วันอังคารที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

กรอบแนวทางคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
:::

จากการประเมินผลการพัฒนาในช่วง ๔ ทศวรรษที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนถึงการพัฒนาที่ขาดสมดุล ไม่ยั่งยืนและเปราะบางต่อผลกระทบจากความผันผวนของปัจจัยภายนอก จนเกิดเป็นวิกฤตเศรษฐกิจ เมื่อปี ๒๕๔๐ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาในเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคม ที่ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้ ปัญหาทางสังคม ตลอดจนปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะหน่วยงานหลักในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ได้ตระหนักในปัญหาจากการพัฒนาดังกล่าว จึงเล็งเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องกำหนดแนวทางการพัฒนาของประเทศในทิศทางใหม่ ที่มุ่งส่งเสริมความสมดุลในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อย่างบูรณาการ เน้นความยั่งยืนของการพัฒนาเพื่อให้คนรุ่นหลังมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ด้อยหรือดีกว่าคนรุ่นปัจจุบัน และให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกระดับ ตั้งแต่ครอบครัว ชุมชน และทุกภาคส่วนของสังคม ในการพัฒนา

ดังนั้น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับปัจจุบัน (ฉบับที่ ๙) สำนักงานฯ จึงได้อัญเชิญ "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงได้พระราชทานเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทย ซึ่งเน้นการพัฒนาที่ยึดมั่นในทางสายกลาง ความพอเพียง ความมีเหตุมีผลในการดำเนินชีวิต และการสร้างภูมิคุ้มกันในตัว ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างความรู้คู่กับคุณธรรม มาใช้เป็นปรัชญานำทางในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากปัจจุบันความเข้าใจในหลักปรัชญาดังกล่าว ยังมีความไม่ชัดเจนและมีการตีความที่หลากหลาย ดังนั้น เพื่อให้ทุกฝ่ายเกิดความเข้าใจในหลักปรัชญาฯ อย่างถูกต้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน สำนักงานฯ จึงได้ร่วมกับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จัดทำ โครงการพัฒนากรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยจัดตั้งกลุ่มพัฒนากรอบแนวคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อรับผิดชอบในการนำเสนอแนวทางการอธิบายหลักปรัชญาดังกล่าว ในรูปทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อใช้เป็นตัวอย่างในการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับปรัชญาฯ ตลอดจนเพื่อเผยแพร่หลักปรัชญาฯ และกรอบแนวคิดทางทฤษฎีดังกล่าวไปยังหน่วยงานต่าง ๆ และผู้ที่สนใจทั้งภายในและภายนอกประเทศต่อไป

คณะผู้จัดทำ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้คงจะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องร่วมกันในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และจุดประกายให้เกิดแนวคิด ในการนำหลักปรัชญาดังกล่าวไปประยุกต์ใช้เป็นหลักในการดำเนินชีวิตในด้านต่าง ๆ เพื่อผลแห่งการพัฒนาอย่างสมดุลและยั่งยืน ตลอดจนเพื่อสร้างองค์ความรู้ให้เกิดประโยชน์แก่วงการวิจัยและวงการศึกษาในระดับต่าง ๆ

-----  โหลดหนังสือ ที่ลิงค์ด้านล่างครับ  -----

ปก
คำนิยม
คำนำ
บทสรุปผู้บริหาร
สารบัญ
๑ ความเป็นมา
๒ วรรณกรรมปริทัศน์ : ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๓ ความหมายเชิงทฤษฏีของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๔ ความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีใหม่ และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๕ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับแนวคิดทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ในมิติต่าง ๆ
๖ ตัวอย่างการสร้างความเข้าใจและการขยายผลปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ภาคผนวก ก
ภาคผนวก ข
บรรณานุกรม
รายชื่อคณะทำงาน





**********


0 ความคิดเห็น:

  © ขอขอบคุณ Blogger template 'Ultimatum' by s-hatcore ๒๕๕๐ : s-hatcore

กลับขึ้นข้างบน : Back to TOP