฏธรรมดาเกิดขึ้น คือ ไม่อยากให้สลาย และไม่อยากเสื่อม ไม่อยากตาย นั่นเอง
          ความรู้สึกอย่างนี้เป็นความรู้สึกที่ฝืนกฎธรรมดา เป็นอารมณ์ที่ก่อให้เกิดความทุกข์ ทรงนิโรธะ คือความดับสูญไปแห่งความทุกข์ และทรงทราบมรรค คือปฏิปทาที่ปฏิบัติให้เข้าถึงความทุกข์ คือทุกข์นั้นสูญสิ้นไป ได้แก่ทรงทราบมรรคคือข้อปฏิบัติที่จะให้เข้าถึงความดับสูญไปแห่งทุกข์นี้ อันได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา
          ๓. วิชชาจรณสัมปันโน แปลว่า พระองค์ทรงถึงพร้อมด้วย วิชชา และ จรณะ คือทรงมีความรู้รอบ และความประพฤติครบถ้วน
          วิชชา แปลว่า ความรู้ หมายถึงรู้ในวิชชาสาม ที่สามัญชนไม่สามารถจะรู้ได้ คือ
          ๑) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ทรงมีความรู้ในการระลึกชาติ ที่ล่วงแล้วมาได้อย่างไม่จำกัด ไม่มีผู้อื่นใดจะระลึกชาติได้มากเท่าพระองค์ และพระองค์ทรงมีความชำนาญในการระลึกชาติได้อย่างเยี่ยม
          ๒) จุตูปปาตญาณ พระองค์ทรงมีความรู้ความเกิด และความตายของสัตว์ โดยทรงรู้ว่า สัตว์ที่ตายไปแล้วนี้ไปเกิด ณ ที่ใด มีความสุขความทุกข์เป็นประการใด เพราะผลกรรมอะไรเป็นเหตุ และทรงทราบว่า สัตว์ที่เกิดมาแล้วนี้มาจากไหน ที่มีความสุข ความทุกข์อยู่นี้ เพราะอาศัยกรรมอะไรเป็นเหตุ
          ๓) อาสวักขยญาณ ทรงรู้วิชชาที่ทำอาสวกิเลสให้หมดสิ้นไป
          จรณะ หมายถึงความประพฤติ พระองค์มีความประพฤติครบถ้วน ยอดเยี่ยม อันได้แก่ จรณะ ๑๕
          ๔. สุคโต แปลว่า เสด็จไปดีแล้ว หมายความว่า พระองค์เสด็จไป ณ ที่ใด พระองค์นำแต่ความสุขไปให้เจ้าของถิ่น คือนำความรู้อันเป็นเหตุของความสุขไปให้ ไม่เคยสร้างความเดือดร้อน ให้แก่ผู้ใด ใครก็ตาม บูชาพระองค์แล้ว ไม่เคยผิดหวังที่จะได้รับความสุขในทางปฏิบัติ
          ๕. โลกวิทู แปลว่า รู้แจ้งโลก หมายความว่า โลกทุกโลกมียมโลก คือโลกแห่งการทรมาณ ได้แก่นรก เปรต อสุรกาย เป็นต้น มนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก และพระนิพพาน อันเป็นดินแดนพ้นโลก พระองค์ทรงทราบตลอดหมดสิ้น แม้แต่ปฏิปทาที่จะให้ไปเกิดในโลกนั้นๆ
          ๖. อนุตตโร ปุริสทัมมสารถิ แปลว่า เป็นนายสารถีผู้ฝึก ไม่มีนายสารถีใด มีความสามารถฝึกได้เสมอเหมือนพระองค์ ทั้งนี้หมายความถึงการฝึกธรรมปฏิบัติ พระองค์ทรงมีญาณพิเศษที่เรียกว่า เจโตปริยญาณ ทรงรู้ใจคนว่า ผู้นี้ควรสอนอย่างไร จึงได้ผล พระองค์ทรงฝึกสอนตามที่รู้ด้วยพระญาณนั้น จึงมีความสามารถฝึกได้ดีเป็นพิเศษ
          ๗. สัตถา เทวมนุสสานัง แปลว่า พระองค์ทรงเป็นครูของเทวดาและมนุษย์ ทั้งนี้ หมายความว่า การสั่งสอนเพื่อมรรคผลนั้น พระองค์มิได้ทรงสั่งสอนแต่มนุษย์เท่านั้น แม้เทวดาและพรหม พระองค์ก็ทรงสั่งสอน การสอนมนุษย์ ท่านอาจไม่สงสัย แต่การสอนเทวดานั้น ท่านอาจจะแปลกใจ ข้อนี้ขอให้อ่านพุทธประวัติจะทราบ ว่าพระองค์ทรงสั่งสอนเทวดาและพรหม เป็นปกติเกือบทุกวัน เช่นเดียวกับสอนมนุษย์เหมือนกัน
          ๘. พุทโธ แปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่นแล้ว ผู้เบิกบานแล้ว ได้เหมือนกัน ความหมายของ พุทโธ ก็มีอย่างนี้ คือ หมายถึงพระองค์ทรงรู้พระองค์ ด้วยความเป็นผู้บริบูรณ์ด้วย สติสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลานั่นเอง
          ๙. ภควา แปลว่า ผู้มีโชค หมายถึงพระองค์เป็นผู้มีโชคก่อนใครๆ ที่พระองค์เป็นผู้รู้เท่าทันอวิชชา คือความโง่เขลาเบาปัญญา ความโง่ไม่สามารถครอบงำ พระองค์ได้ โดยอาศัยที่พระองค์ทรงค้นพบอริยสัจ ๔ จึงสามารถทำลายอำนาจอวิชชา คือความโง่ให้สลายตัวไปเสียได้ เหลือไว้แต่ความฉลาดหลักแหลม ความโง่ไม่สามารถจะบังคับบัญชา พระองค์ให้หลงใหลไปในอำนาจกิเลส และตัณหาได้ต่อไป พระองค์ทรงพบความสุขที่ยอดเยี่ยม ไม่มีความสุขอื่นยิ่งกว่า ความสุขที่ว่านี้ คือ พระนิพพาน

          พระพุทธคุณทั้ง ๙ ประการนี้ พระอาจารย์รุ่นเก่าท่านประพันธ์ไว้ให้บรรดาพุทธศาสนิกชน ระลึกนึกถึง จัดเป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน คือตั้งอารมณ์ข่มนิวรณ์ ปรารภถึงความดีของพระพุทธเจ้า เมื่อพระโยคาวจร คือท่านนักปฏิบัติพระกรรมฐาน ได้คำนึงถึงความดีของพระพุทธเจ้า ตามที่เขียนมานี้ทั้งหมด หรือข้อใดข้อหนึ่ง หรือจะนึกถึงความดี ของพระพุทธเจ้า ในลักษณะอื่น แต่เป็นไปตามแบบพระพุทธจริยาแล้ว จนจิตมีความเคยชิน ระงับนิวรณ์ห้าเสียได้ จิตตั้งอยู่ในอุปจารสมาธิ แล้วเจริญวิปัสสนาญาณ ท่านว่าท่านผู้นั้น สามารถจะชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใสได้ เพราะอาศัยความเลื่อมใสในพระพุทธจริยา จัดว่าเป็นผู้มีโชคอย่างยิ่ง คือจะได้สำเร็จมรรคผลได้โดยฉับพลัน


          บทสวดพุทธานุสสติ
          อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ, วิชชาจะระณะสัมปันโน, สุขโต โลกะวิทู, อนุตตะโร ปุริสสะทัมมะสาระถิ,สัตถา เทวะมะนุสสานัง, พุทโธ ภะคะวาติ (กราบ)
          เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็นผู้ไกลจากกิเลส และตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะเป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถผฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความเจริญ เป็นผู้จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ดังนี้.

          บทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ : ทำนองสรภัญญะ
          (นำ) องค์ใดพระสัมพุทธ (รับพร้อมกัน)
                 สุวิสุทธสันดาน
          ตัดมูลเกลศมาร        บ มิหม่นมิหมองมัว
          หนึ่งในพระทัยท่าน    ก็เบิกบานคือดอกบัว
          ราคี บ พันพัว           สุวคนธกำจร
          องค์ใดประกอบด้วย   พระกรุณาดังสาคร
          โปรดหมู่ประชากร      มละโอฆกันดาร
          ชี้ทางบรรเทาทุกข์      และชี้สุขเกษมสานต์
          ชี้ทางพระนฤพาน      อันพ้นโศกวิโยคภัย
          พร้อมเบญจพิธจัก-     ษุจรัสวิมลใส
           เห็นเหตุที่ใกล้ไกล     ก็เจนจบประจักษ์จริง
          กำจัดน้ำใจหยาบ       สันดานบาปแห่งชายหญิง
          สัตว์โลกได้พึ่งพิง      มละบาปบำเพ็ญบุญ
          ข้าขอประณตน้อม     ศิรเกล้าบังคมคุณ
          สัมพุทธการุญ-         ญภาพนั้นนิรันดร (กราบ)




วิทยากรประจำวัน
     พระเสนาะ  อนาลโย
     พระเด่นชัย  สุภาจาโร
     พระบัวลอง  วรปญฺโญ
     พระวุฒิชัย  ถาวโร
     พระธีรสิทธิ์  ธีรสทฺโธ



ขอขอบคุณ
     ร้านหนึ่งเฟอร์นิเจอร์ (คุณจุติพร - คุณอนันต์  แก้วสมนึก) ถวายน้ำเต้าหู้ตลอดงาน
     กำนันบุญรอด  รัดกลาง
     ผู้ใหญ่พูน [บ้านโนนกราด]
    
   
     แม่ครัวของเรา
          นายปิ่น - นางติ๋ว  เชื่อมด่านกลาง (ข้าวต้มภาคเช้า ตลอดงาน)
          นางสุภาภรณ์ / นางพวง /
          ผู่ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ ๖

     ยานพาหนะ
          นายอยู่  โลสันเทียะ : บริการตลอดวัน
          ร้อยตรีปัญญา  มั่นกลาง : ให้บริการทุกวัน ไม่เคยขาด
          กำนันทอง  ตั้งเศวตชัย : กำนันตำบลด่านคล้า
        
     และผู้ที่ยังไม่ได้ออกนาม....Thank You



---------------
รายงายจากวัดหนองหว้า
     อ้อ, จ๊อด, ดื้อ : ถ่ายภาพ
     S-HaTCoRE : รายงาน

0 ความคิดเห็น:

  © ขอขอบคุณ Blogger template 'Ultimatum' by s-hatcore ๒๕๕๐ : s-hatcore

กลับขึ้นข้างบน : Back to TOP